การจำาแนกและวัดปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการบ่มและแปรรูปผลไม้ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศบังคลาเทศ

Main Article Content

I. Ahmed
M. A. Mannan
M. B. Ahmed

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการหลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการพืชสวนของมหาวิทยาลัยขุลนา เมืองขุลนา เครือข่ายห้องปฏิบัติการสารหนูเอเชีย ห้องปฏิบัติการเจสซอร์ และห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ยาฆ่าแมลง กองกีฏวิทยา BARI เมืองคาชีปุระ ประเทศบังคลาเทศ ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจำาแนกและวัดปริมาณสารเคมีอันตราย (เช่น แคลเซียมคาร์ไบด์ ฟอร์มาลีน อีทีฟอน เป็นต้น) ที่ใช้ในการบ่มและแปรรูปผลไม้ในตลาดในเมืองเจสซอร์ ขุลนา และสาขิรา จากการตรวจตัวอย่างมะม่วงในตลาดเมืองเจสซอร์ ขุลนา และสาขิรา พบสารแคลเซียมคาร์ไบด์ร้อยละ 80 70 และ 70 ตามลำาดับสำาหรับการตรวจตัวอย่างกล้วยในสามเมืองดังกล่าวพบว่าร้อยละ 40 50 และ 60 ตามลำดับมีสารแคลเซียมคาร์ไบด์ปนเปื้อนโดยไม่พบสารคาร์ไบด์ในตัวอย่างมะละกอในตลาดทั้งสามเมือง อย่างไรก็ดี พบสารแคลเซียมคาร์ไบด์ปนเปื้อนร้อยละ 20 ในตัวอย่างขนุนในตลาดเมืองขุลนา แต่ไม่พบในตลาดเมืองเจสซอร์และสาขิรา ร้อยละ 20 5 และ 2 ของตัวอย่างมะม่วง กล้วย และมะละกอตามลำาดับในตลาดเมืองเจสซอร์พบการปนเปื้อนของฟอร์มาลีน ซึ่งร้อยละ 25 6 และ 3 ตามลำดับของตัวอย่างผลไม้ทั้งสามชนิดดังกล่าวในตลาดเมืองขุลนามีฟอร์มาลีนตกค้าง สำาหรับตัวอย่างมะม่วงร้อยละ 15 และตัวอย่างกล้วยร้อยละ 3 ของตลาดในเมืองสาขิราพบการปนเปื้อนของฟอร์มาลีน นอกจากนี้ ร้อยละ 80-100 ของตัวอย่างมะม่วง ร้อยละ 40-50 ของตัวอย่างกล้วย และร้อยละ 30-40 ของตัวอย่างมะละกอในตลาดเมืองเจสซอร์ ขุลนา และสาขิรา พบสารอีทีฟอนตกค้าง ผลการสำารวจข้างต้นแสดงให้เห็นว่ามีการใช้สารเคมีในผลไม้ส่วนใหญ่ดังนั้นการสร้างความตระหนักให้แก่ผู้บริโภคในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีตกค้างจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งรวมทั้งรัฐบาลหรือผู้กำาหนดนโยบายควรมีมาตรการในการควบคุมการใช้สารเคมีในการบ่มผลไม้อย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย