การปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพด้วยกระบวนการดูดซับสลับความดัน

Main Article Content

Papas Chanaroke

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในงานวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการเพิ่มศักยภาพในการนำก๊าซชีวภาพมาใช้ทดแทนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติสำหรับ รถยนต์ โดยทั่วไปเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในรถยนต์จะต้องเป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพสูง มีสัดส่วนของก๊าซมีเทนมากกว่าร้อยละ 65 และมีค่าดัชนีวอบบี 37-42 MJ.m-3 ตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน เมื่อพิจารณาคุณสมบัติของก๊าซชีวภาพ มีก๊าซมีเทนเป็น องค์ประกอบร้อยละ 60-70 แต่มีค่าดัชนีวอบบี 27 MJ.m-3 จำเป็นต้องทำการปรับปรุงคุณภาพให้มีสัดส่วนของก๊าซมีเทนเพิ่มมากขึ้น โดยการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) การปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ใช้วิธีการดูดซับแบบสลับความดัน โดยทำการศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อกระบวนการปรับปรุงคุณภาพก๊าซ เช่น อุณหภูมิ ความดัน กับระยะเวลาในการดูดซับของตัวดูดซับ 2 ชนิด คือ ผลึกคัดโมเลกุล และถ่านกัมมันต์ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเพิ่มความดันและลดอุณหภูมิให้กับระบบจะทำให้อัตราการดูดซับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มขึ้นทั้ง 2 ชนิดของตัวดูดซับ อย่างไรก็ตามความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของผลึกคัด โมเลกุลจะดีกว่าถ่านกัมมันต์ ทั้งนี้ก๊าซชีวภาพที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพโดยใช้วิธีการดูดซับสลับความดัน สามารถเพิ่มสัดส่วนก๊าซ มีเทน ให้มีค่าร้อยละ 96 โดยปริมาตร ค่าดัชนีวอบบีสูงขึ้นเป็น 44 MJ.m-3 สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซธรรมชาติได้

Article Details

บท
Energy and environment

References

กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2552). ประกาศกรม

ธุรกิจพลังงาน เรื่องกำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซ

ธรรมชาติสำหรับยานยนต์ พ.ศ. 2552. [ออนไลน์]

http://elaw.doeb.go.th/doeb.

เดชา ฉัตรศิริเวช. (2552). กระบวนการดูดซับ. สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นคร ทิพยาวงศ์. (2553). เทคโนโลยีการแปลงสภาพชีวมวล.

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2554).

[ออนไลน์] http//www.energy.go.th.

Guo, B., Chang, L. and Xie, K. (2006). Adsorption of Carbon

Dioxide on Activated Carbon. Journal of Natural Gas

Chemistry: 223-229.

Jarvis, Å. (2004). Biogas–renewable energy from organic

waste, The Swedish Biogas Association, Stockholm.

Khoo, H.H. and Tan, R.B.H. (2006). Life cycle investigation

of CO2 recovery and sequestration. Environ. Sci.

Technol. 40, 4016–4024.

Nozic, M. (2006). Remoal of carbon dioxide from

biogas. Department of Chemical Engineering., Lund

University.