การเปรียบเทียบวัสดุประสานรอยต่อผ้าใบคอนกรีตเพื่อลดการรั่วซึมในการดาดสระเก็บน้ํา Comparison of Joint Bonding Materials of Concrete Fabric to Reduce Seepage of Ponds Lining

Main Article Content

สิขพัฒน์ สุขกันตะ
สมชาย ดอนเจดีย
เกศวรา สิทธิโชค

บทคัดย่อ

การศึกษาวัสดุประสานรอยต่อผ้าใบคอนกรีตเพื่อลดการรั่วซึมมีความจําเป็นอย่างมากต่อการนําผ้าใบคอนกรีตไปใช้เพื่อดาดบ่อเก็บน้ำ งานการวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพของวัสดุที่นํามาใช้ประสานรอยต่อแผ่นผ้าใบคอนกรีต โดยเลือกวัสดุประสานที่สามารถหาได้ทั่วไปทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ ผงปูนซีเมนต์ ซีเมนต์เพส มอตาร์ และปูนกาวโดยนําวัสดุประสานแต่ละชนิดมาทดสอบ พบว่าการรั่วซึมจากบ่อผ้าใบที่ใช้ซีเมนต์เพส มอตาร์ ผงปูนซีเมนต์ และปูนกาวเท่ากับ 0.30 0.14 0.19 และ 0.02 L hr-1 m-1ตามลําดับแล้วนําวัสดุประสาน 2 ชนิด ได้แก่ ผงปูนซีเมนต์และปูนกาว เนื่องจากเป็นวัสดุประสาน 2 ชนิดที่ให้ผลการรั่วซึมสูงที่สุดและต่ำที่สุดมาใช้ทดลองในบ่อเก็บน้ำจริง อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการลดอัตราการรั่วซึมของรอยต่อจะลดลงเมื่อถูกความร้อนจากแสงแดดโดยการรั่วซึมจากบ่อผ้าใบที่ใช้ซีเมนต์เพส มอตาร์ ผงปูนซีเมนต์และปูนกาวเพิ่มเป็น 4.88 4.81 6.63 และ 0.92 L hr-1 m-1ตามลําดับ ผลงานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าการเชื่อมต่อผ้าใบด้วยผงซีเมนต์ และปูนกาวใช้ดาดสระเก็บน้ำจริงมีประสิทธิภาพสูงโดยสามารถลดการรั่วซึมของน้ําในบ่อดินจาก 160 mm day-1เป็น 19.0 และ 2.6 mm day-1สําหรับ ตามลําดับคําสําคัญ: ผ้าใบคอนกรีต, บ่อเก็บน้ํา, การลดการรั่วซึม


The objective of this research is to investigate the use of concreate fabric for paving a pond. This work started with The leakage at the joint of concreate fabric was then tested using different merge materials. Experiments were then conducted with a pond and 4 materials for  merge joint of concreate fabric are cement powder, cement plate, mortar and cement tile adhesive and found that cement plate, mortar, cement powder and cement tile adhesive showed the lowest leakage rate at 0.3,0.14,0.19 and 0.02 l/h/m However, after The joint of concreate fabric heated by the sun The leakage at the joint of concreate fabric was higher leakage rate. This research found the use of concreate fabric for paving a pond have high efficiency for reduce leakage rate in earth pond from 160.0 mm/day to 19.0 and 2.6 mm/day for merge joint of concreate fabric by cement powder and cement tile adhesive.

Article Details

บท
Soil and water engineering

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2561. โครงการแหล่งน้ําในไร่นา นอกเขตชลประทาน.

โกวิทย์ ทศศิริ. 2544. สมบัติการไหลซึมของของไหลที่มีสารปนเปื้อนผ่านวัสดุผสมระหว่างทรายกับเบนโทไนต์บดอัด. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัชชัย พีรกมล. 2545. การประยุกต์ใช้ดินซีเมนต์เพื่อการดาดคูส่งน้ําชลประทาน. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชัยยะ พึ่งโพธิ์สภ. 2563. การบริหารจัดการน้ําครบวัฏจักรอย่างยั่งยืนพื้นที่ลุ่มน้ําป่าสัก. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ต้อง พันธ์งาม, ณภัทร น้อยน้ําใส, นิรันดร์ คงฤทธิ์. 2564. การวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่สําหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําอย่างยั่งยืนเขตลุ่มน้ําลําเชียงไกรตอนล่างด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. วารสารวิจยวิชาการ 4(2), 74-84.

สมชาย ดอนเจดีย์, สหัสชัย ปริวัตรพันธ์, นิมิตร เฉิดฉันท์ พิพัฒน์. 2563. การลดค่าความนําชลศาสตร์ของดินทรายที่มีขนาดคละไม่ดีด้วยเบนโทไนท์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 15(1), 108-119.

สมชาย ดอนเจดีย์, อาบีดีน จิเหลา, นิธิรัชต์ สงวนเดือน, นันทวัฒน์ ขมหวาน, จิระกานต์ ศิริวิชญ์ไมตรี, นิมิตร เฉิดฉันท์ พิพัฒน์. 2561. การประยุกต์ใช้ผ้าใบคอนกรีตในงานสระเก็บน้ําทางการเกษตร. การประชุมวิชาการคอนกรีตแห่งชาติ ประจําปี ครั้งที่ 13 ประจําปี 2561. พัทยา, ชลบุรี.

สมชาย ดอนเจดีย์. 2560. การศึกษาและวิจัยเพื่อนําผ้าใบคอนกรีตไปประยุกต์ใช้กับสระเก็บน้ํา. ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน.

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2551. โครงการขุดสระน้ําในไร่นานอกเขตชลประทาน ปี พ.ศ. 2548-2550. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. สถิติการเกษตรของ ประเทศไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Bouwer, H., J. Ludke, R. C. Rice. 20 01. Sealing pond bottom with muddy water. Ecological Engineering 18, 233-238.

Crawford, W. 20 08. Concrete cloth - Flexible fibrous cement. Concrete (London) 42, 15-16.

Shahid, A., M. Aslam, M. Shafiq. 19 96. Reducing water seepage from earthen ponds. Agricultural Water Management 30, 69-76.