การศึกษาศักยภาพของฟางข้าวในการกำจัดโซเดียมคลอไรด์ในน้ำเสียสังเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปนเปื้อนของน้ำเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปนเปื้อนของสาละลายเกลือลงสู่สิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้วัสดุดูดซับชีวภาพจากฟางข้าวในการกำจัด NaCl ออกจากสารละลาย และหาศักยภาพการกำจัด NaCl และหาสัดส่วนเถ้าโดยใช้ฟางข้าวที่ไม่ผ่านการปรับสภาพและฟางข้าวที่ผ่านการปรับสภาพด้วย NaOH ที่ความเข้มข้นของสารละลาย 20 และ 35g/l ทำการศึกษาอุณหภูมิสารละลายแตกต่างกัน 3 ระดับได้แก่ ที่อุณหภูมิห้อง, ที่อุณหภูมิคงที่ 90°C และ ที่อุณหภูมิลดลงจาก 90°Cสัดส่วนวัสดุดูดซับต่อปริมาตรของสารละลาย 0.01, 0.03 และ 0.05 g/ml และที่ระยะเวลาในการดูดซับตั้งแต่ 0 ถึง 150 min จากการทดลองพบว่าศักยภาพการกำจัดเกลือของฟางข้าวที่ผ่านการปรับสภาพด้วย NaOH ดีกว่าฟางข้าวที่ไม่ได้ผ่านการปรับสภาพ และที่สภาวะอุณหภูมิคงที่ 90°C มีศักยภาพในการกำจัด NaCl ได้ดีที่สุด รองลงมาคือ ที่สภาวะอุณหภูมิลดลงจาก 90°C และที่ อุณหภูมิห้องมีศักยภาพการกำจัด NaCl ต่ำที่สุด การกำจัด NaCl ด้วยอุณหภูมิสารละลายคงที่ 90°C และแบบอุณหภูมิสารละลายแบบลดลงจาก 90°C สามารถกำจัด NaCl ได้อย่างรวดเร็วในช่วงแรก และเริ่มลดลงเมื่อเวลาผ่านไปนานกว่า 60 และ 100 min ตามลำดับ จากการทดลองทำให้เห็นมิติใหม่ของการใช้ฟางข้าว และวิธีการในการจัดการสารละลาย NaCl ได้ในอนาคต
Article Details
How to Cite
บท
Energy and environment
สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย
Thai Socities of Agricultural Engineering