การออกแบบกราฟน้ำหลากด้วยวิธีดัชนีสังเคราะห์หลายคุณลักษณะ

Main Article Content

ยุทธนา ตาละลักษมณ์
อารียา ฤทธิมา

บทคัดย่อ

กราฟน้ำท่าของแต่ละเหตุการณ์พายุฝนมีคุณลักษณะทางอุทกวิทยาที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น ปริมาณการไหลสูงสุด ปริมาตรน้ำท่าสูงสุดที่ช่วงเวลาต่างๆ ระยะเวลาการเกิดปริมาณการไหลสูงสุด เป็นต้น ความแตกต่างกันนี้ทำให้วิธีการบริหารจัดการน้ำแตกต่างกันด้วย กราฟน้ำหลากสูงสุดที่รอบปีการเกิดซ้ำต่าง ๆ เป็นข้อมูลสำคัญในการออกแบบและการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ วิธีการออกแบบกราฟน้ำหลากส่วนใหญ่จะพิจารณาจากคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของชุดข้อมูลกราฟน้ำท่า เช่น ปริมาณการไหลสูงสุด หรือปริมาตรน้ำท่าสูงสุดที่ช่วงเวลาที่กำหนด ทำให้การพัฒนากราฟน้ำหลากออกแบบถูกจำกัดด้วยเหตุการณ์น้ำท่วมในบางคุณลักษณะ งานวิจัยนี้ได้การออกแบบพัฒนากราฟน้ำหลากโดยการพิจารณาจากหลายคุณลักษณะ ได้แก่ ปริมาณน้ำหลากสูงสุด ปริมาตรน้ำหลากสูงสุดราย 1, 3, 5 และ 7 วัน เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วมกันเป็นค่าดัชนีตัวแทนของคุณลักษณะกราฟน้ำหลากโดยอาศัยวิธีดัชนีสังเคราะห์หลายคุณลักษณะ ซึ่งค่าดัชนีนี้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบกราฟน้ำหลาก ผลการศึกษาจากชุดข้อมูลน้ำท่าสถานี N.13A พบว่า ปริมาตรน้ำหลากสูงสุดราย 7 วัน เป็นคุณลักษณะสำคัญที่มีผลต่อรูปร่างของกราฟน้ำหลากโดยให้ค่าน้ำหนักมากที่สุด และยังพบว่าลักษณะของกราฟน้ำหลากออกแบบที่สังเคราะห์ได้นั้นขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของเหตุการณ์น้ำหลากหลายลักษณะที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่นั้น แสดงให้เห็นว่าวิธีดัชนีสังเคราะห์หลายคุณลักษณะสามารถใช้ในการออกแบบกราฟน้ำหลากได้สอดคล้องกับเหตุการณ์น้ำท่วมจริงในพื้นที่

Article Details

บท
Soil and water engineering

References

1. อารียา ฤทธิมา, กอบกล้า จันทนสถาน, ภานุพงศ์ ประจักษ์คุณ, พิชญ์ชาวี แสงเทียน และยุทธนา ตาละลักษมณ์. 2562. การพัฒนากราฟน้ำท่วมสูงสุดออกแบบเพื่อการทำนายระดับน้ำเขื่อนสิริกิติ์. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย 25(1), 28–36.
2. Chow, V.T., Maidment, D.R., & Mays, L.W. 1988. Applied Hydrology. McGraw–Hill, New York.
3. Diakoulaki, D., Mavrotas, G., & Papayau nakis L. 1995. Determiuing objective weight in multiple criteria problems; the critic method. Computers and Operatios Research, 22(7), 763–770.
4. Goel, N.K., Soth, S.M., & Chaudra. 1998. Multivariate modeling of flood flows. J. Hydrol. Eng., 124(2), 146–155.
5. Xiao, Y., Guo, S., Liu, P., Baowei, Y., & Chen L. 2009. Design flood hydrograph based on multicharacteristic synthesis index method. J. Hydrol. Eng., 14(12), 1359–1364.
6. Yue, S., Quarda, T.B.M. J., Bobée, B., Legendre, P., & Bruneau, P. 1999. The gumbel mixed model for flood frequency analysis. J. Hydrol., 266(1–2), 88–100.
7. Yue, S., Quarda, T.B.M.J., Bobée, B., Legendre, P., & Bruneau, P. 2002. Approach for describing statistical properties for flood hydrograph. J. Hydrol. Eng., 7, 147–153.