การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้งในนาข้าวของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ปริชาติ แสงคำเฉลียง
ยุวรัตน์ บุญเกษม

บทคัดย่อ

ถั่วเหลืองเป็นพืชที่มีการปลูกอย่างแพร่หลายซึ่งมีประโยชน์มากมาย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้งในนาข้าว และวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนเบื้องต้นของผลผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้งในนาข้าวของเกษตรกร โดยได้ดำเนินการเลือกพื้นที่ที่เกษตรกรปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้ง ในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น การเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นการเลือกแบบสุ่มตัวอย่างเกษตรกรจำนวน 122 ราย ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 59 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสและจบการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา เกษตรกรมีต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อไร่ในการปลูกถั่วเหลืองเท่ากับ 2,483.49 บาท ผลผลิตถั่วเหลืองเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 206.42 กิโลกรัม รายได้จากการขายถั่วเหลืองของเกษตรกรเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 3,319.23 บาท กำไรสุทธิเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 835.76 บาท และจุดคุ้มทุนเท่ากับ 116.21 กิโลกรัม/ไร่ จากผลการศึกษาพบว่าต้นทุนส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นต้นทุนค่าแรงงานเก็บเกี่ยวและค่าเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรอาจจะพิจารณาการลดต้นทุนโดยการส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อลดต้นทุนค่าจ้างแรงงาน และควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีการคัดเมล็ดพันธุ์ไว้เพื่อปลูกในปีต่อไปด้วย เพื่อลดการซื้อเมล็ดพันธุ์เมื่อต้องการปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้งหลังนาข้าว

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2548. คู่มืองดเผาตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม. แหล่งข้อมูล: https://www.ldd.go.th/manual_stump/stump.pdf. ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2560.

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2560. การปลูกถั่วเหลืองในฤดูแล้ง. แหล่งข้อมูล: http://164.115.27.97/digital/files/original/76bf22f37964363bda8535b2dd3a40b8.pdf. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2561.

บังอร อุบล, ชัยสิทธิ ทองจู, จุฑามาศ ร่มแก้ว, และศุภชัย อำคา. 2559. ผลของการจัดการตอซังข้าวร่วมกับการเตรียมดินและชนิดของปุ๋ยต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตข้าว และสมบัติของดินบางประการ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3(2): 39-49.

รัตนา เศวตาลัย. 2540. การปลูกถั่วเหลืองในฤดูแล้งหลังการทำนา. แหล่งข้อมูล: http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/rice/peanut2.pdf. ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2560.

รมิดา ทองสอดแสง. 2547. การจัดการการผลิตและการตลาดถั่วเหลือง ในตำบลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัศมี สิมมา, ปิยะรัตน์ จังพล, ญาณี โปธาดี และณัฎฐนิชา มีสูงเนิน. 2557. การศึกษาสถานการณ์ การผลิต การตลาด และเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลือง. วิจัยและพัฒนาถั่วเหลือง. สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน.

สมชาย ผะอบเหล็ก. 2558. วิจัยและพัฒนาถั่วเหลือง. รายงานชุดโครงการวิจัย. กรมวิชาการเกษตร.

ทรงสมร สุวรรณชื่น, ศิราวรรณ สุริยะลังกา, ศิราณี ยืนยาว, ละออง ชื่นฉอด และเนาวรัตน์ เพ็งพิน. 2560. ถั่วเหลือง ข้อมูลเพื่อการวางแผนสินค้าเกษตรจังหวัดสุโขทัย. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุโขทัย.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2560. ถั่วเหลือง: เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ รายอำเภอ ปีเพาะปลูก 2559/60. แหล่งข้อมูล:http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/soybean_dis.pdf. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2561. สถิติการส่งออกถั่วเหลือง. แหล่งข้อมูล:http://impexp.oae.go.th/service/export.php?S_YEAR=2557&E_YEAR=2560&PRODUCT_GROUP=5402&wf_search=&WF_SEARCH=Y. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2561. สถิติการนำเข้าถั่วเหลือง. แหล่งข้อมูล: http://impexp.oae.go.th/service/import.php?S_YEAR=2557&E_YEAR=2560&PRODUCT_GROUP=5402&PRODUCT_ID=&wf_search=&WF_SEARCH=Y. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562.

สำนักงานเกษตรอำเภอชุมแพ. 2564. รายงานสรุปข้อมูลการผลิตพืชอายุสั้น กลุ่มพืชไร่ จังหวัดขอนแก่น. แหล่งข้อมูล: http://chumphae.khonkaen.doae.go.th/. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564.

องค์การบริหารส่วนตำบลโนนอุดม. 2558. แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2558-2560). แหล่งข้อมูล: http://www.kkpao.go.th/dep/kkpao_plan/pdf/plan/sao/Chum%20Phae/nud/p_58-60.pdf. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2563.