ความบริสุทธิ์ของผลึกนาโนแคลเซียมไฮดรอกซีอะปาไทต์ที่สังเคราะห์จากกากบูดูโดยวิธีการแคลไซน์และการดูดซับยาปฏิชีวนะ streptomycin เบื้องต้น

Main Article Content

ฮาซัน ดอปอ
พาตีเราะ กูแวะ
อิสมะแอ เจ๊ะหลง

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาวิธีการสังเคราะห์ไฮดรอกซีอะพาไทต์จากกากบูดู โดยจะนำกากบูดูมาทำการล้าง เพื่อกำจัดเศษปลาที่เหลืออยู่ด้วยการต้มในน้ำเดือด นาน 1 ชั่วโมง นำไปกรอง ล้างด้วยน้ำกลั่นหลาย ๆ ครั้ง และนำไปอบให้แห้ง จึงนำไปเผาที่อุณหภูมิ 900 °C เป็นเวลา 12 ชั่วโมง จะได้ตะกอนสีขาวของสารประกอบแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ [Ca5(PO3)4OH] ที่มีแคลเซียมแมกนีเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟตหรือแร่ Whitlokite อยู่ 71% [Ca18Mg2H2(PO3)14] และแมกนีเซียมฟอสเฟต [Mg2(P2O7)] อยู่ 15% เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย โดยมีผลผลิตร้อยละเท่ากับ 55% จากการนำผลจากเอ็กซ์เรย์ดิฟแฟรกชันไปคำนวณพบว่ามีขนาดผลึกเท่ากับ 54 nm ความยาวของแกนผลึกด้าน a เท่ากับ 9.4369 A°  ด้านแกนc เท่ากับ 6.85714 A° ส่วนปริมาตรของผลึกจะเท่ากับ 528.85 A°3  และเมื่อนำมาศึกษาเอกลักษณ์ของสารด้วยอินฟราเรดสเปกโตรสโกปี พบการสั่นที่ตำแหน่ง 1,025.94, 601.68 และ 548.65 cm-1 ซึ่งเป็นการสั่นของหมู่ PO43- และปรากฏสเปกตรัมที่ชัดเจนมากกว่ากระดูกปลาบริสุทธิ์ นอกจากนี้ยังปรากฏแถบการสั่นที่ 371.23 cm-1 เป็นการสั่นของพันธะ Ca-O ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่ามีผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์เป็นองค์ประกอบอยู่ และจากการทดสอบการดูดซับยาปฏิชีวนะ Streptomycin พบว่ามีอัตราการดูดซับที่ไม่คงที่ คาดว่าเกิดอันตรกิริยากับไฮดรอกซีอะพาไทต์จนทำให้เกิดการดูดกลืนแสงในช่วงวิสิเบิล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ซุลกิปลี ยาบี. (2555). ภูมิปัญญาการทำและการอนุรักษ์น้ำบูดูของกลุ่มชาวบ้านหมู่ 1 ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

2. Akram, M. & Ahmed, R. (2014). Extracting Hydroxyapatite and its Precursors from Natural Resources. Journal of Materials Science, 49, 1461-1475.

3. Al-sokanee, Z. N., Toabi, A. A. H., Al-assadi, M. J. & Alassadi. E. A. S. (2009). The Drug Release Study of Ceftriaxone from Porous Hydroxyapatite Scaffolds. American Association of Pharmaceutical Scientists, 10(3), 772–779.

4. Boutinguiza, M. J., Comesaña, P. R., Lusquiños, F., Carlos, A. D. & León, B. (2012). Biological Hydroxyapatite Obtained from Fish Bones. Materials Science & Engineering C, 32(3). 478–486.

5. Daupor, H., Kuwae, P., Wijaya. A. R. Chelong, I. & Haji Samoh, A. (2018). Effect of the Sample Preparation on the Composition of Hydroxyapatite Derived from Waste Anchovy Fish Bone. Proceeding of the Pure and Applied Chemistry International Conference (PACCON 2018), Thailand, 7-9 February 2018.

6. Figueiredo, M., Fernando, A., Martins, G., Freitas, J., Judas, J. M. & Figueiredo, H. (2010). Effect of the Calcination Temperature on the Composition and Microstructure of Hydroxyapatite Derived from Human and Animal Bone. Ceramics International, 36(8), 2383–2393.

7. Goto, T. & Sasaki, K. (2014). Effects of Trace Elements in Fish Bones on Crystal Characteristics of Hydroxyapatite Obtained by Calcination. Ceramics International, 40, 10777–10785.

8. Kumar, G. S., Rajendran, S., Karthi, S., Govindan, R., Girija, E. K., Karunakaran, G. & Kuznetsov, D. (2017). Green Synthesis and Antibacterial Activity of Hydroxyapatite Nanorods for Orthopedic Applications. MRS Communication, 1–6, doi:10.1557/mrc.2017.18.

9. Pal, A., Paul, S., Choudhury, A. R., Balla, V.K., Das, M. & Sinha, A. (2017). Synthesis of Hydroxyapatite from Lates calcarifer Fish Bone for Biomedical Applications. Materials Letters, 203, 89–92.

10. Piccirillo, C. M., Silva, F., Pullar, R. C., Braga, I., Jorge, R., Pintado, M. M. A. & Castro. P.M.L. (2013). Extraction and Characterisation of Apatite- and Tricalcium Phosphate-based Materials from Cod Fish Bones. Materials Science & Engineering C, 33(1), 103–110.