การเปรียบเทียบสมรรถภาพการผลิต และองค์ประกอบของซากไก่พื้นเมืองอินทรีย์

Main Article Content

วรศิลป์ มาลัยทอง
ดุจดาว คนยัง
พิชิตร์ วรรณคำ
ศุกรี อยู่สุข
สุรพงษ์ ทองเรือง
วงศ์วริศ วงศ์นาค
อิศรา วัฒนนภาเกษม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองในระบบปศุสัตว์อินทรีย์ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และองค์ประกอบของซากไก่พื้นเมืองสองสายพันธุ์ การทดลองนี้ใช้ลูกไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ประดู่หางดำและเหลืองหางขาวอายุ 1 วัน สายพันธุ์ละ 120 ตัว แบ่งออกเป็น 3 ซ้ำ ๆ ละ 40 ตัว กกลูกไก่ในโรงเรือนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และเลี้ยงต่อไปจนถึงอายุ 8 สัปดาห์จึงปล่อยออกสู่พื้นที่แปลงหญ้า ไก่ทั้งสองกลุ่มได้รับอาหารที่ผลิตจากวัตถุดิบอินทรีย์สูตรเดียวกัน พร้อมกับได้รับน้ำตลอดเวลา ทำการเลี้ยงจนถึงอายุ 20 สัปดาห์ สุ่มไก่ซ้ำละ 4 ตัว เพศละ 2 ตัว มาทำการประเมินองค์ประกอบของซาก ผลการศึกษา พบว่า ไก่ประดู่หางดำมีสมรรถภาพการผลิตสูงกว่าไก่เหลืองหางขาวอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยไก่ประดู่หางดำมีปริมาณการกินได้ การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักสูงกว่าไก่เหลืองหางขาว ในขณะที่น้ำหนักซากอุ่น น้ำหนักซากตัดแต่ง เปอร์เซ็นต์ซากตัดแต่ง และเปอร์เซ็นต์ชิ้นส่วนของไก่ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย