PDF การเปรียบเทียบโรงเรือนแบบหลังคาฟันเลื่อยและแบบหลังคาสองชั้นที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพืชผัก

Main Article Content

วุฒิพล จันทร์สระคู

บทคัดย่อ

การผลิตพืชผักภายใต้สภาพโรงเรือนเป็นทางเลือกที่จำเป็นกับสภาพเงื่อนไขในสภาพอากาศปัจจุบัน และโรงเรือนที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีสองแบบคือ โรงเรือนแบบหลังคาฟันเลื่อยและแบบหลังคาสองชั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบโรงเรือนแบบหลังคาฟันเลื่อยและแบบหลังคาสองชั้นที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพืชผัก โดยโรงเรือนทั้งสองแบบมีโครงสร้างเป็นเหล็กอาบสังกะสีและเหล็กพ่นสีกันสนิม มีขนาด (กxยxส) 6x24x5 m แบบหลังคาโค้งมีช่องเปิดระบายอากาศด้านบนหลังคา มุงหลังคาด้วยพลาสติกความหนา 200 micron คลุมด้วยฟิล์มพลาสติกคัดกรองแสงที่มีสมบัติกรองรังสียูวี ด้านข้างติดตั้งมุ้งตาข่ายสีขาวขนาด 32 mesh โดยรอบ ภายในโรงเรือนติดตั้งอุปกรณ์และชุดควบคุมระบบให้น้ำแบบหยดและการให้น้ำแบบพ่นหมอก 4 ทาง ควบคุมการทำงานโดยการตั้งเวลาอัตโนมัติเพื่อช่วยลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศในช่วงเวลากลางวันและบันทึกสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงวันตามรอบการผลิตพืช โดยทดสอบกับมะเขือเทศเชอรี่ และผักคะน้าฮ่องกง ผลการทดลองพบว่า มะเขือเทศเชอรี่ที่ปลูกในโรงเรือนแบบหลังคาฟันเลื่อยมีแนวโน้มเจริญเติบโตทางด้านความสูงดีกว่าที่ปลูกในโรงเรือนแบบหลังคาสองชั้น แต่ในด้านผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของมะเขือเทศเชอรี่ที่ปลูกในโรงเรือนแบบหลังคาสองชั้นดีกว่าแบบหลังคาฟันเลื่อย สำหรับคะน้าฮ่องกงที่ปลูกอยู่ภายใต้โรงเรือนทั้งสองแบบพบว่า ความสูงและจำนวนใบเมื่อมีอายุ 7 วัน หลังปลูก และก่อนให้ปุ๋ยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ  ส่วนหลังจากให้ปุ๋ยติดต่อกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์พบว่า การเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้าฮ่องกงที่ปลูกในโรงเรือนหลังคาทั้งสองแบบไม่มีความแตกต่างทางสถิติ

Article Details

บท
Structures and buildings

References

ไกรเลิศ ทวีกุล, ศักดิ์ดา จงแก้วพัฒนา, เกษมศักดิ์ ทองเกตุ, บุญมี ศิริ, สุมีลา เตชะวงศ์เสถียร, จินตนา เอี่ยมลออ, ถาวร อ่อนประไพร, สาวิตร มีชัย, ปราโมทย์ สุกฤษนิรันท์ และพูนทรัพย์ สืบมา. 2548. โครงการศึกษาสถานภาพของการใช้โรงเรือนสำหรับผลิตพืชสวนในสภาพควบคุมเพื่อการค้าในประเทศไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.).
จริยา วิสิทธิ์พานิช, อิทธิสุนทร นันทกิจ, ดนัย บุญยเกียรติ, เยาวลักษณ์ จันทร์บาง, พัชรินทร์ ครุฑเมือง, ชูชาติ สันธทรัพย์, รัชดาวรรณ ชีวังกูร, อัญชัน ชมพูพวง, สุมาลี เม่นสิน และประนอม ใจอ้าย. 2560. คู่มือการผลิตผักคุณภาพและปลอดภัยในโรงเรือน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). กรุงเทพฯ; 270 หน้า.
ชูชาติ สันธทรัพย์. 2551. เทคโนโลยีการผลิตพืชในโรงเรือน. คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นจาก: http://e-service.agri.cmu.ac.th/download/publication/
3057_file.pdf
ASAE. 2002. Heating Ventilating and Cooling Greenhouse. ASAE STANDARD, ANS/ASAE EP406.3 MAR98. 703-710.
Chu,Y. and M.Huang. 1991. Floriculture under protective covers in Taiwan, pp.14-1 - 14-20. In International Seminar on cultivation under simple (Plastic/ Greenhouse) Constructions in The Tropics and Subtropics. Taiwan Agricultural Research Institue, Wufeng, Taichung, Taiwan. Nov. 5-6 1991.
Ismail, M.R. 1991. Plant microclimatic changes under rain shelter cultivation, pp. 3-1–3-15. In International Seminar on cultivation under simple (Plastic/ Greenhouse) Constructions in The Tropics and Subtropics. Taiwan Agricultural Research Institute,
Short, T. H. 1998. New Research in Natural Ventilation. http://floriculture.osu.edu/archive/jun98/natvent.html