การเปรียบเทียบความสามารถในการป้องกันและศึกษารูปแบบการจัดเรียงภายในบรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งใบพลู

Main Article Content

ศุภกิตต์ สายสุนทร
อาทิตย์ ศิริสุข
สุดสายสิน แก้วเรือง

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้เพื่อเปรียบเทียบความสามารถและศึกษารูปแบบการจัดเรียงภายในบรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งใบพลู เพื่อการป้องกันความเสียหายเชิงกลที่เกิดขึ้นกับใบพลูพันธุ์ สำหรับการจำหน่ายส่งด้วยวิธีการขนส่งทางบก โดยใบพลูถูกบรรจุในบรรจุภัณฑ์ 3 ชนิด ได้แก่ ตะกร้าพลาสติก กล่องโฟม และกล่องกระดาษลูกฟูก โดยบรรจุเต็มทั้ง 3 บรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีน้ำหนักรวม 10, 12 และ 15 กิโลกรัม ตามลำดับ และมีการจัดเรียง 3 รูปแบบ จากนั้นเปรียบเทียบความสามารถของบรรจุภัณฑ์โดยการขนส่งใบพลูจาก อ.สามพราน จ.นครปฐมไปยังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 70 กิโลเมตร จากนั้นประเมินความเสียหายทางกายภาพของใบพลู โดยกำหนดเป็นอัตราความเสียหาย 3 ระดับ ได้แก่ เสียหายมาก ปานกลาง น้อย และไม่เสียหาย ผลการทดสอบ พบว่า ใบพลูที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกมีความเสียหายระดับ มาก, ปานกลาง และน้อย เท่ากับ 9.17, 22.02 และ 39.45 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และไม่พบความเสียหาย 29.36 เปอร์เซ็นต์ ใบพลูที่บรรจุในกล่องโฟมมีความเสียหายเท่ากับ 4.14, 11.03 และ 29.66 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และไม่พบความเสียหาย 55.17 เปอร์เซ็นต์ และใบพลูที่บรรจุในกล่องกระดาษลูกฟูกมีความเสียหายเท่ากับ 5.05, 11.11 และ 26.77 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และไม่พบความเสียหาย 57.07 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับทั้ง 3 บรรจุภัณฑ์แล้วพบว่า กล่องโฟมมีความเหมาะสมในการทำหน้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งใบพลู

Article Details

How to Cite
สายสุนทร ศ., ศิริสุข อ., & แก้วเรือง ส. (2020). การเปรียบเทียบความสามารถในการป้องกันและศึกษารูปแบบการจัดเรียงภายในบรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งใบพลู. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, 26(2), 7. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/210070
บท
Post-harvest and food engineering