ผลของการเคลือบเมล็ดร่วมกับ Streptomyces sp. CU-02 ต่อคุณภาพ และการควบคุมโรคเน่าคอดินในผักกาดขาวปลี

Main Article Content

๋นิละมัย แสนสุภา
จักรพงษ์ กางโสภา
ประนอม ยังคำมั่น
ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว

บทคัดย่อ

การควบคุมโรคเน่าคอดินในผักกาดขาวปลีเกษตรนิยมใช้สารเคมีในการควบคุมโรค ทำให้มีปัญหาในเรื่องสารพิษตกค้างเป็นอันตรายต่อเกษตรกรผู้ใช้ ผู้บริโภค และเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาการควบคุมโรคเน่าคอดินโดยชีววิธีเพื่อทดแทนการใช้สารเคมี โดยนำเชื้อปฏิปักษ์ Streptomyces sp. CU-02 มาทดสอบประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคเน่าคอดินที่เกิดจากเชื้อราสาเหตุ Pythium aphanidermatum ในผักกาดขาวปลี ใช้แผนการทดลองแบบ Completely Randomize Design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ มีวิธีการเคลือบทั้งหมด 5 กรรมวิธีคือ เมล็ดไม่เคลือบ, เมล็ดที่ผ่านการเคลือบด้วย CMC เพียงอย่างเดียว, เมล็ดที่เคลือบด้วย CMC ร่วมกับ Streptomyces sp. CU-02 ในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 1x106, 1x107 และ 1x108 สปอร์ต่อมิลลิลิตร ต่อเมล็ดพันธุ์ 10 กรัม จากนั้นตรวจสอบคุณภาพเมล็ดและประสิทธิภาพการควบคุมโรคเน่าคอดินในสภาพเรือนทดลองพบว่า การเคลือบเมล็ดพันธุ์ผักกาดขาวปลีร่วมกับเชื้อ Streptomyces sp. CU-02 ในทุกอัตรามีความงอก ดัชนีความเร็วในการงอก และเวลาเฉลี่ยในการงอกดีกว่าเมล็ดไม่เคลือบและเมล็ดเคลือบด้วย CMC เพียงอย่างเดียว ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเน่าคอดินพบว่าเชื้อ Streptomyces sp. CU-02 ในระดับความเข้มข้น 1x106 สปอร์ต่อมิลลิลิตร มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเน่าคอดิน โดยพบเปอร์เซ็นต์จำนวนเมล็ดเน่า และจำนวนต้นกล้าไม่เป็นโรคดีกว่าวิธีการอื่น ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

๋นิละมัย แสนสุภา, สาขาวิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290

การควบคุมโรคเน่าคอดินในผักกาดขาวปลี เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีในการควบคุมโรคทำให้มีปัญหาในเรื่องสารพิษตกค้างในอาหารเป็นอันตรายต่อเกษตรกรผู้ใช้ ผู้บริโภค และเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จึงศึกษาการควบคุมโรคเน่าคอดินโดยชีววิธีเพื่อทดแทนการใช้สารเคมี โดยนำเชื้อปฏิปักษ์ Streptomyces sp. CU-02 มาทดสอบประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคเน่าคอดินที่เกิดจากเชื้อราสาเหตุ Pythium aphanidermatum ในผักกาดขาวปลี ใช้แผนการทดลองแบบ Completely Randomize Design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ มีวิธีการเคลือบทั้งหมด 5 กรรมวิธีคือ 1) เมล็ดไม่เคลือบ, 2) เมล็ดที่ผ่านการเคลือบด้วย Carboxymethyl cellulose (CMC) เพียงอย่างเดียว เมล็ดที่เคลือบด้วย CMC ร่วมกับ Streptomyces sp. CU-02 ในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 3) 1x106, 4) 1x107 และ 5) 1x108 สปอร์ต่อมิลลิลิตร ต่อเมล็ดพันธุ์ 10 กรัม จากนั้นตรวจสอบคุณภาพเมล็ดและประสิทธิภาพการควบคุมโรคเน่าคอดินในสภาพเรือนทดลองพบว่า การเคลือบเมล็ดพันธุ์ผักกาดขาวปลีร่วมกับเชื้อ Streptomyces sp. CU-02 ทำให้เมล็ดมีความงอก ดัชนีความเร็วในการงอก และเวลาเฉลี่ยในการงอกดีกว่าเมล็ดไม่เคลือบและเมล็ดเคลือบด้วย CMC เพียงอย่างเดียวส่วนการทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเน่าคอดินพบว่าเชื้อ Streptomyces sp. CU-02 ในระดับความเข้มข้น 1x106 สปอร์ต่อมิลลิลิตร มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเน่าคอดิน โดยพบเปอร์เซ็นต์เมล็ดเน่าลดลง ในขณะที่ระดับความเข้มข้น 1x107 สปอร์ต่อมิลลิลิตร  พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ต้นกล้าเป็นโรคเน่าดินเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการเคลือบเมล็ดด้วย Streptomyces sp. CU-02 ที่ระดับความเข้มข้น 1x106 สปอร์ต่อมิลลิลิตร เป็นอัตราแนะนำสำหรับใช้เคลือบร่วมกับเมล็ดพันธุ์ผักกาดขาวปลี เนื่องจากลดต้นทุนมากที่สุด และมีผลต่อการยับยั้งการเข้าทำลายของ P. Aphanidermatumได้ดีที่สุด

