การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพของโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังในอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา Feasibility Study of Biogas Power Generator Project of Cassava Processing Plant in Khonburi District, Nakhon Ratchasima Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพของโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังแห่งหนึ่งในอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา โดยมีน้ำเสียมาจากกระบวนมาผลิตแล้วนำมาผ่านกระบวนการผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ จากนั้นนำก๊าซชีวภาพที่ได้มาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยผลการศึกษาข้อมูลปริมาณก๊าซชีวภาพของโรงผลิตแป้งมันสำปะหลังขนาด 200 tons of starch day-1 มีน้ำเสียจากกระบวนการผลิต 2,000 m3 day-1 ผลิตก๊าซชีวภาพได้ 16,800 m3 day-1 สามารถผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ 28,848 kWh day-1 กำหนดอายุโครงการที่ 20 years ที่ต้นทุนเงินทุนอยู่ที่ 6% เงินลงทุนโครงการ 64,535,500.00 Baht ผลการศึกษา พบว่า ในกรณีพื้นฐาน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 148,722,796.07 Baht อัตราผลตอบแทนภายในโครงการเท่ากับ 27.35% และระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 3.76 years ซึ่งผลการวิเคราะห์กรณีพื้นฐานมีความคุ้มค่าในการลงทุน และเนื่องจากมันสำปะหลังมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามฤดูกาลทำให้การเดินเครื่องจักรในการผลิตไม่ได้มีตลอดทั้งปีแม้ในปัจจุบันมีการเก็บผลผลิตนอกฤดูกาลบ้างก็ยังมีปริมาณไม่มากนัก นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการแบ่งเป็น 3 กรณี ได้แก่ กรณีที่ 1 การเดินเครื่อง 75% year-1 กรณีที่ 2 การเดินเครื่อง 50% year-1 และกรณีที่ 3 การเดินเครื่อง 25% year-1 ซึ่งผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการทั้ง 3 กรณี พบว่ากรณีที่ 1 มีความน่าสนใจในการลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือกรณีที่ 2 ส่วนกรณีที่ 3 การเดินเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า 25% ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนเพราะมูลค่าปัจจุบันสุทธิติดลบและไม่สามารถประเมินค่าได้ผลตอบแทนโครงการได้
The objective of this research was to conduct a feasibility study for a biogas power generation project at a cassava processing plant in Khonburi District, Nakhon Ratchasima Province. The study involved processing wastewater from the cassava processing into biogas, which was then used as fuel for electric power generators to produce electricity. The cassava starch plant, with a daily capacity of 200 tons of starch, generates 2,000 m3 day-1 of wastewater. This wastewater can be processed to produce 16,800 m3 of biogas day-1 and generate 28,848 kWh day-1 of electricity. The project’s lifespan is set at 20 years with a capital cost of 64,535,500 Baht and a cost of capital of 6%.
The results showed that in the fundamental case analysis, the net present value was calculated at 148,722,796.07 Baht, the rate of return within the project is 27.35%, and the payback period is 3.76 years. These results indicate that the fundamental case analysis supports the feasibility and worthiness of the investment. Given
that cassava harvesting is seasonal and the production machinery is not available year-round, the sensitivity analysis considered three cases: case 1 with 75% operation year-1, case 2 with 50% operation year-1, and case 3 with 25% operation year-1. The sensitivity analysis revealed that case 1 is the most attractive investment, followed by case 2. However, case 3, with only 25% of the machinery in operation, is not considered a worthwhile investment due
to a negative net present value, and the project's return cannot be assessed.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย
Thai Socities of Agricultural Engineering
References
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2556. เอกสารเผยแพร่คู่มือการลงทุนโรง้ชีวภาพจากพืชพลังงาน.
ธัชกร ผลพันธิน, วลัยรัตน์ อุตตมะปรากรม, ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ. 2557. การศึกษาศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียภาคอุตสาหกรรม. วารสารวิจัยพลังงาน 11(1), 50-62.
พิศาล สมบัติวงค์, ธนกฤต นนท์ชนะ, ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์, กุลเชษฐ์ เพียรทอง, คณิต วัฒนวิเชียร. 2557. ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในใช้ก๊าซชีวมวล กรณีศึกษาการติดตั้งและทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าขนาด 75 kW. รายงานการประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28, 123-130. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.15-17 ตุลาคม 2557, ขอนแก่น.
ลัดดาวรรณ พลหงษ์. 2563. การใช้ประโยชน์ของเสีย กรณีศึกษาโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังในจังหวัดมุกดาหาร. การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. อุบลราชธานี: คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
วรพจน์ คำจันลา, รัชพล สันติวรากร. 2555. รายงานการวิจัยเรื่องการผลิตก๊าซชีวภาพจากกากตะกอนบ่อพักน้ำเสียจากกระบวนการผลิตแป้งมัน. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อภิศักดิ์ อุ่มจันสา. 2549. การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรdมหาบัณฑิต.เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.