การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญของเส้นใยเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซาบางชนิด ในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

ธนภักษ์ อินยอด
ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ
ขนิษฐา ชวนะนรเศรษฐ์
ธนภัทร เติมอารมย์
ชาตรี กอนี
สุริมา ญาติโสม
สุจิตรา บัวลอย
ปิยะดา เอี่ยมประสงค์

บทคัดย่อ

เห็ดตับเต่า (Phlebopus portentosus) และเห็ดเผาะ (Astraeus odoratus) เป็นเห็ดป่าเอตโตไมคอร์ไรซาที่เกิดตามธรรมชาติ นิยมนำมาบริโภคอย่างแพร่หลายและมีราคาสูง เนื่องจากพบเฉพาะช่วงฤดูฝน และยังไม่สามารถนำมาเพาะในระบบโรงเรือนเหมือนเห็ดเศรษฐกิจทั่วไปได้ งานวิจัยนี้จึงศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญของเส้นใยเห็ดตับเต่า และเห็ดเผาะ โดยการทดสอบชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ 9 ชนิด ได้แก่ Potato Dextose Agar (PDA), Potato Glucose Agar (PGA), Modified Potato Glucose Agar (mPGA), Malt Agar (MA), Malt Extract Agar (MEA), Modified Melin-Norkran Medium (MMN), Oat Agar (OA), Yeast Extract Agar (YEA) และ Potato Carrot Agar (PCA) ภายใต้ระดับอุณหภูมิ 20, 25, 30 และ 35 องศาเซลเซียส พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) โดยเส้นใยของเห็ดตับเต่าและเห็ดเผาะสามารถเจริญได้ดีที่สุดในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดแข็ง PCA ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีอัตราการเจริญเท่ากับ 0.220±0.05 และ 0.298±0.06 เซนติเมตรต่อวัน ตามลำดับ ลักษณะเส้นใยหนาและเจริญได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อนำเส้นใยเห็ดทั้ง2 ชนิด มาเลี้ยงเพื่อเพิ่มปริมาณในอาหารชนิดเหลว คือ PCB, PGB และ MMN ที่ระดับความเป็นกรด- ด่าง 5 ระดับ ได้แก่ pH 5, 6, 7, 8 และ 9 พบว่า เส้นใยเห็ดตับเต่าและเห็ดเผาะสามารถเจริญได้ดีที่สุดในอาหารเลี้ยงเชื้อ PCB และ PGB ที่ระดับ pH 6 โดยมีปริมาณมวลชีวภาพเท่ากับ 0.514±0.011 และ 0.226±0.003 กรัม/100 มิลลิลิตร ตามลำดับ ซึ่งการศึกษานี้เป็นขั้นตอนแรกในการเพิ่มปริมาณเชื้อเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา สำหรับปลูกถ่ายเชื้อลงในพืชอาศัย เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้สามารถสร้างดอกเห็ดในสวนป่าชุมชนในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย