ผลของการใช้เปลือกทุเรียนหมักจุลินทรีย์ที่ถูกปรับปรุงพันธุกรรมในอาหารต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และคุณภาพซากในสุกรระยะรุ่น-ขุน

Main Article Content

นิติพล พลสา
กมล ฉวีวรรณ
กันตา แสงวิจิตร
สุกัญญา สืบแสน
สมบูรณ์ อนันตลาโภชัย

บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการทดแทนอาหารสำเร็จรูปด้วยเปลือกทุเรียนหมักจุลินทรีย์พันธุ์กลาย ต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และคุณภาพซากของสุกรระยะรุ่น-ขุน โดยใช้สุกรลูกผสม 18 ตัวประกอบด้วยเพศผู้ 9 ตัวและเพศเมีย 9 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่มๆละ 6 ตัว ได้แก่ กลุ่มที่ 1 สุกรได้รับอาหารสำเร็จรูป 100% (ชุดควบคุม)  กลุ่มที่ 2 เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป 50% และทดแทนด้วยเปลือกทุเรียนหมัก 50% (FDP 50%) และกลุ่มที่ 3 เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป 30% และทดแทนด้วยเปลือกทุเรียนหมัก 70% (FDP 70%) ทดลองเลี้ยงเป็นระยะเวลา 90 วัน ผลการทดลองพบว่ากลุ่มทดลองที่มีการผสมเปลือกทุเรียนมีแนวโน้มที่ส่งผลต่ออัตราการเปลี่ยนอาหารของสุกร (FCR) ที่มากขึ้น (P < 0.05) และประสิทธิภาพการเจริญเติบโต (ADG) ลดลงเมื่อเทียบกับชุดควบคุม (P < 0.05) ส่วนคุณภาพซากพบว่ากลุ่ม FDP 70% ให้ค่าสีของเนื้อแดงมากกว่ากลุ่มควบคุม (P < 0.05) นอกจากนี้ การเลี้ยงสุกรด้วยเปลือกทุเรียน ในกลุ่ม FDP 70% สามารถลดต้นทุนค่าอาหารได้มากถึง 29% สรุปได้ว่า การใช้อาหารสำเร็จรูปทดแทนด้วยเปลือกทุเรียนหมัก 70% ในการขุนสุกร ช่วยลดค่าอาหารและเพิ่มกำไรให้กับผู้เลี้ยงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)
Author Biography

กมล ฉวีวรรณ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์

นาย กมล ฉวีวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 

References

กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์. 2563. สถานการณ์การผลิตการตลาดสุกร และผลิตภัณฑ์ ประจำเดือนมิถุนายน 2563. แหล่งข้อมูล:http://extension.dld.go.th/th1/images/stories/pdf. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562.

ลือพงษ์ ลือนาม และ จรูญพงศ์ เทียมประทีป. 2552. การศึกษาวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการเตรียมเนื้อทุเรียนสำหรับการทอดกรอบ. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. 2: 36-40.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมปศุสัตว์. 2562. ทุเรียน : ร้อยละ และปริมาณการขายผลผลิตเป็นรายเดือน ปี 2562. แหล่งข้อมูล:http://newweb.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/sale%20product%2062.pdf. ค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2562.

หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์, จิรพร สวัสดิการ, ปารณีย์ สร้อยศรี, และ คมสัน มุ่ยสี. 2560. สมบัติทางกายภาพและความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของใยอาหารจากเปลือกทุเรียน. น 2279-2287. ใน: การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 21 กรกฎาคม 2560. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.

อรุณี โยธี, วันดี ทาตระกูล, กุลยาภัสร์ วุฒิจารี, ทินกร ทาตระกูล, และ ณิฐิมา เฉลิมแสน. 2552. การทดแทนรำละเอียดในอาหารสุกรระยะรุ่น-ขุน ด้วยเศษผักและหยวกกล้วย. น 257-266. ใน:การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 6 8-9 ธันวาคม 2552. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (กำแพงแสน), นครปฐม.

อุทัย คันโธ. 2554. ปัญหาอาหารสุกรจัดการได้. วารสารปศุสัตว์เกษตรศาสตร์. 38(150): 12-25.

Brooks, P., J. Beal, S. J. Niven, and V. Demeckova. 2003. Liquid feeding of pigs II: Potential for improving pig health and food safety. Animal Science Papers and Reports. 21(1): 23-39.

