ผลของวัสดุเพาะกล้าจากแหนแดงและถ่านชีวภาพต่อการงอกและการเจริญเติบโต ของต้นกล้ามะเขือเปราะ

Main Article Content

ภานุมาศ ถือธรรม
เกศศิรินทร์ แสงมณี
อิสระ ตั้งสุวรรณ์

บทคัดย่อ

ผลของวัสดุเพาะกล้าจากแหนแดงและถ่านชีวภาพต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะเขือเปราะโดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ ซ้ำละ 100 ต้น มี 7 วิธีการ คือ 1) พีทมอส 2) พีทมอส : แหนแดง (1:1) 3) ขุยมะพร้าว : แหนแดง (1:1) 4) ขุยมะพร้าว : ถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียน : ปุ๋ยคอก (2:1:1) 5) ขุยมะพร้าว : ถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียน : แหนแดง (2:1:1) 6) ขุยมะพร้าว : ถ่านชีวภาพจากแกลบ : ปุ๋ยคอก (2:1:1) 7) ขุยมะพร้าว : ถ่านชีวภาพจากแกลบ : แหนแดง (2:1:1) บันทึกข้อมูลดัชนีความงอก เวลาเฉลี่ยในการงอก ความงอก ความสูงของลำต้น และความยาวราก เพาะเมล็ดเป็นเวลา 30 วัน ผลการศึกษาพบว่า ต้นกล้ามะเขือเปราะมีการเจริญของต้นได้ดีในวัสดุเพาะกล้าที่ประกอบด้วย ขุยมะพร้าว : ถ่านชีวภาพจากแกลบ : ปุ๋ยคอก (2:1:1) มีดัชนีความงอก (GI) มากที่สุดคือ 2.52 มีระยะเวลาเฉลี่ยในการงอกดีที่สุดคือ 10.74 วัน ร้อยละความงอกสูงที่สุดคือ 86.50 และยังมีจำนวนใบ น้ำหนักสดต้น และความยาวของลำต้นมากที่สุด ดังนั้นการใช้ขุยมะพร้าว : ถ่านชีวภาพจากแกลบ : ปุ๋ยคอก (2:1:1) ในการเพาะเมล็ดมะเขือเปราะ ให้ต้นกล้าที่มีอัตราการงอกที่ดีและต้นกล้ามีความแข็งแรง และให้ผลเหมือนกับการใช้พีทมอสเป็นวัสดุเพาะกล้า

Article Details

บท
บทความวิจัย