ผลของสัดส่วนวัสดุเพาะต่อการเจริญและผลผลิตของเห็ดมิลค์กี้
Main Article Content
บทคัดย่อ
เห็ดมิลค์กี้เป็นเห็ดขนาดใหญ่ที่สามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย แต่เห็ดมิลค์กี้มีการเจริญช้า จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสูตรอาหารเพาะให้ส่งเสริมการเจริญของเชื้อเห็ดมิลค์กี้ ผลการทดลองในขวดหัวเชื้อ พบว่าสูตร 7 (เมล็ดข้าวฟ่าง 75 กรัม + เมล็ดข้าวเปลือก 25 กรัม + กลูโคส 1 กรัม) และสูตร 6 (เมล็ดข้าวฟ่าง 100 กรัม + กลูโคส 1 กรัม) มีการเจริญครอบครองวัสดุเพาะได้เร็วกว่าสูตร 1 (เมล็ดข้าวฟ่าง 100 กรัม) ที่ใช้กันทั่วไป การขยายเชื้อเห็ดมิลค์กี้ในถุงพลาสติกพบว่าสูตร 7 (ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 70% + ต้นสับปะรดป่น 20% + รำข้าว 5% + กากถั่วเหลืองป่น 5%) และสูตร 2 (ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 70% + ต้นสับปะรดป่น 20% + รำข้าว 10%) ที่ผสมกับต้นสับปะรดป่น 20% ทำให้เส้นใยของเชื้อเห็ดมิลค์กี้เจริญเป็นตุ่มดอกได้เร็วกว่าสูตร 1 (ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 90% + รำข้าว 10%) และทำให้ผลผลิตเห็ดมิลค์กี้ในสูตร 7 (229.40 กรัม/กระถาง) และสูตร 2 (190.90 กรัม/กระถาง) มากกว่าสูตร 1 (135.70 กรัม/กระถาง) สำหรับสัดส่วนของฟางข้าวและต้นสับปะรดสับต่อผลผลิตเห็ดในถุงปลูก พบว่าการใช้ฟางข้าว 75% ผสมต้นสับปะรดสับ 25% ให้ผลผลิตเห็ดมิลค์กี้มากสุดที่ 354.33 กรัม/ถุงปลูก รองลงมาคือฟางข้าว 100% และฟางข้าว 50% ผสมต้นสับปะรด 50% ที่ให้ผลผลิตเห็ด เท่ากับ 194.33 และ 156.67 กรัม/ถุงปลูก ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิต (P<0.01)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจน์เจริญ ศรีอ่อน. 2561. ผลของปริมาณรำข้าวและจำนวนก้อนเชื้อเห็ดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเห็ดมิลค์กี้. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 49(2): 193-206.
จารุภา ศรีนาค, รสสุคนธ์ ศรีสุขใจ, วาสนา อยู่มั่น และอุรนิตย์ ผาจันทร์. 2555. การเพาะเห็ด (นางฟ้าภูฐาน) ด้วยกากใยสับปะรดจากโรงงานทิปโก้ฟูดส์ จำกัด. ปัญหาพิเศษ สาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
ณัฐภูมิ สุดแก้ว และคมสัน หุตะแพทย์. 2552. การเพาะเห็ดสวนครัว. สำนักพิมพ์เกษตรธรรมชาติ, กรุงเทพฯ.
นันทินี ศรีจุมปา และศิรากานต์ ขยันการ. 2554. การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อการผลิตเห็ด. วารสารวิชาการเกษตร. 29(2): 108-118.
ปรัชญา ปรัชญาลักษณ์, มนตรี เชาวลิต และประเสริฐ กาลวิบูลย์. 2542. การใช้ต้นและใบสับปะรดเสริมหญ้าสดในอาหารโครีดนม. น. 143-152 ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ปัณณวิชญ์ เย็นจิตต์, ธิดา เดชฮวบ และวาริน อินทนา. 2561. การประยุกต์ใช้ร่วมกันของผงเชื้อ Trichoderma sp. และ Bacillus sp. ต่อการ ควบคุมโรคเมล็ดด่างที่เกิดจาก Bipolaris oryzae ในข้าว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 49(1): 15-26.
รัฐพล ศรประเสริฐ, อนงคณ์ หัมพานนท์, กิตติพล กสิภาร์ และพยง แสนกมล. 2560. เปรียบเทียบการเพาะเห็ดตีนแรด (Macrocybe crassa (Berk.) ด้วยอาหาร 6 สูตร. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 34(3): 1-12.
วรรณา สุวรรณวิจิตร. 2546. ผลของอาหารเสริมบางชนิดที่มีต่อผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการของเห็ดเป๋าฮื้อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2558. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.8802-2558 กากถั่วเหลือง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Josephine, R. M., and B. Sahana. 2014. Cultivation of Milky mushroom using paddy straw waste. International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences. 3(12): 404-408.
Katiyar, S., G. Singh, M. Kumar, S. Kumar, and A. Soam. 2018. Effect of different sugars on spawn growth (mm) of milky mushroom (Calocybe indica). Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry. 7(5): 595-597.
Kent, N. L. 1983. Technology of Cereals. 3rd Edition. Pergamon Press, Oxford.
Sint, Y. Y. , and M. M. Moe. 2017. Study on mycelium growth of Calocybe indica P&C (milky mushroom) on different substrates. P. 1-20. In: 1st Myanmar-Korea Conference. Botany Department, Dagon University, Myanmar.
Srivastava, A. K. 2015. Studies on production technology and casing quality of milky mushroom (Calocybe indica). Ph. D. thesis, College of Agriculture, SVPUAT Meerut.
Subbiah, K. A., and V. Balan. 2015. A comprehensive review of tropical milky white mushroom (Calocybe indica P&C). Mycobiology. 43(3): 184-194.
Vijaykumar, G., P. John, and K. Ganesh. 2014. Selection of different substrates for the cultivation of Milky mushroom (Calocybe indica P&C). Indian Journal of Traditional Knowledge. 13: 434-436.
Zainuddin, M. F., R. Shamsudin, M.N. Mokhtar, and D. Ishmail. 2014. Physicochemical properties of pineapple plant waste fiber from the leaves and stems of different varieties. BioResource. 9(3): 5311- 5324.