ความท้าทายของการเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรและกลไกตลาดในพื้นที่เกาะยาว จังหวัดพังงา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเลี้ยงกุ้งมังกรในพื้นที่เกาะยาวมีความท้าทายด้านกลไกตลาดทั้งการแข่งขันด้านราคาและความต้องการของตลาดที่ชะลอตัวลง การศึกษาปัจจัยข้อจำกัดและแนวทางที่จะช่วยพัฒนาการเลี้ยงให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ข้อมูลกลไกตลาดและข้อจำกัดในการเลี้ยงเป็นเรื่องสำคัญ เก็บรวบรวมข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมังกรทั้งหมดจำนวน 72 ฟาร์ม โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้นำชุมชน ผู้รับซื้อสัตว์น้ำ ผู้รวบรวมลูกพันธุ์ ตัวแทนผู้เลี้ยงกุ้งมังกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าไค-สแควร์ ผลการศึกษาพบว่าปัญหาหลักของการเลี้ยงกุ้งมังกรในพื้นที่เกาะยาวคือราคาจำหน่ายที่สูงกว่าแหล่งอื่น การขาดแคลนลูกพันธุ์ไม่สามารถผลิตได้เองในพื้นที่ ต้องจัดซื้อลูกพันธุ์จากแหล่งอื่นทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ราคาผลผลิตกุ้งมังกรแปรผันตรงกับต้นทุนการเลี้ยง สอดคล้องกับผลทางสถิติที่พบว่าการขาดแคลนลูกพันธุ์มีความสัมพันธ์กับระบบการเลี้ยงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งที่ 0.01 และราคาลูกพันธุ์มีความสัมพันธ์กับระบบการเลี้ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แนวทางการแก้ปัญหาคือการจัดหาและสนับสนุนแหล่งลูกพันธุ์ราคาที่เหมาะสมและคุณภาพดี เพื่อลดต้นทุนและสามารถแข่งขันด้านราคาจำหน่ายผลผลิต อย่างไรก็ตาม นอกจากการแก้ปัญหาโดยเกษตรกรเองแล้ว หน่วยงานภาครัฐก็ควรสนับสนุนการผลิตลูกพันธุ์กุ้งมังกรเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนลูกพันธุ์และลดต้นทุนด้านลูกพันธุ์ เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มศักยภาพการเพาะเลี้ยงกุ้งมังกร สร้างรายได้ และมีความยั่งยืนในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมประมง. 2561ก. การวิเคราะห์เส้นทางการนำเข้า-ส่งออกสัตว์น้ำ 6 ชนิด (ปูทะเล กั้งตั๊กแตน หอยลาย ปลาจวด ลูกกุ้งขาวแวนนาไม) ที่มีการนำเข้า-ส่งออกผ่านทางจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพมหานคร.
กรมประมง. 2561ข. การวิเคราะห์เส้นทางการนําเข้าสัตว์น้ำที่สำคัญ: เส้นทางการนําเข้ากุ้งมังกรมีชีวิตทางท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ทางด่านตรวจสัตวน้ำจังหวัดภูเก็ต. ด่านตรวจสัตวน้ำจังหวัดภูเก็ต.กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.กรุงเทพมหานคร. แหล่งข้อมูล: https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/202002191158331file.pdf ค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2563.
ธงชัย นิติรัฐสุวรรณ, กันย์สินี พันธ์วนิชดำรง และ จันทร์สว่าง งามผ่องใส. 2560. ชีววิทยาบางประการของกุ้งมังกรเจ็ดสี (Panulirus ornatus Fabricius 1798) จากการทำประมงขนาดเล็กในจังหวัดตรัง. วารสารแก่นเกษตร. 45 (ฉบับพิเศษ 1): 116-120.
วัชรรัฐ ลิ้นจี่. 2554. บทบาทของปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำต่อการแพร่กระจายของกุ้งมังกรบริเวณอ่าวกะเปอร์ จังหวัดระนอง. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กำแพงแสน.
สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลา. 2562. การเลี้ยงกุ้งมังกรในทะเล. แหล่งข้อมูล: http:// www.nicaonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1083 ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เขต 8. 2551. เศรษฐกิจการผลิตกุ้งมังกร ฝั่งอันดามันปี 2549. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพมหานคร.