ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

จริยธรรมของผู้เขียน (Authors)

  • ต้องมั่นใจว่าบทความที่ส่งมารับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ ยังไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ต้องมีการอ้างถึงและอ้างอิงที่เหมาะสม โดยให้รายละเอียดของเอกสารอ้างอิงที่ถูกต้องและเพียงพอ
  • ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น ไม่สร้างข้อมูลเท็จ และ/หรือ ปลอมแปลงข้อมูล ตลอดจนการส่งบทความซ้ำซ้อนและบิดเบือนการอ้างอิง หากปรากฏด้วยวิธีการใดก็ตามว่ามีการคัดลอกผลงานผู้อื่น สร้างข้อมูลเท็จ และ/หรือ ปลอมแปลงข้อมูล ตลอดจนการส่งบทความซ้ำซ้อนและบิดเบือนการอ้างอิง ผู้เขียนต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ประเมินบทความ
  • ให้รายละเอียดของผู้เขียนบทความ (และสังกัด) ทุกท่านอย่างถูกต้องและเพียงพอตามเกณฑ์ของวารสาร ฯ
  • จัดเรียงหน้าบทความตามเกณฑ์ของวารสารฯ
  • ระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการทำวิจัยไว้ในกิตติกรรมประกาศ
  • ระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)

*กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ไม่รับพิจารณาต้นฉบับบทความจนกว่าต้นฉบับนั้นๆ จะถูกจัดเตรียมตามคำอธิบายใน Author Guidelines โดยใช้แบบฟอร์มต้นฉบับบทความ (Template) ที่กองบรรณาธิการจัดเตรียมไว้

ต้นฉบับบทความทุกประเภทจะถูกประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ต่ำกว่า 3 ท่าน โดยที่รายชื่อผู้เขียนบทความถูกเปิดเผย และผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ถูกเปิดเผย (Single-blind review) กองบรรณาธิการจะแจ้งผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิไปยังผู้รับผิดชอบบทความ (Corresponding author) ตามข้อมูลการติดต่อในต้นฉบับ ผู้เขียนบทความต้องปรับปรุงแก้ไขต้นฉบับตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมทั้งตอบข้อซักถามของผู้ทรงคุณวุฒิให้ชัดเจน ผู้เขียนต้องเขียนอธิบายรายละเอียดการแก้ไขต้นฉบับบทความเรียงลำดับเป็นหัวข้อตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อเสนอแนะหรือซักถามไว้ จากนั้น ส่งเอกสารทั้งหมดกลับมายังกองบรรณาธิการภายในระยะเวลาที่กำหนด กองบรรณาธิการจะพิจารณารับต้นฉบับให้ตีพิมพ์ในวารสารฯ โดยใช้ผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นเกณฑ์ ทั้งนี้คำตัดสินของกองบรรณาธิการถือเป็นอันสิ้นสุด

การประเมินต้นฉบับบทความของผู้ทรงคุณวุฒิจะครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย

1 หัวเรื่อง

   1.1 หัวเรื่องสั้นกระชับ เหมาะสมกับเนื้อหา และสื่อถึงสาระสำคัญของต้นฉบับบทความ

   1.2 หัวเรื่องภาษาอังกฤษถูกหลักไวยากรณ์ และสอดคล้องกับหัวเรื่องภาษาไทย

2 บทคัดย่อ

   2.1 บทคัดย่อสั้นกระชับ และมีใจความครอบคลุมสาระสำคัญทั้งหมดของต้นฉบับบทความ

   2.2 บทคัดย่อภาษาอังกฤษสอดคล้องกับบทคัดย่อภาษาไทย

   2.3 บทคัดย่อภาษาอังกฤษถูกหลักไวยากรณ์

3 บทนำ

   3.1 มีการระบุประเด็นปัญหาและความสำคัญที่ชัดเจน

   3.2 มีการตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางรอบด้าน

   3.3 มีการระบุวัตถุประสงค์และขอบเขตของการวิจัยที่ชัดเจน

4 อุปกรณ์และวิธีการ

   4.1 สมมติฐานและระเบียบวิธีวิจัยถูกต้องตามหลักวิชาการ

   4.2 การอธิบายวิธีทดลองละเอียดชัดเจน สามารถพิสูจน์ซ้ำได้

   4.3 อุปกรณ์การทดลองมีความน่าเชื่อถือ

5 ผลและวิจารณ์

   5.1 มีการรายงานผลครบทุกประเด็นตามที่ระบุในส่วนอุปกรณ์และวิธีการ

   5.2 ผลการทดลองมีความน่าเชื่อถือ

   5.3 รูปแบบการรายงานผลมีความเหมาะสม เช่น การใช้ตาราง รูป กราฟ เป็นต้น

   5.4 มีการวิเคราะห์ผล การแปลผล และบทวิจารณ์ที่สมเหตุสมผลและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

6 สรุป

   6.1 มีการสรุปการค้นพบที่สำคัญและข้อเสนอแนะ ที่ครบถ้วนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

7 เอกสารอ้างอิง

   7.1 รายการเอกสารอ้างอิงสอดคล้องตรงกันกับการอ้างอิงในเนื้อความ

   7.2 เอกสารอ้างอิงที่นำมาอ้างอิงสามารถเข้าถึงหรือสืบค้นได้จริง

ตัวอย่างการพิมพ์เอกสารอ้างอิงแต่ละประเภทตามแบบของวารสารมีดังนี้

1) บทความวารสารวิชาการ

จักรมาส เลาหวณิช, พรมมี แพงสีชา, สุเมธี คำวันสา. 2552. การหาค่าความขาวข้าวสารโดยวิธีการวัดค่าสี. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย 15(1), 26–30.

Perez-Mendoza, J., Hagstrum, D.W., Dover, B.A., Hopkins, T.L., Baker, J.E. 1999. Flight response, body weight, and lipid content of Rhyzopertha dominica (F.) (Coleoptera: Bostrichidae) as influenced by strain, season and phenotype. Journal of Stored Products Research 38, 183–195.

2) หนังสือที่มีผู้แต่งแต่ละบท (Edited book)

Mettam, G.R., Adams, L.B. 1994. How to prepare an electronic version of your article. In: Jones, B.S., Smith, R.Z. (Eds.), Introduction to the Electronic Age (pp. 281–304). New York: E-Publishing Inc.

3) ตำรา

ประดิษฐ์ หมู่เมืองสอง, สุชญาน หรรษสุข. 2550. การวิเคราะห์การสั่นสะเทือน. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Strunk, W., Jr., White, E.B. 1979. The Elements of Style. (3rd ed.). Brooklyn, New York: Macmillan.

4) รายงานการประชุมวิชาการ

วัฒนชัย ภัทรเธียรสกุล, วารุณี เตีย, สมชาติ โสภณรณฤทธิ์. 2553. ศักยภาพการผลิตเอทานอลจากลิกโนเซลลูโลสในประเทศไทย. รายงานการประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 ประจำปี 2553, 299–304. นครปฐม: ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 6–7 พฤษภาคม 2553, กำแพงแสน, นครปฐม.

Winks, R.G., Hyne, E.A. 1994. Measurement of resistance to grain fumigants with particular reference to phosphine. In: Highley, E., Wright, E.J., Banks, H.J., Champ, B.R. (Eds). Proceedings of the Sixth International Working Conference on Stored-product Protection, 244–249. Oxford, UK: CAB International. 17–23 April 1994, Canberra, Australia.

5) วิทยานิพนธ์

สยาม ตุ้มแสงทอง. 2546. การปรับปรุงเครื่องคัดขนาดผลมังคุดแบบจานหมุน. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

Chayaprasert, W. 2007. Development of CFD models and an automatic monitoring and decision support system for precision structural fumigation. PhD dissertation. West Lafayette, Indiana: Department of Agricultural and Biological Engineering, Purdue University.

6) แหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. 2550. สถิติรายปี กรุงเทพมหานคร. แหล่งข้อมูล: http://203.155.220.230/stat_search /frame.asp. เข้าถึงเมื่อ 14 มิถุนายน 2550.

United Nations Environment Programme. 2000. The Montreal protocol on substances that deplete the ozone layer. Available at: http://ozone.unep.org/ pdfs/Montreal-Protocol2000.pdf. Accessed on 7 August 2008.