การปรับเปลี่ยนพื้นผิวของซิลิกาที่แยกจากโคลนทะลักในเมืองลาพินโด ประเทศอินโดนีเซีย ให้เป็นตัวดูดซับความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก

Main Article Content

J. Ikhsan
S. Sulastri
E. Priyambodo

บทคัดย่อ

          ปัญหาโคลนทะลักในเมืองลาพินโด ประเทศอินโดนีเซีย นับเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่สร้างผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก ในความจริงแล้วโคลนเหล่านี้มีซิลิกาซึ่งมีศักยภาพในการใช้
เป็นตัวดูดซับที่ดี งานวิจัยนี้ศึกษาการเตรียมตัวดูดซับการแลกเปลี่ยนประจุบวกจากซิลิกาที่แยกจากโคลนในเมืองลาพินโด และการวัดความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของตัวดูดซับ
ดังกล่าว โดยนำาซิลิกามาทำปฏิกิริยากับ 3-(Trimethoxysilyl)-1-propanethiol และนำสารที่ได้มาออกซิไดซ์เพื่อผลิตซิลิกาที่มีพื้นผิวที่อิ่มตัวด้วยหมู่ฟังก์ชันซัลโฟเนต รวมถึงใช้ FTIR ประกอบกับ XRD และ SEM-EDX ในการวิเคราะห์สเปกตรัมในแต่ละขั้นตอนของการเตรียมความพร้อมดังกล่าว ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของตัวดูดซับถูกวัดโดยการไตเตรทโดยตัวดูดซับจะถูกทำาให้อิ่มตัวโดยโซเดียมไอออน (Na+) ซึ่งไฮโดรเจนไอออน (H+) ที่ถูกปล่อยออกมาจะถูกนำามาไตเตรทด้วยไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) งานวิจัยนี้ได้เตรียมตัวดูดซับการแลกเปลี่ยนประจุบวกได้สำเร็จ ซึ่งความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของโคลน ซิลิกาเจล ซิลิกาที่อิ่มตัวด้วย 3-(Trimethoxysilyl)-1-propanethiol และซิลิกาที่อิ่มตัวด้วยซัลโฟเนตมีค่า 0 0.32 0.84 และ 4.15 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อตัวดูดซับหนึ่งกรัม (meq/gram) ตามลำดับ สรุปได้ว่า การเตรียมซิลิกาที่อิ่มตัวด้วยซัลโฟเนตสามารถเพิ่มความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกได้อย่างมีนัยสำาคัญ และสูงกว่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของซิลิกากว่า 13 เท่า

Article Details

บท
บทความวิจัย