References

Al-Askar, A. A., Rashad, Y. M., Hafez, E. E., Abdulkhair, W. M., Baka, Z. A., & Ghoneem, K. M. (2015). Characterization of Alkaline Protease Produced by Streptomyces Griseorubens E44G and Its Possibility for Controlling Rhizoctonia Root Rot Disease of Corn. Biotechnology & Biotechnological Equipment, 29(3), 457-462.

Department of Agriculture Extension. (2018). Situation Report for the Year of Plant in Chinese Cabbage [Online]. Retrieved September 20, 2020, from: http://www.agriinfo.doae.go.th. (in Thai)

ISTA. (2018). International Rules for Seed Testing. Bassersdorf: International Seed Testing Association.

Kangsopa, J. (2020). Binder Material for Seed Pelleting. Khon Kaen Agriculture Journal, 48(1), 119-130. (in Thai)

Kangsopa, J. (2020). Seed Coating with Plant Nutrients on Seed Germination and Seedling Vigour. King Mongkut's Agricultural Journal, 38(3), 417-425. (in Thai)

Kipngeno, P., Losenge, T., Maina, N., Kahangi, E., & Juma, P. (2015). Efficacy of Bacillus subtilis and Trichoderma asperellum against Pythium aphanidermatum in tomatoes. Biological Control,

, 92-95.

Miransari, M., & Smith, D. L. (2014). Plant Hormones and Seed Germination. Environmental and Experimental Botany, 99, 110-121.

Phuakjaiphaeo, C., Chang, C. I., Ruangwong, O., & Kunasakdakul, K. (2016). Isolation and Identification of an Antifungal Compound from Endophytic Streptomyces sp. CEN 26 Active Against Alternaria brassicicola. Letters in Applied Microbiology, 63(1), 38-44.

Sangkaew, P. (2013). Formulation of Streptomyces griseus subsp. formicus Biocontrol Agent for the Suppression of Rubber White Root Rot Disease. Master’s Thesis Prince of Songkla University. (in Thai)

Shen, S. K., Wu, F. Q., Yang, G. S., Wang, Y. H., & Sun, W. B. (2015). Seed Germination and Seedling Emergence in the Extremely Endangered Species Rhododendron Protistum var. Giganteum the World’s Largest Rhododendron. Flora - Morphology, Distribution, Functional Ecology of Plants, 216, 65-70.

Suwitchayanon, P., Chaipon, S., Chaichom, S., & Kunasakdakul, K. (2018). Potentials of Streptomyces rochei ERY1 as an Endophytic Actinobacterium Inhibiting Damping-off Pathogenic Fungi and Growth Promoting of Cabbage Seedling. Chiang Mai Journal of Science, 45(2), 692-700.

Winter, M., Samuels, P. L., Otto-Hanson, L. K., Dill-Macky, R., & Kinkel, L. (2019). Biological Control of Fusarium Crown and Root Rot of Wheat by Streptomyces Isolates It’s Complicated. Phytobiomes Journal, 3(1), 52-60.

Xue, L., Xue, Q., Chen, Q., Lin, C., Shen, G., & Zhao, J. (2013). Isolation and Evaluation of Rhizosphere Actinomycetes with Potential Application for Biocontrol of Verticillium Wilt of Cotton. Crop Protection, 43, 231-240.

Zacky, F. A., & Ting, A. S. Y. (2013). Investigating the Bioactivity of Cells and Cell-Free Extracts of

Streptomyces Griseus Towards Fusarium oxysporum sp. Cubense Race 4. Biological Control,