ลักษณะนิเวศของสวนชาเมี่ยงบ้านศรีนาป่าน ตำบลเรือง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

Main Article Content

วีระชัย ฟองธิวงค์
ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ
ฑีฆา โยธาภักดี
ธัญญรัตน์ เชื้อสะอาด
ศิรินทิพย์ ชัยมงคล

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะนิเวศของสวนชาเมี่ยงบ้านศรีนาป่าน ตำบลเรือง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะนิเวศของสวนเมี่ยงด้านคุณสมบัติดิน โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบในพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน 4 พื้นที่ประกอบด้วย พื้นที่หย่อมป่า พื้นที่สวนเมี่ยง พื้นที่เกษตร และพื้นที่สวนหลังบ้าน วางแปลงศึกษาด้วยวิธี Stratified Random Sampling ขนาดแปลงย่อยเท่ากับ 10 เมตร x 10 เมตร จำนวน 3 แปลงย่อย ในแต่ละพื้นที่ (จำนวนซ้ำของพื้นที่หย่อมป่า พื้นที่สวนเมี่ยง พื้นที่เกษตร และพื้นที่สวนหลังบ้าน เท่ากับ 1, 5, 3, 3 ซ้ำ ตามลำดับ) ทำการศึกษา ไม้ยืนต้นในพื้นที่สวนเมี่ยงโดยจัดทำการจำแนกไม้ยืนต้นทุกชนิดที่พบ ศึกษาคุณสมบัติดินโดยทำการเก็บตัวอย่างดิน ดินชั้นบน (0-5 เซนติเมตร) และดินชั้นล่าง (20-25 เซนติเมตร) วิเคราะห์คุณสมบัติดินทางเคมี และกายภาพ ผลการศึกษาพบว่า คุณสมบัติของดินทางเคมีที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร ในหย่อมป่าและสวนเมี่ยงมีค่า pH เป็นกรดจัด ธาตุอาหารหลักใกล้เคียงกัน ส่วนธาตุอาหารรองแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ความแข็งของดิน และความชื้นของดิน มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ทั้ง 4 พื้นที่ องค์ประกอบพรรณไม้ในสวนเมี่ยง พบพรรณไม้จำนวน 14 ชนิด 14 สกุล 11 วงศ์ ดัชนีความหลากหลายของ Shannon-Weiner เท่ากับ 0.16 ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นในพื้นที่สวนเมี่ยงน้อย เพราะมีการจัดการพื้นที่สวนเมี่ยงโดยเจ้าของแปลงมีการลิดกิ่ง และเปิดช่องว่างให้มีแสงในพื้นที่สวนเมี่ยงได้เพียงพอ ดังนั้น การใช้ประโยชน์ที่ดินสวนชาเมี่ยงยังสามารถสร้างรายเสริมให้กับเกษตรกรได้ และสวนเมี่ยงมีลักษณะนิเวศในด้านคุณสมบัติของดินใกล้เคียงกับป่า เป็นระบบวนเกษตรแบบดั้งเดิมที่สามารถฟื้นฟูป่ารักษาระบบนิเวศต้นน้ำได้อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ 2555. รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่องการจัดการของป่า (มะขามป้อมและยางรัก) ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ.

พรชัย ปรีชาปัญญา, ชลาธร จูเจริญ, มงคล โภไคยพิพัฒน์ และกาญจนา ขันคำ. 2546. การจัดการลุ่มน้ำป่าเมี่ยงโดยชุมชนมีส่วนร่วม สถานีวิจัยลุ่มน้ำดอยเชียงดาว กลุ่มวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม.

พรชัย ปรีชาปัญญา และพงษศักดิ์ สหุนาฬุ. 2542. รายงายฉบับสมบูรณ์ เรื่องการภูมิปัญญาชาวป่าเมี่ยง (ชา) เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการจัดการลุ่มน้ำที่สูงภาคเหนือ ประเทศไทย. สถานีวิจัยลุ่มน้ำดอยเชียงดาว.

สายลม สัมพันธ์เวชโสภา, พนม วิญญายอง, ธีรพงษ์ เทพกรณ์ และประภัสสร ดำรงรงกุล อึ้งวณิชยพันธ์. 2551. การศึกษาสถานภาพปัจจุบันของชาในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อุทิศ กุฎอินทร์. 2542. นิเวศวิทยาพื้นฐานเพื่อการป่าไม้. กรุงเทพฯ: ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Sasaki A., 2008. Changes in the Management System of the Resources in the ‘Miang Tea Gardens’: A Case Study of PMO Village, Northern Thailand. Graduate School of Agriculture, Kyoto University.

Sakurai K., B. Puriyakorn, P. Preechapanya, V. Tanpibal, K. Muangnil, and B. Prachaiyo. 1995. Improvement of Biological Productivity in Degraded Lands in Thailand III. Tropics. 4 (2/3): 151-172.

Lattirasuvan, T., S. Tanaka, K. Nakamoto, D. Hattori, and K. Sakurai. 2010. Ecological characteristics of home gardens in Northern Thailand. Tropics. 18: 172-184.

Preechapanya. P. 1996. Indigenous Ecological Knowledge about the Sustainability of tea gardens in the hill Evergreenforest of northern Thailand. Ph.D. Thesis, School of Agricultural and Forest Sciences, University of Wales, Bangor, UK.

Tanaka S., T. Lattirasuvan, K. Nakamoto, C. Sritulanon, and K. Sakurai. 2010. Soil fertility status under various types of upland farming in northern Thailand. I. A case study of a village located in a transitional zone of hill evergreen and mixed deciduous forests. Tropics. 18: 185-199.