ผลของสารสกัดจากผักหวาน (Sauropus androgynus (Linn.) Merr.) ผักชีลาว (Anethum graveolens Linn.) และย่านาง (Tiliacora triandra Diels.) ต่อการควบคุมการงอกและ การเจริญเติบโตของไมยราบเครือ (Mimosa invisa Mart. Ex Colla.) และกระถิน (Leucaena leucocephala)
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัชพืชจัดเป็นปัญหาสำคัญในการผลิตพืช อัลลีโลพาธีเป็นกลไกทางธรรมชาติของพืช ซึ่งมีผลต่อการงอกและการเจริญเติบโตของพืชชนิดอื่น ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของผักหวาน ผักชีลาวและย่านาง และประสิทธิภาพของสารสกัดต่อการงอก และการเจริญเติบโตของไมยราบเครือ และกระถิน โดยนำพืชทั้ง 3 ชนิด มาสกัดด้วยเอทานอล 70 เปอร์เซ็นต์ ระเหยตัวทำละลาย โดยใช้เครื่องระเหยสารภายใต้ความดันต่ำ และนำไปทำให้แห้งด้วยเครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง จากนั้นนำสารสกัดที่ได้มาวิเคราะห์หาสารสำคัญด้วยเครื่องแก๊ส โครมาโทรกราฟี-แมสสเปคโทรมิเตอร์ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดผักหวาน ผักชีลาว และย่านางพบสาร Ethyl linolenate (16.14%) Phytol isomer (7.73%) และ Phytol (24.22%) มากที่สุด ตามลำดับ สารสกัดจากผักหวาน ความเข้มข้น 30 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการงอกของเมล็ดไมยราบเครือได้ 100 เปอร์เซ็นต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สารสกัดจากผักชีลาว ความเข้มข้น 30 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการงอก ของเมล็ดกระถินได้ 73 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สารสกัดพืชทั้ง 3 ชนิด
ที่ความเข้มข้น 30 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของไมยราบเครือ เท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สารสกัดผักชีลาว ที่ความเข้มข้น 30 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของยอดและรากกระถินได้ดีที่สุด เท่ากับ 92 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นสรุปได้ว่าสารสกัดจากพืชทั้ง 3 ชนิด สามารถยับยั้งการงอก และการเจริญเติบโตของไมยราบเครือ และกระถินได้
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. นี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. ก่อนเท่านั้น
References
Atul, N. M. & Bhimrao, J. P. (2017). Allelopathic effect of Eupatorium odratum L. on amylase activity during seed germination of Cicer arietinum L. and Cajanus cajan (L) Millsp, Bioscience Discovery, 8(1), 82-86.
Bundit, A. & Prom-u-thai, C. T. (2019). Allelopathic Effect of Bha-yha (Asystasia gangetica) on Growth of Lettuce. Khon Kaen Agriculture Journal, 47 (suppl.1), 479-486. (in Thai)
Chompoo, J., Sripatumrat, W., Koomphan, N., Jusomjai, P., Thaymuang, W. & Boonruangrod, R. (2019). Allelopathic Effect of Marigold Powders in Different Soil Series on the Growth of Weeds and Crops. Songklanakarin Journal of Plant Science, 6(2), 42-52. (in Thai)
Dajanta, K., Rongkom, H., Sungsub, S. & Sisopa, P. (2019). Total phenolic compounds, antioxidant capacity and antimicrobial activity of indigenous vegetables in Phitsanulok province. Khon Kaen Agriculture Journal, 47 (suppl.1), 1541-1548. (in Thai)
Goodarzi, M. T., Khodadadi, I., Tavilani, H. & Oshaghi, E. A. (2016). The role of Anethum graveolens L. (Dill) in the management of diabetes. Journal of Tropical Medicine, 2016, p. 1-11.
Kaewpiboon, C. & Boonnak, N. (2018). Synergistic effect between crude extracts of Chromolaena odorata and Acacia mangium leaves on germination and growth of Mimosa pudica. Thai Science and Technology Journal, 28(3), 526-535. (in Thai)
Maity, S. K. & Samanta, A. K. (2020). Allelopathic influence of Eupatorium odoratum L. on germination and seedling growth of somepulses. International Research Journal of Basic and Applied Science, 5, 91-97.
Maulood, P. M. & Amin, S. A. (2012). The allelopathic Effect of Dill Plant (Anethum graveolens L.) Residues on the Groeth and Chemical Content of Two Type of Barley (Hordeum vulgare L.) Cultivars. Rafidain Journal of Science. 21(3), 1-12.
Sitthinoi, P., Lertmongkol, S., Chanprasert, W., & Vajrodaya, S. (2017). Allelopathic effects of jungle rice (Echinochloa colona (L.) Link) extract on seed germination and seedling growth of rice, Agriculture and Natural Resources, 51, 74-78.
Sothearith, Y., Appiah, K. S., Motobayashi, T., Watanabe, I., Somaly, C. & Sugiyama, A., et al. (2021). Evaluation of Allelopathic Potentiala from Medicinal Plant Species in Phnom Kulen National Park, Cambodia by the Sandwich Method. Sustainability. 13(1), 1-10.
Thepphakhun, T. & Intanon, S. (2020). Total phenolic, flavonoids, antioxidant activity, and allelopathic potential of praxelis. Journal of Current Science and Technology, 10(1), 59-65.
Wattanachaiyingchareon, D., Poonpaiboonpipattana, T. & Boonthaworn, K. (2016). Effect of Chromolaena odratum Aqueous Extract on Bioassay Plant and Its Soil Incorporation for Weed Suppression in Paddy Field. Thai Agricultural Research Journal, 34(3), 244-252. (in Thai)
Weerawatanakorn, M., Rojsuntornkitti, K., Pan, M. & Wongwaiwech, D. (2018). Some phytochemicals and anti-inflammation effect of juice from Tiliacora triandra leaves. Journal of Food and Nutrition Research, 6(1), 32-38.