ผลของ 2,4-D ต่อการชักนำแคลลัสกระบองเพชรยิมโนด่าง (Gymnocalycium mihanovichii) ในสภาพปลอดเชื้อ ผลของ 2,4-D และการขยายพันธุ์ Gymnocalycium

Main Article Content

ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จ. พิษณุโลก 65000
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จ. พิษณุโลก 65000
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จ. พิษณุโลก 65000
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จ. พิษณุโลก 65000

บทคัดย่อ

การขยายพันธุ์กระบองเพชร Gymnocalycium mihanovichii ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นำเมล็ดกระบองเพชรมาฟอกฆ่าเชื้อด้วยเอทานอลความเข้มข้น 70% เป็นเวลา 1 นาที ตามด้วย Clorox® ความเข้มข้น 10% เป็นเวลา 10 นาที จากนั้น ล้างด้วยน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง นำเมล็ดที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อแล้วไปเลี้ยงบนอาหารสูตร Murashige and Skoog (MS) เป็นเวลา 10 สัปดาห์ จนกระทั่งเมล็กงอกเป็นต้นขนาดเล็ก จากนั้น ย้ายไปเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ดัดแปลงที่เติม 2,4-dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D) ความเข้มข้น 0, 1, 2, 3 และ 4 มิลลิกรัม/ลิตร เพื่อชักนำแคลลัสภายใต้สภาวะที่ให้แสงเป็นเวลา 16 ชั่วโมง/วัน (2,500 ลักซ์) ที่อุณหภูมิ 25±2°C เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ 40.6, 73.6, 75.8, 77.2 และ 78.4% ตามลำดับ และชักนำให้เกิดแคลลัสน้ำหนัก 0.26, 0.49, 0.82, 1.43 และ 1.85 กรัม ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย