การศึกษาความสามารถในการลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ของโรงเรือนเพาะปลูกที่ใช้ระบบการทำความเย็นแบบแผ่นระเหยน้ำ A study of the ability to reduce the temperature and increase the relative humidity of a greenhouse using an evaporative cooling pad system

Main Article Content

Watsapon Junpayap
Tawarat Treeamnuk
Krawee Treeamnuk

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบความสามารถในการลดอุณหภูมิ และเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในโรงเรือนเพาะปลูกที่ติดตั้งระบบทำความเย็นแบบแผ่นระเหยน้ำ โดยการเก็บข้อมูลอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนเพาะปลูกที่ใช้ระบบทำความเย็นแบบแผ่นระเหยน้ำ (EC) และระบบระบายอากาศด้วยพัดลม (NEC) ด้วยเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น. เป็นเวลา 4 วัน แบ่งเป็นระบบ EC 2 วัน และระบบ NEC 2 วัน ผลการทดสอบ พบว่าระบบ EC สามารถลดอุณหภูมิเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 5-8ᣞC ในวันที่สภาพอากาศค่อนข้างเย็น โรงเรือนมีอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนเฉลี่ยต่อวันที่ 18ᣞC และ 78% ตามลำดับ ส่วนในวันที่สภาพอากาศค่อนข้างร้อน โรงเรือนมีอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนเฉลี่ยต่อวันที่ 28ᣞC และ 85% ตามลำดับ ส่วนระบบ NEC สามารถลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนได้เล็กน้อยแต่ไม่สามารถเพิ่มความชื้นให้กับอากาศได้ จะเห็นได้ว่าโรงเรือนที่ติดตั้งระบบทำความเย็นแบบแผ่นระเหยน้ำ สามารถลดอุณหภูมิในโรงเรือนให้เหมาะสมแก่การปลูกพืชที่ต้องการอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 15-30ᣞC แต่ในส่วนของความชื้นสัมพัทธ์นั้นยังมีค่าเฉลี่ยสูงเกินกว่าที่พืชต้องการ ดังนั้นโรงเรือนเพาะปลูกนี้หากต้องการใช้เพาะปลูกพืชจะต้องทำการพัฒนาระบบให้สามารถควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชต่อไป


 


             The purpose of this research was to test the ability to reduce the temperature and increase the relative humidity in a greenhouse equipped with an evaporative cooling pad system. By collecting the temperature and relative humidity inside the greenhouse using the evaporative cooling system (EC) and the fan ventilation system or the Non-evaporative cooling pad system (NEC) with temperature and humidity sensors from 8:00 a.m. to 5:00 p.m. 4 days, divided into 2-day EC system and 2-day NEC system. The test results show that the EC system can reduce the average daily temperature to 5-8 ᣞC on a relatively cool day. The mean house temperature and relative humidity were 18 ᣞC and 78 %, respectively. The average daily house temperature and relative humidity were 28 ᣞC and 85 %, respectively. It can be seen that houses equipped with evaporative cooling systems can control the temperature suitable for growing plants that require temperatures in the range of 15-30 ᣞC, but the relative humidity is still above average for plants need. Therefore, this greenhouse, if wanting to grow plants, will have to develop a system to control the relative humidity to suit the needs of plants in the future.

Article Details

บท
Energy and environment

References

นิติรงค์ พงษ์พานิช, วัชรพล ชยประเสริฐ, ภัทราพร สัญชาตเจตน์, อิทธิเดช มูลมั่งมี, กฤษฏา แสงเพ็ชร์ส่อง. 2558. การพัฒนา และทดสอบระบบควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนแบบ Evaporative cooling. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2558 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8, 361-365. 17-19 มีนาคม 2558, บางนา, กรุงเทพมหานคร

ภานุวิชญ์ พุทธรักษา, ปรีดา นาเทเวศน์, สุลักษณา มงคล. 2560. ศักยภาพการทำความเย็นแบบระเหยในโรงเรือนปลูกสตรอเบอรี่เขตร้อน. การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทยครั้งที่ 13, 56-64. 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2560, เมืองเชียงใหม่, เชียงใหม

Amani, M., Foroushani, S., Sultan, M., Bahrami, M. 2020. Comprehensive review on dehumidification strategies for agricultural greenhouse applications. Applied Thermal Engineering 181, 115979.

Aljubury, I. M. A., Ridha, H. D. 2017. Enhancement of evaporative cooling system in a greenhouse using geothermal energy. Renewable Energy 111, 321-331.

ASHRAE, 2008. ASHRAE Handbook - Heating, Ventilating, and Air-Conditioning Systems and Equipment American Society of Heating, Refrigerating and AirConditioning Engineers, Inc., 2008.

FAO. 2013. Good Agricultural Practices for greenhouse vegetable crops. Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome.

Mehmet, A., Silleli, D. 2015. Performance analysis of a greenhouse fan-pad cooling system: Gradients of horizontal temperature and relative humidity. Tarım Bilimleri Dergisi 21(1), 132-143.

Stull, R. 2011. Wet-Bulb Temperature from Relative Humidity and Air Temperature. Journal of Applied Meteorology and Climatology 50(11), 2267-2269.

Sultan, M., Miyazaki, T., Saha, B. B., Koyama, S. 2016. Steady-state investigation of water vapor adsorption for thermally driven adsorption based greenhouse air-conditioning system. Renewable Energy 86, 785- 795.

Tsafaras, I., Campen, J. B., Stanghellini, C., de Zwart, H. F., Voogt, W., Scheffers, K., Harbi, A. A., & Assaf, K. A. 2021. Intelligent greenhouse design decreases water use for evaporative cooling in arid regions. Agricultural Water Management, 250.

Xu, J., Li, Y., Wang, R. Z., Liu, W., Zhou, P. 2015. Experimental performance of evaporative cooling pad systems in greenhouses in humid subtropical climates. Applied Energy 138, 291-301.