ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะการสุกของมะม่วงน้ําดอกไม้หลังการเก็บเกี่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางกายภาพ, ทางกล และทางเคมีกับระยะการสุกของมะม่วง น้ําดอกไม้หลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัยและการวิเคราะห์จําแนกกลุ่ม ปัจจัยที่ทําการศึกษาประกอบด้วยค่าความ แน่นเนื้อวัดทั้งเปลือกและเฉพาะเนื้อ, ค่าสีของเปลือกและเนื้อ, ค่าปริมาณของแข็งที่ละลาย (Total soluble solids content, TSS), ความถ่วงจําเพาะ, ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (Titratable acidity, TA) และอัตราส่วนของแข็งที่ละลายได้ต่อปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TSS/TA) ผลจากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะการสุกประกอบด้วยค่าสี a* และ b* ทั้งเปลือกและเนื้อผลมะม่วง, ปริมาณของแข็งที่ละลายได้, ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้, ค่าความแน่นเนื้อทั้งเปลือกและเฉพาะเนื้อ และ ค่า TSS/TA ส่วนค่าความ ถ่วงจําเพาะและค่าสี L* ของทั้งเปลือกและเนื้อผลไม่มีแนวโน้มที่เด่นชัด เมื่อทําการจําแนกระยะการสุกของมะม่วงน้ําดอกไม้ พบว่าการ ใช้ตัวแปรความแน่นเนื้อวัดทั้งเปลือกร่วมกับค่า TSS/TA สามารถจําแนกระยะการสุกออกเป็น 3 กลุ่มคือ ระยะดิบ, ระยะสุก และ ระยะสุกเกิน ได้ถูกต้อง 91.7%
Article Details
How to Cite
บท
Post-harvest and food engineering
สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย
Thai Socities of Agricultural Engineering