การพัฒนาเคลือบดอกซากุระโดยใช้นิกเกิลออกไซด์เป็นสารให้สี

Main Article Content

ธมลวัฒน์ หิรัญชาติอนันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอัตราส่วนผสมของน้ำเคลือบที่สามารถหลอมตัวที่อุณหภูมิ 1220 องศาเซลเซียส และพัฒนาอัตราส่วนผสมของน้ำเคลือบที่ก่อให้เกิดผลึกขนาดเล็กสีชมพู ใช้วัตถุดิบ 6 ชนิด ได้แก่ โพแทสเฟลด์สปาร์ แบเรียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมคาร์บอเนต ซิงค์ออกไซด์ ดินขาวลำปาง และซิลิกา คำนวณอัตราส่วนด้วยทฤษฎีเซเกอร์จำนวน 16 อัตราส่วน แบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลองโดยเติมนิกเกิลออกไซด์ ร้อยละ 1.00 1.50  และ 2.00 โดยน้ำหนักผงแห้งทุกอัตราส่วนผสม ใช้เวลาบดด้วยเครื่องบดความเร็วสูง 10 นาที ความถ่วงจำเพาะ 1.50 เผาที่อุณหภูมิ 1220 องศาเซลเซียส ยืนไฟ 30 นาที เผาด้วยเตาไฟฟ้า บรรยากาศออกซิเดชัน ผลการวิจัยพบว่า ตัวอย่างงานวิจัยทั้ง 16 อัตราส่วนผสมหลอมตัวที่อุณหภูมิ 1220 องศาเซลเซียส และการเติมนิกเกิลออกไซด์สามารถก่อให้เกิดเคลือบดอกซากุระ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรีดา พิมพ์ขาวขำ. (2523). เซรามิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). เนื้อดินเซรามิก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2537). เคลือบเซรามิก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธมลวัฒน์ หิรัญชาติอนันต์. (2564). วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมมิก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

นงลักษณ์ มีทอง ประภาวดี ไกรวุฒิอนันต์ อภิสรา สกุลอำนวยชัย สุมาลี จันระวังยศ ศุภสุตา ภู่ผ่าน กุสุมาลย์ ทองขุนด่าน และสุธรรม ศรีหล่มสัก. (2557). อิทธิพลของสัดส่วน Al2O3 กับ SiO2 และรูปแบบการเผาต่อเคลือบผลึกวิลลิไมท์. วารสารวิทยาศาสตร์ มข, 42(3), 845-855.

Ehrt, D. and Flügel, S. (2011). Properties of Zinc Silicate Glasses and Melts. Journal of Materials Science and Engineering, A1, 312-320.

Karasu, B., Çaki, M. and Turan, S. (2000). The development and characterization of zinc crystal glazes used for Amakusa-like soft porcelains. European ceramic society, 20, 2225-2231.

ดรุณี วัฒนศิริเวช และสุธี วัฒนศิริเวช. (2552). การวิเคราะห์แร่ดิน เคลือบ และตำหนิในผลิตภัณฑ์เซรามิก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อายุวัฒน์ สว่างผล. (2543). วัตถุดิบที่ใช้แพร่หลายในงานเซรามิกส์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.