ผลของรูปแบบตะแกรงกะเทาะและความเร็วลูกกะเทาะที่มีผลต่อสมรรถนะของชุดกะเทาะถั่วดาวอินคาโดยใช้ลูกกะเทาะแบบแถบนวด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยการทำงานที่เหมาะสมของชุดกะเทาะถั่วดาวอินคาโดยใช้ลูกกะเทาะแบบแถบนวด ประเมินสมรรถนะการทำงานของชุดกะเทาะจากเปอร์เซ็นต์เมล็ดเต็ม เปอร์เซ็นต์เมล็ดแตกหัก เปอร์เซ็นต์เมล็ดไม่กะเทาะ และความสามารถในการทำงาน ศึกษารูปแบบตะแกรงกะเทาะ 3 รูปแบบ (ตะแกรงรูกลม ตะแกรงรูสี่เหลี่ยม และตะแกรงแถบเหล็ก) และความเร็วลูกกะเทาะ 3 ระดับ (130 165 และ 200 rpm) ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบตะแกรงกะเทาะ และความเร็วลูกกะเทาะ มีผลต่อเปอร์เซ็นต์เมล็ดเต็ม เปอร์เซ็นต์เมล็ดแตกหัก เปอร์เซ็นต์เมล็ดไม่กะเทาะ และความสามารถในการทำงาน โดยการใช้ตะแกรงกะเทาะรูกลม และความเร็วลูกกะเทาะในช่วง 130-165 rpm มีความเหมาะสมสำหรับการทำงานของชุดกะเทาะมากที่สุด ซึ่งได้เปอร์เซ็นต์เมล็ดเต็ม 83.55-89.27% เปอร์เซ็นต์เมล็ดแตกหัก 1.88-10.10% เปอร์เซ็นต์เมล็ดไม่กะเทาะ 6.35-8.85% และความสามารถในการทำงาน 73.41-74.45 kg h-1
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย
Thai Socities of Agricultural Engineering