การจัดลำดับความสำคัญของประตูระบายน้ำ กรณีศึกษาโครงการชลประทานปทุมธานี

Main Article Content

Pannipa Duangkert

บทคัดย่อ

การจัดลำดับความสำคัญของประตูระบายน้ำ กรณีศึกษาโครงการชลประทานปทุมธานี ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์และปัจจัยหลายด้านเพื่อวางแผนบริหารงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การจัดลำดับความสำคัญของเกณฑ์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (AHP) โดยพิจารณาเกณฑ์ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ได้พิจารณาเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญ ดังนี้ การประเมินเกณฑ์หลัก พบว่า ด้านวิศวกรรม มีความสำคัญมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 0.586 รองลงมาคือ ด้านสังคม มีค่าเท่ากับ 0.228 และด้านเศรษฐกิจ มีค่าเท่ากับ 0.186 ส่วนเกณฑ์การประเมินรอง ด้านพื้นที่ชุมชน มีความสำคัญมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 0.469 รองลงมาคือ มูลค่าความเสียหายต่อพื้นที่ชุมชน มีค่าเท่ากับ 0.427และอายุประตูระบายน้ำ มีค่าเท่ากับ 0.333 และเมื่อจัดลำดับความสำคัญของการบำรุงรักษาประตูระบายน้ำในพื้นที่โครงการชลประทานปทุมธานี จำนวน 38 โครงการ โดยประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (AHP) พบว่า โครงการประตูระบายน้ำคลองบางหลวงเชียงราก มีลำดับความสำคัญในการซ่อมบำรุงรักษามากที่สุด มีค่าเท่ากับ 0.614 รองลงมา คือ ประตูระบายน้ำคลองบ้านพร้าว มีค่าเท่ากับ 0.546 และประตูระบายน้ำคลองวัดดอกไม้ มีค่าเท่ากับ 0.385 จากผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนงานการบำรุงรักษาประตูระบายน้ำในพื้นที่โครงการจังหวัดปทุมธานีให้สอดคล้องกับข้อจำกัดในการจัดสรรงบประมาณประจำปีเพื่อตอบสนองความต้องการในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เหมาะสมและยั่งยืน

Article Details

บท
Soil and water engineering