วิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ชายแดนใต้ ประเทศไทยด้วยเครื่องหมาย Simple Sequence Repeat (SSR) Markers
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq) เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศไทยมีกำลังผลิตค่อนข้างสูง การศึกษาเกี่ยวกับสายพันธุ์จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อเป็นการศึกษาความแปรปรวนของสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดยะลา และนราธิวาส การศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะใช้เทคนิคเครื่องหมาย SSR (Simple Sequence Repeats) ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางพันธุกรรมปาล์มน้ำมันของตัวอย่างประชากรปาล์มในจังหวัดยะลา และนราธิวาส ทำการเก็บตัวอย่างใบปาล์มอ่อน 20 ตัวอย่าง จากสวนปาล์มน้ำมัน 2 จังหวัด นำมาสกัด Genomic DNA จากนั้นทำปฏิกิริยาพีซีอาร์ โดยมีการใช้ไพรเมอร์ 10 คู่ เพื่อเพิ่มจำนวนส่วน SSR ที่ต้องการ จากนั้นทำการตรวจสอบผลด้วยวิธี Agarose Gel Electrophoresis แล้วนำมาวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรม MEGA X ด้วยการใช้วิธีคำนวณแบบ UPGMA เพื่อให้ได้แผนผัง Dendogram จากนั้นใช้โปรแกรม Arlequin เพื่อคำนวณหาความแปรปรวนทางพันธุกรรมภายในประชากรและระหว่างกลุ่มประชากร จากผลการคำนวณด้วยโปรแกรม Arlequin แสดงค่า Haplotype Diversity และค่า Nucleotide Diversity เท่ากับ 0.8222 และ 0.1780055 ตามลำดับ พบว่า มีความแปรปรวนทางพันธุกรรมภายในกลุ่มตัวอย่างประชากรปาล์มน้ำมันทั้งในพื้นที่จังหวัดยะลา และนราธิวาสค่อนข้างสูง ส่วนความแปรปรวนทางพันธุกรรมระหว่างกลุ่มตัวอย่างประชากรแสดงด้วยค่า Pairwise FST Value และ FST p-Values พบว่า ความแปรปรวนทางพันธุกรรมระหว่างกลุ่มตัวอย่างประชากรในทั้งสองพื้นที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเทคนิค Microsatellite สามารถที่จะนำไปพัฒนาเป็นเครื่องหมายทางชีวโมเลกุลในการวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรปาล์มได้
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. นี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. ก่อนเท่านั้น
References
2. จุฑาพร แสงประจักษ์. (2555). การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอสำหรับศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ข้าว. แก่นเกษตร 40, 299 – 308.
3. จุฑามาศ ศุภพันธ์. (2558). โครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากรของปลากระบอก (Liza subviridis) ในอ่าวไทย และแนวทางใน การอนุรักษ์. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(1), 157 - 175.
4. นภาพร แก้วดวงดี และอนุชิรา แซ่ตั้ง. (2555). ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของสายพันธุ์มะพร้าว. กรุงเทพฯ : สาขาวิชา เทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
5. รอกีเยาะห์ เจ๊ะหลง ปรียา แก้วอ่อน และจารุ นิคม. (2561). ศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคเครื่องหมายดีเอ็นเอในการ วิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรปาล์มน้ำมัน ปลูกในพื้นที่ อำเภอหนองจิก จังหวัด ปัตตานี ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2561. วันที่ 13 พ.ค. 2561. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
6. ฤทธิ์ วัฒนชัยยิ่งเจริญ. (2553). การวิเคราะห์ความหลากหลายของพืชโดยวิธีอณูชีววิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์สำนักสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
7. วีระเกียรติ ทรัพย์มี. (2558). โครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากรและประวัติประชากรของปลาตะกรับ (Scatophagus argus) ในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 10(2), 38–56.
8. เศรษฐา ศิริพินทุ์ และมัลลิกา จินดาชิงห์. (2555). ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธ์ถั่วเหลืองฝักสดโดยเทคนิคโมเลกุล เครื่องหมายเอสเอสอาร์.วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 43(2)(พิเศษ), 525-528.
9. หทัยรัตน์ อุไรรงค์ อรรัตน์ วงศ์ศรี และนัยเนตร เจริญสันติ ทานากะ. (2560). การวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการจําแนกชนิดพันธุ์ปาล์มน้ำมันด้วยเครื่องหมายโมเลกุล. วารสารวิชาการเกษตร, 35(2), 117 – 136.
10. ฮูดา แก้วศรีสม. (2557). การศึกษาพันธุกรรมของเรียนพื้นบ้าน (Durio zibethinus Murr.) ในภาคใต้โดยใช้เครื่องหมายอาร์พีดี และไมโครแซทแทลไลท์. สงขลา : สาขาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
11. Avise, J. C., Neigel, J. E. & Arnold, J. (1984). Demographic influenceson mitochondrial DNA lineage survivorship inanimal populations. Journal of Molecular Evolution, 20, 99 – 105.
12. Excoffier, L., & Lischer, H. E. (2010) Arlequin suite ver 3.5: A new series of programs to perform population genetics analyses under Linux and Windows. Molecular Ecology Resources, 10, 564-567.
13. Kumar, S., Stecher, G., Li, M., Knyaz, C., & Tamura, K. (2018). MEGA X: Molecular Evolutionary Genetics Analysis across computing platforms. Molecular Biology and Evolution, 35, 1547-1549.
14. Rogers, A. R. (1995). Genetic evidence for a Pleistocene population explosion. Evolution, 49, 608 - 615.
15. Ting, N. C., Jansen, J., Mayes, S., Massawe, F., Sambanthamurthi, R., Ooi, L. C. L., Chin, C. W. Arulandoo, X., Seng, T. Y., Alwee, S. S. R. S., Ithnin, M. & Singh, R. (2014). High density SNP and SSR-based genetic maps of two independent oil palm hybrids. BMC Genomics, 15, 309 - 319.
16. Zhou, L. X., Xiao, Y., Xia, W. & Yang, Y. D. (2015). Analysis of genetic diversity and populationstructure of oil palm (Elaeis guineesis) From China and Malaysia based on species-specific simpie sequence reprat markers. Genetics and Molecular Research, 14(4), 16247 - 16254.