การประเมินประสิทธิภาพเครื่องเจาะและผ่าผลมะม่วงหาวมะนาวโห Evaluation of the Efficiency of the Prototype of the Karanda Punching and Splitting Machine

Main Article Content

Kanokpol Sakchainun
Teerapong Pholpo

บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการออกแบบ สร้างและประเมินประสิทธิภาพเครื่องเจาะและผ่าผลมะม่วงหาวมะนาวโห่ โดยตัวเครื่องเจาะและผ่าผลมะม่วงหาวมะนาวโห่ ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ 1.โครงเครื่อง 2.ชุดแท่นกด และ 3.ชุดหัวกดกลไกการทำงานประกอบไปด้วย หัวกด ชุดใบมีด ที่ดันเมล็ด และเบ่ารองรับผล มีหลักการทำงานของเครื่องโดยการนำ ผลมะม่วงหาวมะนาวโห่มาวางบนเบ่าในแนวตั้งและใช้แรงกดจากคันโยก ทำให้หัวกดสามารถเจาะเพื่อนำเมล็ดออกและทำการผ่าครึ่งเวลาเดียวกัน ซึ่งทำการเปรียบเทียบการผ่าและนำเมล็ดออก โดยการทำงานของเครื่องเจาะและผ่าผลมะม่วงหาวมะนาวโห่จำนวน 30 ครั้ง และการทำงานของคนจำนวน 30 ครั้ง จากนั้นทำการจับเวลา แล้วนำผลฯมาชั่งน้ำหนัก จากผลการทดลอง พบว่า เครื่องฯ มีความสามารถในการทำงานเฉลี่ย 1.08 kg hr-1 มีประสิทธิภาพในการทำงานเฉลี่ย 60.29% ในการผ่าและคว้านเมล็ดโดยใช้แรงงานคน มีความสามารถในการผลิตเฉลี่ย 0.57 kg hr-1 และมีประสิทธิภาพในการผลิตเฉลี่ย 86.58% จะเห็นว่าความสามารถในการผลิตเฉลี่ยของเครื่องเจาะและผ่าผลมะม่วงหาวมะนาวโห่ เมื่อเทียบกับการใช้แรงงานคนเพิ่มขึ้น 0.51 kg hr-1 ขณะที่ประสิทธิภาพในการผลิตเฉลี่ยจากการใช้เครื่องฯ เมื่อเทียบกับการใช้แรงงานคนลดลง 26.29% ผลจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์พบว่าเครื่องเจาะและผ่าผลมะม่วงหาวมะนาวโห่มีจุดคุ้มทุนเท่ากับ 47.95 kg และสามารถคืนทุนได้ในเวลา 6 วัน
       


 


The purpose of this project is design, fabrication and efficiency evaluation of the karanda punching and splitting machine by using engineering knowledge to prepare karanda before being processed into other products by the machine consists of 3 important parts are frame, drill stand and indenter set which consists of the indenter, blade set, seed pusher and socket. The operation principle is to place karanda in the socket to support the fruit vertically. And there is pressure from the lever, this allows the indenter to punching to remove seeds and splitting with the blade at the same time. The test was conducted by timing of splitting and removing the seeds within   1 hour of 60 times which were divided into tests by splitting and removing the seeds by human labor 30 times and using the karanda punching and splitting machine 30 times. The karanda were weighed on a digital scale to measure the amount of fruit. The results showed that the karanda punching and splitting machine has an average production capability of 1.08 kilogram per hour and an average production efficiency was 60.29%. Splitting and removing the seeds by human labor has an average production capability of 0.57 kilogram per hour. The average production efficiency was 86.58%. It shows that the average production capability from the karanda punching and splitting machine compared with the human labor, was increased by 0.51 kilogram per hour and the average production efficiency from the karanda punching and splitting machine compared with the human labor, was decreased by 26.29 percent. The results of economic analysis showed the karanda punching and splitting machine has a break-even point at productivity by 47.95 kilogram and can pay back in 6 days when using the machine to work 8 hours a day.

Article Details

บท
Power and machinery

References

จุฑามาส สื่อประสาร, ทานตะวัน พิรักษ์, ศิริพร เรียบร้อย.2556. การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสกัดสารแอนโทไซยานินจากผลหนามแดง. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51: สาขาส่งเสริมการเกษตรและคหกรรมศาสตร์, สาขาอุตสาหกรรมเกษตร. 193-200.กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 5-7 ก.พ. 2556,กรุงเทพฯ.

สกุลกานต์ สิมลา. 2559. มะนาวโห่: พืชในวรรณคดีไทยที่มากมายด้วยประโยชน์. แก่นเกษตร 44(ฉบับพิเศษ 3), 557-566.

MGR Online. 2557. มาแรงจริง “มะม่วงหาว มะนาวโห่”มหัศจรรย์สมุนไพรแบบไม้ประดับ (มุมเกษตร). แหล่งข้อมูล: https://mgronline.com/smes/detail/9570000096581.เข้าถึงเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566