ห่วงโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

Main Article Content

ณฤทธิ์ ไทยบุรี
ฐิตินันท์ โสระบุตร
สมนึก ลิ้มเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อของเกษตรกรและห่วงโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ทำการวิจัยแบบผสมผสาน โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ มีเครื่องมือ คือ แบบสอบถามและแบบประเด็นคำถาม สำหรับการสัมภาษณ์จาก 1) เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) ที่ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ 396 ราย 2) ผู้บริโภคเนื้อแพะ 150 ราย 3) ร้านอาหารหรือภัตตาคารเนื้อแพะ 30 ราย 4) พ่อค้าแพะเนื้อ 30 ราย ที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จาก 5) นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและการตลาด จำนวน 15 ราย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลมีทั้งเชิงปริมาณและเชิงพรรณนา โดยใช้สถิติ คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนและวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.00 ปี มีรายได้จากการเลี้ยงแพะเนื้อเฉลี่ย 13,808.48 บาท/ปี ผู้เลี้ยงแพะเนื้อส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย และมีการเลี้ยงแพะเพื่อการจำหน่าย เกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อ ในระดับมาก การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และสภาพการเลี้ยงแพะเนื้อกับจำนวนแพะเนื้อทั้งหมด พบว่า อายุ พื้นที่ใช้ทำการเกษตร พันธุ์แพะเนื้อ การเลี้ยงดูแพะรุ่นหนุ่มสาว การจัดตั้งตลาดแพะในอำเภอ แปลงหญ้าใช้เลี้ยงแพะเนื้อ อาหารข้นใช้เลี้ยงแพะเนื้อ และประสบการณ์เลี้ยงแพะเนื้อมีความสัมพันธ์กับจำนวนแพะเนื้อทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01  2) ห่วงโซ่อุปทานของแพะเนื้อประกอบด้วย หน่วยธุรกิจตั้งแต่ระดับต้นน้ำ คือ เกษตรกรทำหน้าที่ผลิตแพะเนื้อ โดยการจัดหาปัจจัยการผลิต การจัดการคุณภาพการผลิตแพะเนื้อ จนได้แพะเนื้อที่มีคุณภาพพร้อมส่งไปจำหน่าย ระดับกลางน้ำ คือ ผู้รวบรวมแพะเนื้อและผลิตภัณฑ์การแปรรูป เคลื่อนย้ายผลผลิตสู่ตลาด ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ แล้วนำผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์จำหน่ายให้ผู้บริโภคต่อไป จนถึงระดับปลายน้ำ คือ กระบวนเคลื่อนย้ายแพะเนื้อหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปสู่ตลาด โดยถูกจำหน่ายให้พ่อค้าระดับท้องที่/พ่อค้าระดับท้องถิ่น/พ่อค้าระดับจังหวัดและพ่อค้าส่งออก ทำหน้าที่จำหน่ายหรือกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภค โดยใช้กิจกรรมห่วงโซ่อุปทานหรือเครือข่ายโลจิสติกส์ ซึ่งกระบวนการของการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานสามารถพัฒนาเป็นระบบธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อได้ชัดเจนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมปศุสัตว์. 2560. สถิติจำนวนแพะเนื้อของประเทศไทย พ.ศ. 2560. แหล่งข้อมูล: http://region9.dld.go.th/ ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2561.

กรมปศุสัตว์. 2563. สถิติจำนวนแพะเนื้อของประเทศไทย พ.ศ. 2563. แหล่งข้อมูล: http://region9.dld.go.th/ ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564.

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2561. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ.

กอบแก้ว ตรงคงสิน. 2535. พืชอาหารสัตว์เขตร้อน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ.

ชูตา แก้วละเอียด. 2558. การพัฒนาการตลาดแพะเพื่อเพิ่มมูลคาทางเศรษฐกิจ ของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดสงขลา รายงานวิจัยฉบับสมบูรณคณะ วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. 2561. ตัวแปรประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทางส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ในเอกสาการสอนชุดวิชาการวิจัยและสถิติเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

ปริญญา เฉิดโฉม, กนกพร ภาคีฉาย, อุไรวรรณ อินทศร และปราโมทย์ เพชรศรี. 2558. แนวโน้มการบริโภคเนื้อแพะและแกะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสังคมและมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 21: 201-221.

วินัย ประลมพ์กาญจน์. 2542. การผลิตแพะเนื้อและแพะนมในเขตร้อน สำนักวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช.

มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2549. มาตรฐานเนื้อแพะ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แหล่งข้อมูล: http://region9.dld.go.th/ ค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2561.

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศกรมปศุสัตว์. 2560. สถานการณ์การผลิตการบริโภคและการตลาดแพะพื้นที่ ภาคใต้ตอนล่าง. แหล่งข้อมูล: http://region9.dld.go.th/ ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561.

สุรศักดิ์ คชภักดี. 2549. รวมบทความการเลี้ยงแพะ. คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ. จังหวัดพัทลุง.

สุรพล ชลดำรงกุล, สุรศักดิ์ คชภักดี, สมพร แซ่โล้ และวราภรณ์ พุทธรักษา. 2537. ประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิอัลเบนดาโซล เลวามิโซล และไอเวอเมกตินต่อพยาธิตัวกลมในทางเดินอาหารของลุกแพะหย่านม วารสารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 16: 393-397.

เสกสม อาตมางกูร. 2556. กระบวนทรรศน์ใหม่ในการผลิตปศุสัตว์ วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 44 (ฉบับพิเศษ 1): 1-17.

สมนึก ลิ้มเจริญ, มงคล คงเสน, สาวิณี ตาเห และมารือตี พีเย๊าะ. 2561. ผลของการใช้ยาถ่ายพยาธิเลวามิโซลไอเวอเมกติน และอัลเบนดาโซลในการกำจัดพยาธิภายในทางเดินอาหารของแพ. วารสารแก่นเกษตร. 46 (ฉบับพิเศษ 1): 622-627.

สมนึก ลิ้มเจริญ, มงคล คงเสน, ประจักษ์ เทพคุณ, จำนงค์ จุลเอียด และฮาลีหม๊ะ ดือราโอ๊. 2562. แนวทางการส่งเสริมการบริโภคเนื้อแพะในจังหวัดนราธิวาส. วารสารแก่นเกษตร. 47 (ฉบับพิเศษ 1): 999-1008.

สมนึก ลิ้มเจริญ, ภรณี ต่างวิวัฒน์, จินดา ขลิบทอง และสุรศักดิ์ คชภักดี. 2563. โมเดลการส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้ วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 12: 337-360.

Hair, J. F., R. E. Anderson, R. L. Tatham, and W. C. Black. 1995. Multivariate data analysis. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Lamber, D. M., J. R. Stock, and L. M. Ellram. 1998. Fundamentals of Logistics Management. Boston, Mass: Irwin/McGraw-Hill.

Pralomkarn, W., C. Supakorn, and D. Boonsanit. 2012. Knowledge in Goats in Thailand. Walailak Journal Science and Technology. 9: 93-105.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New york: Harper and Row Publication.