ผลของการใช้เมล็ดทานตะวันไขมันเต็มป่นต่อสมรรถนะการผลิตและ คุณลักษณะซากของไก่เนื้อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับเมล็ดทานตะวันไขมันเต็มป่นต่อสมรรถนะการผลิตและคุณภาพซากของไก่เนื้อ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ สุ่มไก่เนื้อสายพันธ์ทางการค้า จำนวนทั้งหมด 80 ตัว ให้ได้รับอาหารทดลองที่มีระดับของเมล็ดทานตะวันไขมันเต็มป่นต่างกัน 4 ระดับ คือ 0 (กลุ่มควบคุม), 2, 4 และ 6 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหาร ตามลำดับ ไก่ทุกตัวได้รับอาหารและน้ำดื่มสะอาดอย่างเต็มที่ (ad libitum) ตลอดการทดลองเป็นระยะเวลา 32 วัน เก็บข้อมูลปริมาณการกินอาหาร น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและประเมินคุณภาพซาก ผลการทดลองพบว่า สมรรถนะการผลิต คุณลักษณะซากและองค์ประกอบทางเคมีในเนื้อไม่ต่างกัน (P>0.05) แต่ค่าดัชนีการสูญเสียทางเศรษฐกิจต่างกันทางสถิติ(P<0.05) จากการศึกษาครั้งนี้ได้สรุปว่า สามารถใช้เมล็ดทานตะวันไขมันเต็มป่นในสูตรอาหารได้ถึงที่ระดับ 6 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหาร โดยที่ไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต คุณภาพซากและองค์ประกอบทางเคมีในเนื้อ แต่เสนอแนะให้ใช้ที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารจะทำให้มีค่าดัชนีการสูญเสียน้อยลง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ก่อนเท่านั้น
References
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สถิติการค้าสินค้าเกษตรไทยกับต่างประเทศ ปี 2559. [สืบค้น 11 กรกฎาคม 2560] จาก: http:// www.oae.go.th/download/journal/ 2560/thailandtradestat2559.pdf.; 2560.
Alagawany M., Farag, M.R., EL-Hack, A.E.M., Dhama, K. The practical application of sunflower meal in poultry nutrition. Adv Anim Vet Sci. 2015; 3(12): 634-648.
Selvaraj, R.K. and Purushothaman, M.R. Nutritive value of full-fat sunflower seeds in broiler diets. Poultry Sci. 2004; 83: 441-446.
Cheva-Isarakul, B. and Tangtaweewipat, S. Effect of different levels of sunflower seed in broiler rations. Poultry Sci. 1990; 70: 2284-2294.
USDA. National Nutrient Database for Standard Reference Release 28 slightly revised May, 2016. Basic Report 12036, Seeds, sunflower seed kernels, dried. Retrieved January 20, 2018 form https://ndb.nal.usda.gov/ndb/ foods /show/3626?manu=&fgcd=&ds.; 2016.
Rajesh, M.M., Sudhakara, P. and Reddy, P.V.V.S.N.. Effect of sunflower meal with or without enzyme supplementation on the performance of broilers. Ind J Vet Anim Sci Res. 2006; 2(2): 200-204.
Abbas, T.E.E. and Yagoub, Y.M. Sunflower cake as a substitute for groundnut cake in commercial broiler chicks diets. Pakistan J Nutr. 2008; 7(6): 782-784.
Peric, L., Milic, D. and Bjedov, S. The effect of sunflower meal on growth performance of broiler chicks. Proceeding of the 13th European Poultry Conference Tours; 2010; France.
ปฐมพงษ์ ทองวิธิ. ผลของการเสริมสมุนไพรผสม ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน และมะระขี้นก (เฮอร์บาท็อบ-มิกซ์®) ในอาหารต่อสมรรถนะการผลิตและคุณภาพซากของไก่เนื้อ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.
Khajarern, J.M., Khajarern, S., Moon, T.H. and Lee, J.H. Effects of dietary supplementation of fermented chitin-chitosan (FERMKIT) on toxicity of mycotoxin in ducks. Asian-Aust J Anim Sci. 2003; 5: 706-713.
สัญชัย จตุรสิทธา. การจัดการเนื้อสัตว์. เชียงใหม่: ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.
AOAC. Official Methods of Analysis. 15th ed. Arlington, VA: Association of Official Analytical Chemists; 1990.
SAS. SAS User’s Guide: Statistics, Version 6.12th Edition. Cary, NC.: SAS Institute; 1996.
Salari, S., Moghaddam, H.N., Arshami, J. and Golian, A. Nutritional evaluation of full-fat sunflower seed for broiler chickens. Asian-Aust J Anim Sci. 2009; 22(4): 557-564.
Lesson, S., and Summers, J.D. Commercial poultry nutrition. Guelph, Ontario, Canada: University Books; 1991.