ผลของการให้โภชนศึกษาต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเจาะไอร้อง

Main Article Content

ปฐมาวดี ทองแก้ว
นาเดีย สาและ
อัคลีมา แวฮามะ

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลเจาะไอร้องส่วนใหญ่ได้รับยารักษาโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยยังไม่สามารถควบคุมให้ระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดลง     เป็นปกติได้ จึงวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้โภชนศึกษาต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษา ณ.คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลเจาะไอร้อง จำนวน 14 คน ทำการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลพื้นฐาน การให้ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการให้โภชนศึกษา การให้โภชนศึกษา ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องรายการอาหารแลกเปลี่ยน การกำหนดปริมาณพลังงานและการนับจำนวนคาร์โบไฮเดรตโดยใช้โมเดลและภาพอาหาร การอ่านฉลากโภชนาการ การวางแผนรับประทานอาหารด้วยวิธี Plate method การเลือกอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำและอาหารที่มีไฟเบอร์สูง การกำหนดอาหาร เป็นรายบุคคล การแจกสมุดเพื่อบันทึกการบริโภคอาหารแก่กลุ่มตัวอย่าง จากนั้นติดตามปัญหาและอุปสรรคทุก ๆ 2 สัปดาห์และติดตามการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลงไปทุก ๆ 1 เดือน เป็นระยะเวลา 4 เดือน วิเคราะห์และประเมินผลพฤติกรรมการดูแลตนเอง ค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) ระดับน้ำตาลในเลือดช่วงอดอาหาร (FBS) และดัชนีมวลกาย (BMI) ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยใช้สถิติ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired T-test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความรู้และเจตคติเรื่องโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูงคือ 86% และ 92.85% และมีพฤติกรรมการดูแลด้านการรับประทานอาหาร ยา การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพทั่วไปเพื่อการป้องกันโรคแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นในทางตรงข้าม ค่า HbA1c, FBS และ BMI มีแนวโน้มลดลง สรุปการให้โภชนศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการที่จำเพาะทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมให้ลดลงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bowen, M. E., Cavanaugh, K. L., Wolff, K., Davis, D., Gregory, R. P., Shintani, A.,Rothman, R. L. (2016). The diabetes nutrition education study randomized controlled trial: A comparative effectiveness study of approaches to nutrition in diabetes self-management education. Patient Education and Counseling, 99(8), 1368–1376.

Kaweekorn P. & Prasomruk P. (2016). A model development of self-care behavior for blood sugar

control among type 2 diabetic patients, in Loengnoktha Crown Prince hospital. Community Health Development Quarterly Khon Kaen University, 4(3), 307-324. (in Thai)

Kanglee K. (2014). Factors Associated With Glycemic Control Among People With Type 2 Diabetes

Mellitus at Phramongkutklao Hospital, Bangkok. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(3), 256-268. (in Thai)

Khangrang M., Nelson N., Karasa S. & Rachapakdee P. (2017). Knowledge, Attitude and Behaviors

in diabetics patients at The Community Hospital in UbonRatchathani Province. RTUNC 2017, The 2nd National Conference, July 26-27, 2017. Thailand: Ubonratchathani. (in Thai)

Intarawichian S. (2012). Changing Health behavior by participate to sustainable, in the diabetes

mellitus risk group, Kasetwisai district: Roi-et province. Journal of the Office of DPC 6 Khon Kaen,

(2), 65-75. (in Thai)

Sarinnapakorn V. (2017). Diabetes self-management education and support (DSME/S) in the real

world practice [online]. Retrieved November 19, 2019, from: http://www.rajavithi.go.th/rj/wp-content/uploads/2017/12/2.DSME_.pdf. (in Thai)

Sony K., Chueamuangphan N., Maneerat P. & Mahawongsanan O. (2017). Assessment of group

versus individual diabetes self management education and support (DSMES) in type 2 diabetes patients at primary care unit and diabetes clinic, chiangrai prachanukhroh hospital. Chiangrai Medical Journal, 9(2), 19-28. (in Thai)

Diabetes Association of Thailand under The Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri

Sirindhorn, The Endocrine Society of Thailand, Department of Medical Services, Ministry of Public Health and The National Health Security Office. (2017). Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017 [online]. Retrieved November 19, 2019, from: https://www.dmthai.org/attachments/article/443/guideline-diabetes-care-2017.pdf. (in Thai)

Wattanakorn, K., Deenan, A., Puapan, S., & Kraenzle Schneider, J. (2013). Effects of an Eating Behaviour Modification Program on Thai People with Diabetes and Obesity: A Randomised Clinical Trial. Pacific Rim International Journal of Nursing Research., 17(4) 356-370.

Youkong S., Sompopcharoen M., Kengganpanich T. & Rawiworrakul T. (2017). Effects of self –

regulation program on diet control for patients with type 2 diabetes. The 17th National Conference on Health Education, May 14-16, 2017. Chonburi: Pattaya . (in Thai)