การวิจัยและพัฒนารถขุดเก็บและปลิดฝักถั่วลิสง Research and Development of a Peanut Combined Harvester

Main Article Content

Akkapaprp Panpoom
Wichai Opanukul
Weang Arekornchee
Wuttiphol Chansrakool
Sarawuth Parnthon
Tanapong Sanchum
Arnon Saicomfu
Pongrawee Namwong
Wanthanah Somnuk
Pirom Tawpea
Chalermpon Sangraynoo

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนารถขุดเก็บและปลิดถั่วลิสงสำหรับเก็บเกี่ยวถั่วลิสงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เพื่อทดแทนแรงงานและลดต้นทุนในการปลูกถั่วในแปลงขนาดใหญ่ ดำเนินการสร้างอุปกรณ์ให้สามารถทำงานในกระบวนการขุด หนีบ
เก็บต้นถั่ว ปลิดฝัก และทำความสะอาดฝักถั่ว ดำเนินการทดสอบขุดและปลิดถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 6 อายุเก็บเกี่ยว 131 วัน ความชื้น
ต้นถั่ว 39% w.b ความชื้นฝักถั่ว 25% w.b. ความชื้นดิน 72% w.b. (ที่ความลึก 30 cm) โดยใช้ความเร็วรถที่ 2.46 m s-1 ความเร็ว
เชิงเส้นของโซ่หนีบที่ 10 m s-1 ความเร็วเชิงเส้นของชุดปลิด 3.75 m s-1 พบว่าอุปกรณ์มีความสามารถเชิงพื้นที่ในการขุดและปลิดฝักที่
0.77 Rai hr-1 ความสามารถเชิงวัสดุในการขุดที่ 221 kg hr-1 ประสิทธิภาพเชิงพื้นที่ 87% ประสิทธิภาพการปลิด 88.26%
ประสิทธิภาพชุดทำความสะอาด 82.77% มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันที่ 0.36 Litre hr-1 ผลการวิเคราะห์คุณภาพหลังการปลิด ได้ฝัก
สมบูรณ์ 67.6% ฝักแตก 1.7% ติดขั้ว 9.4% และเมล็ดลีบเน่า 21.3%


 


The objective of this research was to develop for peanut harvesting in the Northeastern region. To replace labor and reduce the cost of planting beans in large area. Building equipment process of digging, collecting, removing pods and cleaning the pods in one machine. Testing and evaluation of machinery with Khon Kaen Peanuts 6, the harvest age 131 days, plant moisture 39% (wb), pod moisture 25% (wb), soil moisture 72% (wb)  (at a depth of 30 cm) using a vehicle speed of 8.86 m s-1 linear velocity of Chain clamping at 10 m s-1 Linear velocity of the closing unit 3.75 m s-1 The field capacity of machine is 0.77 rai/hr-1, tillage capacity is 221 Kg hr- 1, tillage efficiency 87%, shedding efficiency 88.26%, cleaning set efficiency 82.77%, oil consumption rate of 0.36 Liter hr-1, good pods 67.6% 1.7% broken pods, 9.4% pole attached, and 21.3% rotted seeds.

Article Details

บท
Power and machinery

References

วรยุทธ ศิริชุมพันธ์. 2559. วิจัยและพัฒนาถั่วลิสง. รายงานชุดโครงการวิจัย. กรมวิชาการเกษตร.

วินิต ชินสุวรรณ. 2545. พัฒนาเครื่องขุด ปลิด และกะเทาะถั่วลิสงเมล็ดโตสาหรับการผลิตรายย่อย.

สำนักงานส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. 2545. สถานการณ์การผลิตพืช 2564/65.แหล่งข้อมูล: http://www.agriman.doae.go.th/home/news/of%20newsyear%202564.html. เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566.

Padmanathan, P.K., Kathirvel, K., Manian, R., Duraisamy,V.M. 2006. Design, development, and evaluation of tractor operated ground nut combine harvester.Journal of Applied Sciences Research 12(2), 1338-1341.

Yun Chuan. 2019. Peanut Harvester Machinery Model 601 Peanut Harvesting Machine. Available at: http://www.yc-ph.com/portfolio/other- models. Accessed on 20 May 2023