การออกแบบและสร้างเครื่องหยอดเมล็ดแบบอัตโนมัติด้วยลูกกลิ้งหัวหยอด Study on an automatic roller-type equipment for seed drilling into seedling trays

Main Article Content

Autchara Junphong
Arthidtaya Kawetsukul
Natthaphong Thonin
Jeeraphat Panyuen
Natthapong Bamrung
Niwatpong Kamsanit
Jakkarin Thinnakorn

บทคัดย่อ

จากการออกแบบและสร้างเครื่องหยอดเมล็ดอัตโนมัติ ประกอบไปด้วยชุดปล่อยดิน ชุดเจาะดิน และลูกกลิ้งหัวหยอดเมล็ดด้วยระบบสุญญากาศ โดยใช้ระบบควบคุมโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์เป็นชุดคำสั่งการทำงานของเครื่องโดยเลือกใช้เมล็ดกรีนโอ๊คชนิดเคลือบเป็นกรณีศึกษา โดยทำการศึกษาแรงดันสุญญากาศ 5 10 และ 15 inHg พบว่า ระดับแรงดันสุญญากาศที่ 5 inHg จำนวนเมล็ดที่ตกลงไป จะอยู่ในช่วง 0-3 เมล็ด คิดเป็นร้อยละ 80 ระดับแรงดันสุญญากาศที่ 10 inHg จำนวนเมล็ดที่ตกลงไปจะอยู่ในช่วง 3-5 เมล็ด คิดเป็นร้อยละ 98 ระดับแรงดันสุญญากาศที่ 15 inHg จำนวนเมล็ดที่ตกลงไป จะอยู่ในช่วง 3-5 เมล็ด คิดเป็นร้อยละ 96 ดังนั้นระดับแรงดันสุญญากาศที่ 10 inHg เหมาะสมที่สุดที่สามารถสร้างความแม่นยำได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับระดับอื่น ซึ่งในส่วนของการทำงานของเครื่องหยอดเมล็ดแบบอัตโนมัติสามารถมีกำลังการผลิตเมื่อเทียบกับแรงงานคนคิดเป็นร้อยละ 260 และใช้เวลาในการทำงาน 20 วินาทีต่อถาด


Designing and building an automatic sowing machine It consists of a soil release set, a soil drill set and a vacuum-operated sowing roller. The programmable logic controller was programmed as a set of operating instructions for the machine, using coated green oak kernels as a case study. The vacuum pressures of 5, 10 and 15 inHg were studied. It was found that at a vacuum pressure level of 5 inHg, the number of dropped seeds was in the range of 0 to 3 seeds, representing 80 percent, and a vacuum pressure of 10 inHg, the number of dropped seeds was in the range of 3-5 seeds, representing 98 percent and at a vacuum pressure level of 15 inHg, the number of seeds dropped is in the range of 3-5 grains, representing 96 percent. Therefore, a vacuum pressure level of 10 inHg is optimal to achieve the best accuracy compared to other levels. In terms of operating an automated sowing machine, it can produce 260 percent of the productivity compared to a manual worker and take 20 seconds to run per tray.


Keywords: Automatic sowing machine, vacuum pressure, head roller

Article Details

บท
Agricultural systems

References

ธีรพงศ์ ผลโพธิ์, กฤษณ์ ผลโพธิ์. 2556. การพัฒนาเครื่องหยอด เมล็ดลงถามเพาะกล้า. ประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 14 ประจําปี 2556, 229-234. สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย. 1-4 เมษายน 2556, ประจวบคีรีขันธ์.

เกรียงไกร แซมสีม่วง, เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์. 2557. การพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ผักคะน้าในถาดเพาะกล้าสําหรับการเพาะกล้า. วารสารวิชาการเกษตร 32(2), 178- 187.

ศรนรินทร์ ทูนไทสง, ศรัณยู บุญประสิทธิ์, โอฬาร ลัดดางาม. 2553. การออกแบบและสร้างเครื่องหยอดเมล็ดพืชลงถาด เพาะกล้า. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.

จรัสชัย เย็นพยับ. 2562. การศึกษาความแม่นยําในการหยอดของเครื่องย้ายเมล็ดลงถาดเพาะกล้า. วารสารแก่นเกษตร 47(1), 501–506.

ตะวันฉาย ตุงคะนาคร. 2560. ผลของมุมฮอปเปอร์รูปลิ่มต่อการติดขัดของวัสดุเม็ด 2 มิติภายใต้การสั่นแนวดิ่ง. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อนันต์ บุญมี, วชิระ เกตุเพชร, วัชระ พันธ์ทอง, เรณู อินปัญญา, นุชรัฐ บาลลา. 2559. การพัฒนาการผลิตต้นกล้าลิเซียนทัสต้นใหญ่เพื่อการส่งเสริมเกษตรกรโครงการหลวง. มูลนิธิ โครงการหลวง.