ผลของระดับโปรตีนในอาหารข้นต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะของแพะพื้นเมืองไทยเพศผู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับโปรตีนในอาหารข้นต่อปริมาณการกินได้ การใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะ และสมรรถภาพการเจริญเติบโตของแพะพื้นเมืองไทยเพศผู้ช่วงอายุ 3 - 6 เดือน โดยใช้แพะพื้นเมืองไทย เพศผู้ อายุเฉลี่ย 3.53 ± 0.52 เดือน น้ำหนักเฉลี่ย 8.20 ± 2.65 กก. จำนวน 16 ตัว สุ่มแบ่งแพะออกเป็น 4 กลุ่ม ตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ให้แพะได้รับหญ้าแพงโกล่าแห้งเสริมอาหารข้นที่มีโปรตีน 8, 10, 12, และ 14% ในระดับ 2% ของน้ำหนักตัว ใช้ระยะเวลาทดลอง 104 วัน พบว่า แพะทั้ง 4 กลุ่ม มีปริมาณอาหารที่กินได้ (หญ้าแห้ง อาหารข้น และอาหารทั้งหมด) สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง อินทรียวัตถุ และโปรตีนรวมไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ระดับโปรตีนในอาหารข้นที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้แพะมีปริมาณโปรตีนที่กินได้ (4.49, 5.23, 5.86 และ 6.56 ก./กก.น้ำหนักเมแทบอลิก/วัน ตามลำดับ) สมดุลไนโตรเจน (1.71, 2.29, 3.02 และ 4.56 ก./วัน) และระดับยูเรีย – ไนโตรเจนในเลือด (3.71, 4.38, 6.07 และ 8.81 มก.%) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (20.83, 31.48, 30.56 และ 40.28 ก./วัน ตามลำดับ) เพิ่มขึ้นในรูปแบบของเส้นตรงตามระดับโปรตีนในอาหารข้นที่เพิ่มขึ้น (linear effect : P=0.01) ดังนั้นแพะพื้นเมืองไทยเพศผู้ที่ได้รับหญ้าแพงโกล่าแห้งแบบเต็มที่ ควรได้รับอาหารข้นที่มีโปรตีน 14% และจากการประเมินความต้องการโปรตีนของแพะ พบว่า แพะพื้นเมืองไทยเพศผู้ อายุ 3 - 6 เดือน ต้องการโปรตีน 3.13 (±0.31) ก./กก.น้ำหนักเมแทบอลิก/วัน เพื่อการดำรงชีพ และต้องการโปรตีนเพิ่ม 0.39 (±0.05) ก./กก.น้ำหนักเมแทบอลิกวัน เพื่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 ก.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมปศุสัตว์. 2563. ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และแพะรายภาค (ออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://ict.dld.go.th/webnew/index.php/th/service–ict/report/247report–thailand–livestock. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564.
ขวัญชนก รัตนะ. 2552. ผลของระดับเยื่อในลำต้นสาคูในอาหารข้นต่อการใช้ประโยชน์ของโภชนะ นิเวศวิทยาในกระเพาะรูเมนการเจริญเติบโต และลักษณะซากของแพะพื้นเมืองไทยเพศผู้. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ไชยวรรณ วัฒนจันทร์. 2562. การผลิตแพะเนื้อและเนื้อแพะคุณภาพดี. สงขลา: บริษัท เอสพริ้นท์ (2004) จำกัด.
ธำรง ทองจำรูญ, ถาวร ถมมาลี, สาโรจน์ เดชะพันธ์ และสุรศักดิ์ คชภักดี. 2545. การเจริญเติบโตหลังหย่านมของแพะพันธุ์พื้นเมืองไทย พันธุ์แองโกลนูเบียน และลูกผสมพื้นเมือง-แองโกลนูเบียน ที่เลี้ยง ณ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ยะลา. น. 111-116. ใน: ประชุมวิชาการทางสัตวศาสตร์ภาคใต้ ครั้งที่ 2 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 17-18 สิงหาคม 2545. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
นันทนา มูลมาตย์, ศุภชัย อุดชาชน และ กฤตพล สมมาตย์. 2553. การประเมินคุณค่าทางโภชนะและค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ของรำละเอียด กากเมล็ดนุ่น และกากมะพร้าวในโคเนื้อพื้นเมืองไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 29: 382-388.
นพพงษ์ ศรีอาจ. 2549. ผลของระดับโปรตีนในอาหารข้นที่มีต่อการกินได้และการเจริญเติบโตของแพะพื้นเมืองไทย และลูกผสมพื้นเมืองไทย – แองโกลนูเบียน 50 เปอร์เซ็นต์ เพศผู้ ที่ได้รับข้าวโพดหมักเป็นอาหารหยาบ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปิ่น จันจุฬา, พัชรินทร์ ภักดีฉนวน, ศิริวัฒน์ วาสิกศิริ และ สมพงษ์ เทศประสิทธิ์. 2557. ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อการย่อยได้เมแทบอไลท์ในกระแสเลือด และสมรรถภาพการผลิตของแพะรีดนม. วารสารเกษตร. 30: 191–200.
เมธา วรรณพัฒน์. 2533. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. หจก.ฟันนี่พลับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ.
สุธี รัตนะ, อรษา อรุณสกุล และปิยนันท์ สังขไพฑูรย์. 2554. ค่าทางชีวเคมีของเลือดแพะที่เลี้ยงในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารเกษตร. 27: 283-292.
