การออกแบบและพัฒนาเครื่องแช่และเพาะงอกข้าวเปลือกในขั้นตอนเดียว
Main Article Content
บทคัดย่อ
ข้าวกล้องงอกเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงโดยเฉพาะ GABA จึงทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้การผลิตข้าวกล้องงอกไม่เพียงพอต่อความต้องการในท้องตลาด ซึ่งกรรมวิธีการผลิตข้าวกล้องงอกโดยทั่วไปนั้นใช้เวลาในขั้นตอนการแช่และเพาะงอก 2-3 d งานวิจัยนี้จึงออกแบบเครื่องแช่และเพาะงอกข้าวเปลือกในขั้นตอนเดียวเพื่อประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรม โดยใช้หลักการน้ำไหลผ่านข้าวเปลือกด้วยการสเปรย์น้ำเพื่อเพิ่มความชื้นแก่เมล็ดข้าว ร่วมกับการหยุดพักสเปรย์น้ำเพื่อให้เมล็ดข้าวเกิดการเพาะงอก ควบคุมการเปิด-ปิดน้ำด้วยระบบอัตโนมัติ โดยทำการศึกษา ระยะเวลาในการสเปรย์น้ำ และระยะเวลาหยุดพักสเปรย์ ร่วมกันเป็นเวลา 20 h จากการทดสอบภายในเวลา 24 h พบว่า การทดสอบที่ระยะเวลาการสเปรย์น้ำ 20 m ร่วมกับการพักสเปรย์ 90 m เป็นเงื่อนไขที่พบปริมาณสาร GABA สูงที่สุด คือ 29.77 mg g-1 โดยมีร้อยละการงอกของข้าวเปลือก 81.54 และปริมาณร้อยละต้นข้าวมีค่า 70.59 ซึ่งสูงกว่าข้าวที่ผลิตจากกระบวนการดั้งเดิม
Article Details
สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย
Thai Socities of Agricultural Engineering
References
จิราภรณ์ กระแสเทพ, มาระตรี เปลี่ยนศิริชัย, มัณฑนา นครเรียบ. 2557. สารกาบ้า สารประกอบฟีโนลิกทั้งหมด และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากข้าว. รายงานการประชุมวิชาการมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 10 ประจำปี 2556 , 88-96. มหาสารคาม : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11-12 กันยายน 2557, กันทรวิชัย, มหาสารคาม.
ชาญวิทย์ ศรีเพ็ญชัย อภิชาต อาจนาเสียว และทินกร คำแสน. 2552 เครื่องผลิตข้าวปลือกงงอก. น. AMM-027353 ใน: ประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 4-7 พฤศจิกายน 2552. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ทรงพล วิจารณ์จักร, สุพรรณ ยั่งยืน, จักรมาส เลาหวณิช. 2560. การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมลมร้อนปล่อยทิ้งในกระบวนการผลิตข้าวกล้องงอก. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 48(3), 51-54.
นฤมล ลอยแก้ว, เบญจรัก วายุภาพ, วราพร ลักษณลม้าย. 2557. การศึกษาสภาวะในการแช่ข้าวฮางงอกเพื่อลดการเหมือนหืนของแป้งข้าวฮางงอกเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเบเกอรี่. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2557, 320-327. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.
ปริพัฒน์ ช้อยชื่น, ประสันต์ ชุ่มใจหาญ. 2556. การปรับปรุงเนื้อสัมผัสของข้าวงอกด้วยวิธีการขัดขาว. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 ประจำปี 2556, 637-641. ประจวบคีรีขันธ์ : โรงแรมหัวหินแกรนด์ แอนด์พลาซ่า. 1-4 เมษายน 2556, หัวหิน, ประจวบคีรีขันธุ์.
ศิโรรัตน์ พิลาวุธ และวินิต ชินสุวรรณ. 2555. อัตราการไหลของน้ำผ่านข้าวในกระบวนการแช่ของการผลิตข้าวเปลือกงอกที่มีผลต่อปริมาณ GABA และคุณภาพข้าวกล้อง. วิทยาศาสตร์เกษตร. 43(3): 264-267.
ศิโรรัตน์ พิลาวุธ. 2561. สัดส่วนของน้ำต่อข้าวในกระบวนการแช่ข้าวเปลือกสำหรับการผลิตข้าวกล้องงอกที่มีผลต่อปริมาณ GABA และคุณภาพข้าวกล้อง. รายงานการประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19 ประจำปี 2561, 573-576. ประจวบคีรีขันธุ์ : คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย. 26-27 เมษายน 2561, หัวหิน, ประจวบคีรีขันธุ์.
ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลสาวะถี (ข้าวฮางงอกอินทรีย์). 2559. การจัดการความรู้ของศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. แหล่งข้อมูล: http://organicricekk.blogspot.Com/2016 /05/blog-post.html. เข้าถึงเมื่อ 13 มกราคม 2562.
สุนัน ปานสาคร ศราวุฒิ สุขนาค เบญจวรรณ พงษ์ศักดิ์ และสุการดา สนรัมย์. 2553 ศึกษาและออกแบบเครื่องผลิตข้าวกล้องงอกขนาดเล็กในครัวเรือน. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 8(1): 61-67.
สุนัน ปานสาคร และจตุรงค์ ลังกาพินธุ์. 2559. สภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมข้าวกล้องหอมนิลเพาะงอกหุงสุกในภาชนะพลาสติกอ่อนตัวปิดสนิท. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 14(1): 65-75.
อภิชาติ อาจนาเจียว. 2553. ผลของกระบวน การแช่ที่มีสารเร่งการงอกที่มีผลต่อปริมาณสาร GABA ในข้าวเปลือกหอมมะลิ 105. วิศวกรรมสาร มข., 37(2): 131-139.
Komatsuzaki, N., Tsukahara, K., Toyoshi ma, H., Suzuki, T., Shimizu, N. and Kimura, T. 2007. Effect of soaking and gaseous treatment on GABA content in germinated brown rice. Journal of food Engineering, 78, 556-560.
Moongngarm, A. 2010. Comparison of chemical compositions and bioactive compounds of germinated rough rice and brown rice. Journal of Food Chemistry, 122, 782-788.
Manna, KM., Naing, KM. and Pe, H. 1995. Amylase activity of some roots and sprouted cereals an beans. Food and nutrition bulletin, 16(2). 1-4.
Ohtsubo, K., Suzuki, K., Yasui, Y and Ka sumi, T. 2005. Bio-Functional components in the processed pre-germinated brown rice by a twin-screw extruder. Journal of Food Composition and Analysis, 18, 303-316.
Suzuki, K., Maekawa, T. 2000. Intro duction of homogeneous rooting control in liquid cultured brown rice using hypoxic conditions. Seed Science and Technology, 28, 367-379.
Varanyanond, W., Tungtrakul, P., Surojanametakul, V., Watanasiri tham, L. and Luxiang, W. 2005. Effects of Water Soaking on Gamma-Aminobutyric Acid (GABA) in Germ of Different Thai Rice Varieties. Kasetsart Journal, 39, 411-415.
Zhang, Q., Xiang, J., Zhang. L., Zhu, X., Evers, J., Werf, W. V. D. and Duan, L. 2014. Optimizing soaking and germination conditions to improve gamma-aminobutyric acid content in japonica and indica germinated brown rice. Journal of functional foods,10,283-291.