ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการเจริญเติบโตและความทนทานต่อสภาวะน้ำท่วมขังของสายพันธุ์อ้อย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ลักษณะการเจริญเติบโตบางลักษณะในสภาวะที่ถูกน้ำท่วมขังอาจสามารถใช้ในการคัดเลือกเพื่อความทนทานต่อสภาวะน้ำท่วมขังของสายพันธุ์อ้อย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของน้ำท่วมขังในระยะแตกกอต่อการเจริญเติบโตของอ้อยและหาความสัมพันธ์ระหว่างความทนทานต่อน้ำท่วมขังกับลักษณะการเจริญเติบโตของอ้อย โดยปลูกทดสอบอ้อย 5 สายพันธุ์ เปรียบเทียบระหว่างสภาวะปรกติและสภาวะถูกน้ำท่วมขังในระยะการแตกกอ เก็บข้อมูลลักษณะการเจริญเติบโตและน้ำหนักแห้งรวมของอ้อยภายหลังจากถูกน้ำท่วมขัง พบว่าน้ำท่วมขังทำให้จำนวนหน่อ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น จำนวนใบ พื้นที่ใบ และน้ำหนักแห้งรวมของอ้อยลดลง แต่ไม่พบผลกระทบต่อความสูงต้นและจำนวนข้อ ความทนทานต่อน้ำท่วมขังมีความแตกต่างกันระหว่างสายพันธุ์อ้อย โดยสายพันธุ์ KPS 01-4-29 มีความทนทานต่อน้ำท่วมขังสูงที่สุด เนื่องจากมีน้ำหนักแห้งรวมภายใต้สภาวะน้ำท่วมขังและดัชนีความทนทานต่อน้ำท่วมขังสูงที่สุด นอกจากนี้ น้ำหนักแห้งรวมของอ้อยมีความสัมพันธ์สูงในเชิงบวกกับจำนวนหน่อ เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น ความสูงต้น จำนวนข้อ จำนวนใบ และพื้นที่ใบของอ้อย (r = 0.54* ถึง 0.92** ) และดัชนีความทนทานของน้ำหนักแห้งรวมมีความสัมพันธ์สูงในเชิงบวกกับดัชนีความทนทานของเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น ความสูงต้น จำนวนข้อ จำนวนใบ และพื้นที่ใบ (r = 0.52* ถึง 0.86**) ดังนั้น ลักษณะเหล่านี้จึงสามารถนำมาใช้ในการคัดเลือกสายพันธุ์อ้อยที่มีความทนทานต่อน้ำท่วมขังในระยะแตกกอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิราพร บำรุงไร่, อรุณี พรมคำบุตร และอนันต์ พลธานี. 2557. ปัญหาและข้อจำกัดในการปลูกอ้อยในนาพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงและพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร. 42: 208-217.
สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน. 2552. เอกสารแนะนำ คู่มือการปลูกอ้อย. สถาบันวิจัยพืชไร่และน้ำตาล กรมวิชาการเกษตร.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2561. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2560/61. กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2562. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2561/62. กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย.
Glaz, B. and S.E. Lingle. 2012. Flood duration and time of flood onset effects on recently planted sugarcane. Agronomy Journal. 104: 575-583.
Gomathi, R., P. N. Gururaja Rao, K. Chandran, and A. Selvi. 2015. Adaptive responses of sugarcane to waterlogging stress: An over view. Sugar Tech. 17: 325-338.
Jain, R., A. Singh, S. Singh, P. Surendra, V. Kumar Srivastava, A. Chandra, A. Dutt Pathak, and S. Solomon. 2017. Physio-Biochemical characterization of sugarcane genotypes for waterlogging tolerance. World Journal of Agricultural Sciences. 13: 90-97.
Jaiphong, T., J. Tominaga, K. Watanabe, R. Suwa, M. Ueno, and Y. Kawamitsu. 2017. Change in photosynthesis, growth, and sugar content of commercial sugarcane cultivar and Erianthus under flood conditions. Plant Production Science. 20: 126-135.
Sanghera, G. S., and N. S. Jamwal. 2019. Perspective for genetic amelioration of sugarcane towards water logged conditions. International Journal of Pure and Applied Bioscience. 7: 484-502.
Singh, S., S.P. Singh, A.D. Pathak, and N. Pandey. 2019. Assessment of waterlogging induced physio-biochemical changes in sugarcane varieties and its association with waterlogging tolerance. Journal of Environmental Biology. 40: 384-392.
Tavares, A. C. S., S. N. Duarte, N. S. Dias, F. V. Silva Sá, J. H. Miranda, K. T. S. Souza, M. A. M. Pizani, O. N. S. Neto, and C. S. Fernandes. 2018. Growth of sugar cane under cultivation flooded at different speeds lowering of the water table. Journal of Agricultural Science. 10: 122–131.