การออกแบบเครื่องเตรียมกาบกล้วยสำหรับทำเชือกกล้วย

Main Article Content

Pimpan Pruengam

บทคัดย่อ

เครื่องเตรียมกาบกล้วยสำหรับทำเชือกกล้วยได้ออกแบบเพื่อให้สามารถกรีดกาบกล้วยได้เชือกหลายเส้นพร้อมกับรีดน้ำออกจากเชือกกล้วยเพื่อลดระยะเวลาการตากแห้งให้สั้นลง มีกระบวนการพ่นสารละลายโซเดียมเมแทไบซัลไฟต์  เพื่อให้เชือกกล้วยหลังตากแห้งมีความขาว การทำงานของเครื่องแบ่งเป็นสี่ส่วน คือ ชุดลำเลียง ชุดกรีด ชุดพ่นสารละลาย และชุดรีดน้ำ โดยที่ชุดลำเลียงประกอบด้วยลูกกลิ้ง 2 ลูก หมุนสวนทางกันเพื่อดึงกาบกล้วยเข้าสู่เครื่อง กาบกล้วยจะถูกลำเลียงเข้าไปเจอกับชุดกรีด ใบมีดจะกรีดกาบกล้วยให้เป็นเส้นตามความยาวของกาบกล้วย กาบกล้วยจะถูกชุดลำเลียงดึงจนไปสัมผัสลิมิตสวิทช์ที่ติดตั้งไว้ด้านหลังของใบมีดกรีด รับคำสั่งให้ฉีดพ่นสารละลายโซเดียมเมแทไบซัลไฟต์บนกาบกล้วย จากนั้นเข้าสู่ชุดรีดน้ำ ซึ่งชุดลูกกลิ้งสองชุดจะมีลักษณะเช่นเดียวกับชุดลำเลียง ระยะห่างระหว่างลูกกลิ้ง 3 mm ทำหน้าที่รีดน้ำออกจากกาบกล้วย ทำการทดสอบการทำงานของเครื่องที่ความเร็วรอบชุดลำเลียง 3 ระดับ คือ 25, 50 และ 75 rpm ความเร็วรอบของชุดรีดน้ำเท่ากับความเร็วรอบชุดลำเลียง พบว่า ที่ความเร็วรอบที่เหมาะสมคือ 50 rpm มีอัตราทำงาน 184.5 kg h-1 ใช้ตากแห้งเวลาเพียง 1 วัน เชือกกล้วยมีค่าดัชนีความขาว และมีค่าความเค้นแรงดึงสูงสุด เท่ากับ 70 และ 10.9 MPa ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม พบว่า ใน 1 year ใช้เครื่องเตรียมกาบกล้วยหลังทำงาน 2,080 h มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของเครื่อง 97,104.5 Baht year-1 ระยะเวลาคืนทุน 3 month และจุดคุ้มทุนเมื่อพิจารณาจากน้ำหนักกาบกล้วยเมล็ดบัวที่แยกเตรียมได้ประมาณ 12.5 ton year-1

Article Details

บท
Post-harvest and food engineering

References

Vigneswaran, C., Pavithra, V., Gayathri, V., and Mythili, K. 2015. Banana Fibers: Scope and Value Added Product Development, Journal of Textile and Apparel, Technology and Management, Vol 9(2), pp: 1-7.

วารี กาลศิริศิลป์. 2556. การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเชือกกล้วยมัดย้อม.วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ดารณี มีบุญ. 2544. ศึกษาหัตถกรรมเชือกกล้วยบ้านหัวควาย ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. วิชาเอกไทยคดีศึกษา, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พจน์ธรรม ณรงค์วิทย์ และ ราชัน แพ่งประเสริฐ. 2560. เชือกกล้วยฟั่น จากหัตถกรรม สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์. การประชุมวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต” คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560. pp: 437-445.

สมชาย บุญพิทักษ์. 2553. ศึกษาและพัฒนาหัตถกรรมเชือกกล้วย สำหรับผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านพักอาศัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก

วิมล บุญรอด, ณชพร รัตนาภรณ์, และ วาสณา บุญส่ง. 2560. การออกแบบและสร้างเครื่องรีดเชือกกล้วย. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55 สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์. pp: 362-369.

Pruengam, P.; Soponronnarit, S.; Prachayawarakorn, S.;
Devahastin S. 2014. Rapid drying of parboiled paddy using hot-air impinging stream dryer. Drying Technology 32, 1949–1955.