อิทธิพลของรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อน และการเทมเปอริง ต่อร้อยละการงอกและการเจริญเติบโตของต้นอ่อนของเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105

Main Article Content

เดชา ปะเขทานัง
เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา
จักรมาส เลาหวณิช
พรียศ แข็งขัน
สุพรรณ ยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อน และการเทมเปอริง ต่อร้อยละการงอกและการเจริญเติบโตของต้นอ่อนเมล็ดพันธุ์ข้าว ปัจจัยที่ศึกษาได้แก่ ความยาวคลื่นรังสีอินฟราเรด 2.83 2.98 และ 3.14 µm อุณหภูมิลมร้อน 35 45 และ 55 ºC และเวลาที่เมล็ดพันธุ์ข้าวรับลมร้อน 3 6 และ 9 min ใช้ข้าวเปลือกขาวดอกมะลิ 105 ที่มีความชื้นเริ่มต้นร้อยละ 23% (wb) หลังจากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ข้าว มาเก็บรักษาเป็นเวลา 6 months จากผลการศึกษาพบว่า เมื่อความยาวคลื่นรังสีอินฟราเรดลดลง และอุณหภูมิลมร้อนเพิ่มขึ้น ร้อยละการงอกและการเจริญเติบโตต้นอ่อนจะลดลง ที่ความยาวคลื่นรังสีอินฟราเรด 3.14 µm อุณหภูมิลมร้อน 35 ºC และเวลาที่เมล็ดพันธุ์ข้าวรับลมร้อน 9 min เป็นเงื่อนไขที่มีผลทำให้มีการงอกต้นอ่อนปกติร้อยละ 88.50 และการเจริญเติบโตต้นอ่อน 5.06 cm โดยสูงกว่าข้าวที่ใช้วิธีการลดความชื้นด้วยการตากแดด ซึ่งมีการงอกต้นอ่อนปกติร้อยละ 83.75 และการเจริญเติบโตต้นอ่อน 4.32 cm

Article Details

บท
Post-harvest and food engineering

References

1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2561. การพัฒนาศักยภาพศูนย์ข้าวชุมชนโดยระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. แหล่งข้อมูล: https://www.moac.go.th/news-preview-401591791369. เข้าถึงเมื่อ 8 กันยายน 2562.
2. กิตติคุณ ปิตุพรหมพันธุ์. 2556. การอบแห้งเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเครื่องอบแห้งแบบปั๊มความร้อนในตัวกลางแตกต่างกัน. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
3. คงศักดิ์ ชินนาบุญ. 2543. อิทธิพลของการทำเทมเปอริงที่มีต่อคุณภาพของเมล็ดข้าวโพดหลังอบแห้ง แบบฟลูอิไดซ์เบด. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
4. จักรมาส เลาหวณิช, สุพรรณ ยั่งยืน. 2557. เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยระบบรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้ง. เลขที่สิทธิบัตร : 8962
5. ทรงพล วิจารณ์จักร, สุพรรณ ยั่งยืน, เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา, จักรมาส เลาหวณิช. 2559. การพัฒนาและทดสอบเครื่องอบแห้งข้าวกล้องงอกแบบถังหมุน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 47(3 พิเศษ), 429-432.
6. นฤพนธ์ บ่อคำเกิด, วสันต์ ด้วงคำจันทร, จักรมาส เลาหวณิช. 2555. ผลของวิธีการทำแห้งต่อการลดลงของความชื้นและความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 43(3 พเิศษ), 252-255.
7. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวขอนแก่น. 2562. การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว. แหล่งข้อมูล: http://kkn-rsc.ricethailand.go.th เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2562.
8. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. 2562. การผลิตข้าวครบวงจรโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม. แหล่งข้อมูล: http://www.arda.or.th/datas/file/POLICY4.pdf. เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2562.
9. สุราจ เชตรี. 2552. การตรวจสอบความแข็งแรงเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยวิธีเร่งอายุ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
10. อรวรรณ ฤทธิวุธ, ทรงชัย วิริยะอำไพวงศ์, จักรมาส เลาหวณิช. 2555. การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการอบแห้งสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 43(3 พิเศษ), 111-11.
11. ASAE. 1996. Moisture Measurement Grains and Seed. Method s352.2. Standard 96. United States: American Society of Agricultural.
12. Ding, C., Khir, R., Pan, Zhongli., Wood, D.F., Chandrasekar, V., Tu, Hang., Mashad, H.E. Berrios, J. 2018. Influence of infrared drying on storage characteristics of brown rice. Journal of Food Chemistry 264, 149-156.
13. ISTA. 2016. International Rules for Seed testing. Seed Science and Technology. Zurich, Switzerland.
14. ISTA. 1999. International Rules for Seed Testing. International Seed Testing Association, Supplement to Seed Sci.& Technol 27, 1-333.
15. ISTA. 1995. Handbook of Vigour Test Methods. (3rd ed.). International Seed Testing Association, Zurich, Switzerland.
16. Maluf A.M., Bilia D.A.C., Barbedo C.J. 2003. Drying and Storage of Eugenia Involucrata DC Seeds. journal of Scientia Agricola 60, 471-475.