การสังเคราะห์ถ่านกัมมันต์จากแกลบในการบำบัดน้ำเสียที่มีฤทธิ์เป็นกรดจากกระบวนการผลิตยางแผ่น

Main Article Content

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการสังเคราะห์ถ่านกัมมันต์จากแกลบโดยการกระตุ้นด้วยพลังงานไมโครเวฟ ขั้นตอนแรกการคาร์บอไนซ์แกลบที่อุณหภูมิ 350 450 550 650 และ 750 °C เป็นเวลา 60 (min) วิเคราะห์หาปริมาณคาร์บอนคงตัวของถ่านชาร์ตามมาตรฐาน ASTM เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการคาร์บอไนซ์ มีปริมาณคาร์บอนคงตัวร้อยละ 32.59 40.15 34.98 41.78 และ 39.59 ตามลำดับ นำถ่านชาร์ที่ผ่านการคาร์บอไนซ์ที่อุณหภูมิ 650°C แช่สารละลายด้วยสารละลายอิ่มตัวซิงค์คลอไรด์ ในอัตราส่วนถ่านชาร์ 1 กรัมต่อสารละลาย 3.11 กรัม เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นกระตุ้นด้วยพลังงานไมโครเวฟที่กำลังไฟฟ้า 800 วัตต์ เป็นเวลา 0 5 10 15 20 และ 30 (min) จากการวิเคราะห์พื้นที่ผิวของถ่านกัมมันต์ด้วยเทคนิค BET ที่เวลา 0 5 10 15 20 และ 30 (min) มีพื้นที่ผิวเท่ากับ 222.75 242.96 307.70 343.74 339.56 และ 306.06 (m2 g-1) ตามลำดับ ปัจจัยที่ปริมาณถ่านกัมมันต์มีผลต่อที่มีผลต่อการบำบัดน้ำเสียที่มีฤทธิ์เป็นกรด จากผลการทดลองพบว่าปริมาณถ่านกัมมันต์ที่เหมาะสมในการดูซับเท่ากับ 0.1 (g ml-1)

Article Details

บท
Energy and environment

References

วัชรไชย ขมินทกูล สุจิตรา กันยาวิลาศ และพีรยา บุญสำเร็จ. 2558. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียเบื้องต้นและ
การตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียด้วยตนเอง กรมควบคุม
มลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,
แหล่งข้อมูล : http://cac.pcd.go.th/images/ptech
Resource/PublishDoc/2558-CAC_treatment/
CAC_manual-58.pdf. เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562.
วารุณี ศุภเศวตหิรัญ. 2542. การคืนสภาพถ่านกัมมันต์ที่ใช้แล้ว.
วิทยานิพนธ์วิศวกรรมมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร:
บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
2548. แนวปฏิบัติที่ดีด้านการป้องกันและลดมลพิษอุตสาห
กรรมยางแผ่นรมควัน. ISBN : 974-9669-83-5 ฉบับ : 3/8
มกราคม 2548 คพ. 02-117
กำพล ประทีปชัยกุล ไพโรจน์ คีรีรัตน์ และ พีระพงศ์ ทีฆสกุล
2549. การพัฒนาห้องอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัด พลังงานสำหรับกลุ่มสหกรณ์. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Threethawat S. (2014). Optimum conditions of
activated carbon production from mimosa pigra L.
using sodium chloride and zing chloride activation.
KKU Engineering journal, 527-535.
Thongchat C. (2016). Synthesis activated carbon from
coffee residue by using microwave radiation.
Ladkrabang Engineering Journal,Vol 33, 36-41.
Laddawan A., Supattra I., and Sumrit M. 2008.
Production of activated carbon from sugarcane
leave. NU Science J, 210-220.
Nuchjira D, Onpailin S and Sirinuch C. 2015. Preparation
of Activated Carbon from Macadamia Shell by
Microwave Irradiation Activation. Energy Procedia 79,
727-732.
Somjai K. (2002). A Study of Activated Carbon
Production from Rice Huck. KKU Engineering Journal,
Vol.29, 87-100.
Varunee S, 1999. Regeneration of Spent Activated
Charcoal. For the Degree Master of Enginering
in Chemical Engineering, Chulalongkorn University,
Bangkok, Thailand. 126 pages.
Siriluk T, Thongchat C. 2516. Synthesis activated carbon from coffee residue by using microwave radiation. Ladkrabang Engineering Journal. Vol 33, 37-41.
Saragi M, Bhattachayya, S., Behera, R. C. (2009). Effect
of temperature on morphology and phase
transformation of nanocrystalline silica obtained
from rice husk. Phase transition 82(5), 377-386.