มิญชวิทยาของระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึกของผีเสื้อ หนอนคูนธรรมดา Catopsilia pomona (Fabricius, 1758)

Main Article Content

ศุภลักษณ์ สุ่มแช่ม
ณภัทร โสมาลา
พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ
ศิลปชัย เสนารัตน์

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ครั้งนี้เพื่อศึกษาโครงสร้างมหกายวิภาคและมิญชวิทยาของระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึกของผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา Catopsilia pomona (Fabricius, 1758) โดยทำการเก็บตัวอย่างทั้งหมดเป็นระยะเวลา 4 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2557 บริเวณพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม วิทยาเขตส่วนทะเลแก้ว พบว่า
โครงสร้างมหกายวิภาคของระบบประสาทผีเสื้อหนอนคูนประกอบด้วยสมองและปมประสาท โดยสมองถูกบรรจุอยู่ภายในกะโหลกศีรษะและเชื่อมต่ออยู่กับปมประสาทที่ขนานไปกับลำตัวด้านล่าง จำนวน 5 ปม ที่สามารถจำาแนกเป็นบริเวณส่วนอก 2 ปม คือ ปมประสาทอกปมแรกและปมกลาง และส่วนท้องอีก 3 ปม ภายใต้การศึกษาทางด้านมิญชวิทยา พบว่า ทั้งสมองและปมประสาทมีการจัดเรียงและองค์ประกอบพื้นฐานของเนื้อเยื่อไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ ชั้นนอกสุดของแต่ละปมประสาทประกอบด้วยการอยู่รวมกันของเซลล์ประสาทที่สามารถจำาแนกได้เป็น 3 ชนิด คือ เซลล์นิวโรซครีทอรี เซลล์ประสาท และเซลล์ประสาทคำ้าจุน ทั้งนี้เซลล์นิวโรซครีทอรีมีขนาดใหญ่ที่สุด นิวเคียสติดสีนำ้าเงินและถูกล้อมรอบด้วยไซโตพลาสซึมติดสีชมพู ส่วนตารวมของผีเสื้อซึ่งจัดเป็นอวัยวะรับความรู้สึก ประกอบด้วยหน่วยตาเล็ก ๆ คือ ออมแมทิเดีย ด้านบนปิดด้วยเลนส์แก้วตาหกเหลี่ยมคือ เลนส์แก้วตาซึ่งมีลักษณะโค้งนูนออกทางด้านนอกเรียกว่า
ฟาเซ็ต ซึ่งอยู่ด้านใต้ของแก้วตา และเชื่อมต่อกับกลุ่มเซลล์รับแสงเรียกว่า แรบดอม หรือแรบโดเมียร์ แต่ละเซลล์มีแขนงประสาทไปเชื่อมต่อกับออพติกโลบของสมองส่วนหน้า

Article Details

บท
บทความวิจัย