ปัจจัยที่มีผลต่อการนำเทคโนโลยีการปลูกลำไยแปลงใหญ่ไปปฏิบัติของเกษตรกรในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

Main Article Content

ทิพวัลย์ ธรรมขันแก้ว
บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล
รุจ ศิริสัญลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการลำไยแปลงใหญ่ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำเทคโนโลยีไปปฏิบัติของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการลำไยแปลงใหญ่ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการลำไยแปลงใหญ่จำนวน 220 คน การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดประชุมกลุ่มคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการการสัมภาษณ์เกษตรการระดับครัวเรือน  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ การวิเคราะห์ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 59.5 โดยมีอายุระหว่าง  51 – 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.5 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 50.5 มีหนี้สินการเกษตรเฉลี่ย 145,420.90 บาท ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุ พบว่า มี 3 ตัวแปรที่มีผลต่อการนำเทคโนโลยีไปปฏิบัติของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p < 0.05) ได้แก่ ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการสนับสนุนของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวนช่องทางแหล่งข่าวสารด้านเทคโนโลยีที่เกษตรกรได้รับ และเทคโนโลยีที่เกษตรกรได้รับจากการอบรมในการผลิตลำไยสามารถอธิบายดังนี้ เกษตรกรที่ได้รับข่าวสารผ่านหลากหลายช่องทางเทคโนโลยีจะมีจะมีแนวโน้มการนำเทคโนโลยีไปปฏิบัติในการผลิตลำไยมากกว่าเกษตรกรที่ได้รับข่าวสารเพียงช่องทางเดียว และเกษตรกรที่รับการฝึกอบรมมากเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีจะส่งผลต่อการนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้มากกว่าคนที่เข้าร่วมน้อยครั้ง และเกษตรกรเห็นด้วยกับการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานจะมีแนวโน้มการนำเทคโนโลยีไปปฏิบัติไปปฏิบัติได้มากกว่าเกษตรกรที่ไม่เห็นด้วยหรือเห็นด้วยค่อนข้างน้อย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร.2561. ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่. แหล่งข้อมูล: URL:https://ssnet.doae.go.th/wp-content/uploads/2018/02/1. ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่.pdf. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2561.

พิชญ์ภาส เอี่ยมสะอาด .2556. “ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรใน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน”. การค้นคว้าอิสระสาขาพัฒนาทรัพยากรชนบท มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ภัทรสุดา จบแล้ว, รุจ ศิริสัญลักษณ์, จุฑาทิพย์ เฉลิมผล และ ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. 2562. ทัศนคติของเกษตรกรต่อโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในจังหวัดแพร่. วารสารแก่นเกษตร. 47(ฉบับพิเศษ 1): 447–452.

สุกัญญา อินทะชัย. 2550. ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติ ของที่ปรึกษาเกษตรกร เกี่ยวกับเกษตรดีที่เหมาะสม สำหรับลำไยในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. ข้อมูลการผลิตสินค้า. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/longan60.pdf. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2561.

เทคโนโลยีชาวบ้าน. 2561. ปลูกลำไยแปลงใหญ่ ให้มีผลผลิตคุณภาพดี ณ หุบเขามังกรนครลำไย จ.ลำพูน. แหล่งข้อมูล : URL: https://www.technologychaoban.com/featured/article_68231. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2561.

อดิศักดิ์ พรมเมืองดี. 2553. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกกะหล่ำปลีในตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

มติชนออนไลน์. 2564. แปลงใหญ่ลำไยบ้านโฮ่ง ขานรับนโยบายรัฐรวมกลุ่มเข้มแข็งผลิตลำไยคุณภาพ. แหล่งข้อมูล: URL: https://www.matichon.co.th/publicize/news_609378. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2564.

Supasub, S. 2020. Factors affecting the adaptation of farmers affected by the urban expansion of Chiang Mai city. International Journal of Agricultural Technology. 16(4): 1037-1046.

Yamane, T. 1973. Statistics an Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row Publication, New York.