เศกสรรค์ สวนกูล, อภิชาติ บุญเรืองขาว และ จีระศักดิ์ ชอบแต่ง. 2552. ผลของระดับโปรตีนในอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของแพะพื้นเมืองไทยอายุ 3 เดือน – 1 ปี. น. 44-54. ใน: ผลงานวิจัยการผลิตแพะ. ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ สุราษฎร์ธานี.
อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์, จีระศักดิ์ ชอบแต่ง และเทวัญ จันทร์โคตร. 2555. การประเมินคุณค่าทางโภชนะของหญ้าแพงโกล่าแห้งและหญ้าแพงโกล่าอัดเม็ดที่อายุการตัดต่างๆ ในแพะ. น. 1366-1373. ใน: การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ครั้งที่ 9 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน สาขาสัตว์และสัตวแพทย์ 6-7 ธันวาคม 2555. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นครปฐม.
AFRC. 1988. The Nutrition of Goat. CAB International, New York.
AOAC. 1990. Official Methods of Analysis. 15th edition. Association Official Analytical Chemists, Washington D.C.
Atti, N., H. Rouissi, and M. Mahouachi. 2004. The effect of dietary crude protein level on growth, carcass and meat composition of male goat kids in Tunisia. Small Ruminant Research. 54: 89-97.
Chenost M., and R. Sansoucy. 1991. Nutritional characteristics of tropical feed resources: natural and improved grasslands, crop residues and agro-industrial by-products. Available: https://www.fao.org/ag/aGa/agap
/FRG/AHPP86/Chenost.pdf. Accessed October 29, 2021.
Chobtang, J., S. Prajakboonjetsada, S. Watananawin, and A. Isuwan. 2008. Change in dry matter and nutritive composition of Brachiaria humidicola grown in Ban Thon soil series. Maejo International Journal of Science and Technology. 2: 551–558.
Choi, S.H., S.W. Kim, B.Y. Park, B.D. Sang, Y.K. Kim, J.H. Myung, and S.N. Hur. 2005. Effects of dietary crude protein level on growth and meat quality of Korean native goats. Journal of Animal Science and Technology. 45: 783-788.
Devendra, C., and M. Burn. 1983. Goat Production in the Tropics. Farnham Royal: Commonwealth Agricultural Bureaux.
Intharak, K., and J. Saelim. 2008. Effect of crude protein concentration in total mixed rations on growth performance of Ango-Nubian crossbred goats. P. 246-270. In: Annual Research Report 2008, Animal Nutrition Division. Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperative.
Mandal, A. B., S. S. Paul, G. P. Mandal, A.,Kannan, and N. N. Pathak. 2005. Deriving nutrient requirements of growing Indian goats under tropical condition. Small Ruminant Research. 58(3): 201–217.
Mohsin, I., M. Q. Shahid, M. N. Haque, N. Ahmad, and H. Mustafa. 2019. Effect of dietary protein level on growth and body condition score of male Beetal goats during summer. South African Journal of Animal Science. 49: 898-901.
Negesse, T., M. Rodehutscord, and E. Pfeffer. 2001. The effect of dietary crude protein level on intake, growth, protein retention and utilization of growth male Saanen kids. Small Ruminant Research. 39: 243-251.
NRC. 1981. Nutrient Requirements of Goat: Angora, Dairy and Meat Goats in Temperate and Tropical Countries. National Academy Press, Washington D.C.
NRC. 2000. Nutrient Requirements of Beef Cattle. 7th revised edition. National Academies Press, Washington D. C.
NRC. 2001. Nutrient Requirements of Dairy Cattle. 7th revised edition. Washington, D.C: National Academic Science.
Park, J. H., S. J. Kim, S. Y. Jang, J. W. Lee, Y. S. Yun, and S. H. Moon. 2018. Effects of dietary crude protein levels on intake, digestibility, and crude protein balance of growing Korean native goats (Capra Hircus Coreanae). Journal of Animal and Plant Sciences. 28: 981-988.
Pralomkarn, W., S. Saithanoo, S. Kochapakdee, and B. W. Norton. 1995. Effect of genotype and plane of nutrition on carcass characteristics of Thai native and Anglo-Nubian X Thai native male goats. Small Ruminant Research. 16: 21-25.
Preston, R. L., D. D. Schnakanberg, and W. H. Pfander. 1965. Protein utilization in ruminants. I. Blood urea nitrogen as affected by protein intake. The Journal of Nutrition. 6: 281-287.
Rashid, M. 2008. Goats and their Nutrition: Systematic review of the published literature. Available: http://www.manitobagoats.ca. Accessed May 27, 2019.
Schneider, B. H., and W. P. Flat. 1975. The Evaluation of Feeds Through Digestibility Experiments. The University of Georgia Press, Athens, Georgia.
Stanbio Laboratory. 2020. Stanbio Urea Nitro gen Liquid UV Procedure No. 2020. Available: http://www.stanbio.com. Accessed January 20, 2019.
Steel, R. G. D., and J. H. Torrie. 1980. Principles and Procedures of Statistics (A Biometrics Approach). 2nd edition. McGraw-Hill, New York.
Van Soest, P.J., J.B. Robertson, and B. A. Lewis. 1991. Methods for dietary fiber, neutral detergent fiber and nonstarch polysaccharides in relation to animal nutrition. Journal of Dairy Science. 74: 3583 – 3597.