การประเมินต้นตอพันธุ์มะเขือลูกผสมที่ทนทานต่อไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita)
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรครากปมของมะเขือเทศที่เกิดจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne incognita จัดเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตมะเขือเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากไส้เดือนฝอยดังกล่าวสามารถทำให้เกิดรากปมได้แล้วนั้น ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดแผลบริเวณรากพืช ส่งผลให้เชื้อราชนิดอื่นสามารถเข้าทำลายซ้ำเติมได้ อีกทั้งพฤติกรรมของไส้เดือนฝอยศัตรูพืชซึ่งอาศัยในดิน ทำให้การควบคุมเป็นไปได้ยาก การใช้ต้นตอที่มีความต้านทานเป็นหนึ่งในทางเลือกที่จะลดปัญหาการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการคัดเลือกสายพันธุ์มะเขือลูกผสมที่มีความทนทานต่อไส้เดือนฝอย M. incognita ในการใช้เป็นต้นตอเพื่อการผลิตมะเขือเทศพันธุ์การค้า ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างไส้เดือนฝอยรากปมในพื้นที่ปลูกพืชตระกูลมะเขือ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และจากการจำแนกไส้เดือนฝอยรากปมโดยวิธีการ perineal pattern สามารถจำแนกได้เป็นไส้เดือนฝอยชนิด M. incognita จากนั้นทดสอบศักยภาพของต้นมะเขือลูกผสมจำนวน 34 สายพันธุ์ ต่อการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita ผลการทดลอง พบว่ามะเขือสายพันธุ์ SM023 และ SM031 สามารถทนทานต่อการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยได้ดี และมีศักยภาพในการใช้เป็นต้นตอสำหรับการผลิตมะเขือเทศเชิงพาณิชย์ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรุง สีตะธนี ธีรพล ครุฑรังสิต ธีรวัฒน์ กษิรวัฒน์ เฉลย ดวงตา ดำรง จิรศานต์ชัย จินนา ตันศราวิพุธ พจนาเสมา และคณะ. 2537. การพัฒนาสายพันธุ์มะเขือเทศ ทนร้อน ผลเล็ก สีชมพู เพื่อรับประทานสด. ชาวเกษตร. 13(149): 39-46.
จำเนียร ชมภู อมรศรี ขุนอินทร์ และทศพล พรพรหม. 2559. วัชพืชในแปลงฝรั่งบางชนิดที่เป็นพืชอาศัยของไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.). วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 7(1): 81-92.
ชัชฏาภรณ์ จิรเศรษฐ์. 2534. อิทธิพลของจำนวนประชากรไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ที่มีผลต่อการเจริญของข้าวบาร์เล่ย์ (Hordeum vulgare). ปัญหาพิเศษปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.
นัยนา ทองเจียม. 2526. ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชในเขตปลูกมันสำปะหลังของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด. 2552. โรครากปม. หน้า 9 – 10. ใน คู่มือโรคผัก. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
เมทินี พลอยเปลี่ยนแสง, เกรียงศักดิ์ ไทยพงษ์, สมชาย สุขะกูล และอุณารุจ บุญประกอบ. 2552. การประเมินลักษณะทนทานต่อไส้เดือนฝอยรากปมในลูกผสมฝรั่ง. แก่นเกษตร. 37(ฉบับพิเศษ 1): 61-66.
สมชาย สุขะกูล. 2549. เทคนิคศึกษาทดลองไส้เดือนฝอยศัตรูพืช. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นครปฐม.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. 2563. การศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อรา Pochonia chlamydosporia ต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita. แหล่งข้อมูล: http://www.nia.or.th/organic/books/14_1.pdf. ค้นเมื่อ 29 กันยายน 2563.
สืบศักดิ์ สนธิรัตน เกษกานดา สิทธิสุข และสุทิน ราชธา. 2518. การสำรวจและรวบรวมไส้เดือนฝอยศัตรูพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เอกสารงานวิจัยฉบับที่ 3 ศูนย์เกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ท่าพระ, ขอนแก่น.
สืบศักดิ์ สนธิรัตน เกษกานดา สิทธิสุข และสุทิน ราชธา. 2524. โรคมะเขือเทศที่เกิดจากไส้เดือนฝอย. ข่าวสารโรคพืช. 1(1): 6-12.
สืบศักดิ์ สนธิรัตน เกษกานดา สิทธิสุข และสุทิน ราชธา. 2552. ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
สุดารัตน์ โชคแสน. 2550. การจัดจำแนก species และ race ของไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้วิธีทางชีวโมเลกุล และวิธีใช้พืชจำเพาะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
สุรศักดิ์ แสนโคตร อนันต์ หิรัญสาลี และเพชรรัตน์ ธรรมเบญพล. 2555. การจัดจำแนกชนิดของไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne) ในพื้นที่เพาะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. แก่นเกษตร. 40(ฉบับพิเศษ): 250-258.
อรพินท์ ทองอร่าม, สมชาย สุขะกูล และ ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล. 2556. ความทนทานทางกายภาพของฝรั่งพันธุ์ KU-Guard No.1 ต่อการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 44(1): 63-74.
Babatola, J.O., and E.E.A. Oyedunmade. 1992. Host-parasite relationships of Psidium guajava cultivars and Meloidogyne incognita. Nematologia Mediterranea. 20: 233-235.
Bellafiore, S., C. Jougla, E. Chapuis, G. Besnard, M. Suong, P.N. Vu, and X.N. Thi. 2015. Intraspecific variability of the facultative meiotic parthenogenetic root-knot nematode (Meloidogyne graminicola) from rice fields in Vietnam. C. R. Biologies. 338(7): 471-483.
Charchar, A. U., J.M. Gonzaga, V. Giordano, L.D. Boiteuy, and L.S. Reis. 2003. Reaction of tomato cultivars to infection by a mixed population of M. incognita race and M. javanica in the field. Nematologia Brasileira. 27: 49-54.
Christie, J.R. 1959. Plant nematode: their bionomics and control. University of Florida, Agricultural Experiment Stations. Gainesville. Florida, U.S.A.
Dunn, A.R. 1993. Managing Nematodes in the Home Garden. Publication of the Florida Cooperative Extension Service, Florida, U.S.A.
Eisenback, J. D., and H. Hirschmann. 1980. Morphological comparison of Meloidogyne males by scanning electron microscopy. Journal of Nematology. 12(1): 23-32.
Hussey, R. S., and G.J.W. Janssen. 2002. Root-knot nematodes: Meloidogyne species. Plant resistance to parasitic nematodes. Centre for Agriculture and Bioscience International, Wallingford, United Kingdom.
Jenkins, W.R., and D.P. Taylor. 1976. Plant nematology. Reinhold Publishing. New York, U.S.A.
Norton, D.C. 1978. Ecology of parasitic nematodes. John Wiley and Sons New York, U.S.A.
Ravichandra, N. G. 2010. Methods and techniques in plant nematology. Delhi: PHI Learning Pvt. Ltd. New Delhi, India.
Starr, J. L., J. Bridge, and R. Cook. 2002. Resistance to plant-parasitic nematodes: history, current use and future potential. Plant resistance to parasitic nematodes. Centre for Agriculture and Bioscience International, Wallingford, United Kingdom.
Taylor, A.L., and J.N. Sasser. 1978. Biology identification and control of root-knot nematodes (Meloidogyne species). North Carolina State University Graphics, Raleigh, North Carolina, U.S.A.
Triantaphyllou, A.C., and J.N. Sasser. 1960. Variation in perineal pattern and host specificity of Meloidogyne incognita. Phytopathology. 50: 724-753.
Webster, J.M. 1975. Aspects of the host-parasite relationships of plant parasitic nematodes. Advances in Parasitology. 13: 225–250.