วัตถุประสงค์ (Aims)
วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย เป็นวารสารวิชาการที่จัดพิมพ์โดยสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมเกษตรและระบบชีวภาพในรูปของบทความวิจัย บทวิจัยย่อ และบทความปริทัศน์ เนื้อหาของบทความที่เผยแพร่ในวารสารสะท้อนถึงขอบเขตที่กว้างขวางของศาสตร์วิศวกรรมเกษตร ซึ่งบูรณาการวิศวกรรมศาสตร์หลากหลายสาขามาประยุกต์เพื่อเพิ่มผลิตภาพทางการ เกษตรและระบบชีวภาพ อาทิ เครื่องจักรกลเกษตร วิศวกรรมดินและน้ํา เทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว วิศวกรรมอาหาร โครงสร้างอาคารเกษตร การจัดการระบบเกษตร พลังงานและสิ่งแวดล้อมทางการเกษตร เป็นต้น เนื้อหาของบทความอาจเป็นการรายงานผลการทดลองของเรื่องที่ศึกษาที่ให้องค์ ความรู้ใหม่ การวิเคราะห์ทางทฤษฎี การออกแบบและประดิษฐ์นวัตกรรม หรือการนําเสนอเทคนิควิธีการทดลองใหม่ โดยมีกำหนดออกเผยแพร่ปีละ 2 ครั้ง (ระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 1 ฉบับ และระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม 1 ฉบับ)

ขอบข่ายวารสาร (Scope)

1) ต้นกําลังและเครื่องจักรกลเกษตร
•  เครื่องยนต์และกําลัง
•  การออกแบบและทดสอบเครื่องจักรกลเกษตร
•  กระบวนการผลิตเครื่องจักรกลเกษตร
•  เทคนิคปฏิบัติและการใช้เครื่องจักรกลเกษตร

2)  วิศวกรรมดินและน้ํา
•  การอัดแน่น การชะล้าง และการปรับปรุงดิน
•  พื้นที่แห้งแล้ง และการเก็บกักน้ํา
•  อุทกวิทยาและการจัดการน้ํา
•  ชลศาสตร์และระบบชลประทาน
•  การให้น้ําพืชระดับไร่นา

3)  กระบวนการหลังเก็บเกี่ยวและวิศวกรรมอาหาร
•  กระบวนการหลังเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษา
•  การบรรจุ
•  เทคนิคแบบไม่ทําลาย
•  กระบวนการและเครื่องจักรกลอาหาร
•  วิศวกรรมชีวภาพ

4)  โครงสร้างอาคารเกษตร
•  การออกแบบอาคารเกษตร
•  ไซโล โรงเรือน และโรงงานผลิตพืช
•  การวางผังฟาร์ม
•  การออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร

5)  ระบบเกษตร
•  โลจิสติกส์และโซ่อุปทานผลิตผลและสินค้าเกษตร
•  ระบบตรวจสอบย้อนกลับและความปลอดภัยอาหาร
•  การจัดการระบบเกษตร และการจําลองสถานการณ์
•  อุตสาหกรรมเกษตร

6)  คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
•  การเกษตรแม่นยํา การตรวจวัดระยะไกล ระบบภูมิสารสนเทศ ระบบผู้เชี่ยวชาญ
•  เซ็นเซอร์ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ
•  ชีวสารสนเทศ
•  การประยุกต์คอมพิวเตอร์ การพัฒนาซอฟแวร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

7)  พลังงานและสิ่งแวดล้อม
•  พลังงานทดแทน ชีวมวลและพลังงานชีวมวล
•  การจัดการพลังงาน
•  การจัดการของเสียการเกษตร รีไซเคิล และเทคโนโลยีไร้ของเสีย
•  วิศวกรรมระบบนิเวศน์เกษตร

ประเภทบทความ
บทความที่เผยแพร่ในวารสารมี 3 ประเภทคือ
•  บทความวิจัย (Research paper) คือ รายงานผลการศึกษาทดลองที่ทําให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ หรือนวัตกรรมใหม่ที่ได้ดําเนินการจนสําเร็จและมีการเรียบเรียงอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ตามระเบียบวิธีวิจัย
•  บทวิจัยย่อ (Research note) คือ รายงานผลการศึกษาทดลองเฉพาะในบางประเด็นที่ผู้วิจัยค้นพบ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์
•  บทความปริทัศน์ (Review paper) คือ รายงานที่ได้จากการรวบรวมทบทวน และสังเคราะห์ งานวิจัยที่ผ่านมาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยสอดแทรกทัศนคติ ประสบการณ์ หรือความคิดเห็นของผู้เขียนที่มีต่อเรื่องนั้นๆ

ความยาวบทความ
•  บทความวิจัย ความยาวไม่ควรเกิน 10 หน้าเรียงพิมพ์
•  บทวิจัยย่อ ความยาวไม่ควรเกิน 5 หน้าเรียงพิมพ์
•  บทความปริทัศน์ ความยาวไม่ควรเกิน 10 หน้าเรียงพิมพ์

ค่าธรรมเนียมการพิมพ์
ผู้เขียนบทความที่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ในวารสารฯ จะต้องชําระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ในอัตราหน้าละ 300 บาท โดยกองบรรณาธิการจะแจ้งรายละเอียดวิธีการชําระค่าธรรมเนียมให้ทราบเมื่อบท ความได้รับการยอมรับต้นฉบับให้ตีพิมพ์ในวารสารฯ

กระบวนการประเมิน
ต้นฉบับบทความทุกประเภทจะถูกประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 3 ท่าน โดยที่รายชื่อผู้เขียนบทความถูกเปิดเผย และผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ถูกเปิดเผย (Single-blind review) กองบรรณาธิการจะแจ้งผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิไปยังผู้รับผิดชอบบทความ (Corresponding author) ตามข้อมูลการติดต่อในต้นฉบับ ผู้เขียนบทความต้องปรับปรุงแก้ไขต้นฉบับตามคําแนะนําของผู้ทรงคุณวุฒิพร้อม ทั้งตอบข้อซักถามของผู้ทรงคุณวุฒิให้ชัดเจนแล้วส่งเอกสารทั้งหมดกลับมายัง กองบรรณาธิการภายในระยะเวลาที่กําหนด กองบรรณาธิการจะพิจารณาตัดสินยอมรับต้นฉบับให้ตีพิมพ์ในวารสารฯ โดยใช้ผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นเกณฑ์ ทั้งนี้คําตัดสินของกองบรรณาธิการถือเป็นอันสิ้นสุด