Bureenok, S., T. Namihira, Y. Kawamoto, and T. Nakada. 2005. Additive effects of fermented juice of epiphytic lactic acid bacteria on the fermentative quality of guineagrass (Panicum maximum Jacq.) silage. Grassland Science. 51(3): 243-248.

Girolami, A., F. Napolitano, D. Faraone, and A. Braghieri. 2013. Measurement of meat color using a computer vision system. Meat Science. 93(1): 111-118.

Hu, X. X., Y. H. Zhou, and Q. Bian. 2015. Effect of complex probiotics fermented feed without antibiotic on growth performance, plasma biochemical parameters, immune function and meat quality in growing finishing pigs. Journal of Huazhong Agricultural University. 34(1): 72-77.

Jones, S. W., A. Karpol, S. Friedman, B. T. Maru, and B. P. Tracy. 2020. Recent advances in single cell protein use as a feed ingredient in aquaculture. Current Opinion in Biotechnology. 61: 189-197.

Kallabis, K., and O. Kaufmann. 2012. Effect of a high-fibre diet on the feeding behaviour of fattening pigs. Archives Animal Breeding. 55: 272-284.

Kyriazakis, I., and G. C. Emmans. 1995. The voluntary feed intake of pigs given feeds based on wheat bran, dried citrus pulp and grass meal, in relation to measurements of feed bulk. British Journal of Nutrition. 73(2): 191-207.

Laitat, M., N. Antoine, J.F. Cabaraux, D. Cassart, J. Mainil, N. Moula, B. Nicks, J. Wavreille, and F. Philippe. 2015. Influence of sugar beet pulp on feeding behavior, growth performance, carcass quality and gut health of fattening pigs. Biotechnology, Agronomy and Society and Environment. 19: 20-31.

Laksuk, H., S. Anuntalabhochai, K. Sangwijit, N. Boonreung, S. Suebsan, and C. Thongrote. 2019. Induced mutations of naked DNA by atmospheric pressure plasma jet (APPJ). Srinakharinwirot Science Journal. 35(2): 137-148.

Laroussi, M. 2015. Low-temperature plasma jet for biomedical applications: A review. IEEE Nuclear and Plasma Sciences Society. 43: 703-712.

Lee, Y., K. Kim, K. T. Kang, J. S. Lee, S. S. Yang, and W. H. Chung. 2014. Atmospheric-pressure plasma jet induces DNA double-strand breaks that require a Rad51-mediated homologous recombination for repair in Saccharomyces cerevisiae. Archives of Biochemistry and Biophysics. 560: 1-9.

Ndou, S., R. Gous, and M. Chimonyo. 2013. Prediction of scaled feed intake in weaner pigs using physico-chemical properties of fibrous feeds. British Journal of Nutrition. 110: 1-7.

NRC. 1998. Nutrition requirement of swine. National Academy Press. Washington D.C.

O’Connell, D., L. J. Cox, W. B. Hyland, S. J. McMahon, S. Reuter, W. G. Graham, and F. J. Currell. 2011. Cold atmospheric pressure plasma jet interactions with plasmid DNA. Appllied Physics Letters. 98(043701): 1-3.

Owusu-Asiedu, A., J. Patience, B. Laarveld, K. A., Van, H. Simmins, and R. Zijlstra. 2006. Effects of guar gum and cellulose on digesta passage rate, ileal microbial populations, energy and protein digestibility, and performance of grower pigs. Journal of Animal Science. 84: 843-852.

Phonmun, T., T. Subanrat, and S. Chumpawadee. 2015. Evaluation of metabolizable energy and digestibility of agro-industrial residues as ruminant feed. Khon Kaen Agricultural Journal. 43(1): 491-498.

Polsa, N., W. Suyotha, S. Suebsan, S. Anuntalabhochai, and K. Sangwijit. 2020. Increasing xylanase activity of Bacillus subtilis by atmospheric pressure plasma jet for biomass hydrolysis. 3 Biotech. 10: 1-9.

Sangwijit, K., J. Jitonnom, S. Pitakrattananukool, L. D. Yu, and S. Anuntalabhochai. 2016. Low-energy plasma immersion ion implantation modification of bacteria to enhance hydrolysis of biomass materials. Surface and Coatings Technology. 306: 336-340.

Takahashi, T., and K.I. Horiguchi. 2005. Use of soiling rice crop silage as feed for growing pigs. Grassland Science. 51: 271-273.