อิทธิพลของน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียต่อขนาดและความหนาแน่นของรากแสมทะเล (Avicennia marina) ในพื้นที่ป่าชายเลนของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ศศิพิมพ์ หนูแก้ว
นฤชิต ดำปิน
สามัคคี บุณยะวัฒน์
สตรีไทย พุ่มไม้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียที่มีต่อขนาดและความหนาแน่นของรากแสมทะเล (Avicennia marina) บริเวณป่าชายเลนด้านหน้าโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการศึกษาใน 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ป่าชายเลนธรรมชาติหรือพื้นที่อ้างอิง (A) และพื้นที่ป่าชายเลนที่ได้รับน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสีย (B) ผลการศึกษาพบว่ารากแสมทะเลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 0.63±0.10 เซนติเมตร มีความสูงเฉลี่ย 25.78±4.53 เซนติเมตร และมีความหนาแน่นเฉลี่ย 163.46±75.17 ราก/ตร.ม. เมื่อเปรียบเทียบรากแสมทะเลใน 2 พื้นที่ พบว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของรากแสมทะเลในพื้นที่ที่ได้รับน้ำทิ้ง (B) มีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่อ้างอิง (A) อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยมีค่าเฉลี่ย 0.70±0.10 และ 0.56±0.05 เซนติเมตรตามลำดับ ส่วนความสูงและความหนาแน่นของรากแสมทะเลบริเวณโซนขอบป่าชายเลนติดทะเล (zone 1) มีค่าเฉลี่ยมากกว่าโซนในป่าชายเลน (zone 2) โดยมีความสูงเฉลี่ย 29.05±3.08 และ 22.51±3.18 เซนติเมตรตามลำดับ มีความหนาแน่นเฉลี่ย 233.87±8.36 และ 93.06±29.07 ราก/ตร.ม. ตามลำดับ เมื่อศึกษาอิทธิพลของน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียที่มีต่อขนาดและความหนาแน่นของรากแสมทะเล พบว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของรากแสมทะเลมีความสัมพันธ์กับปริมาณธาตุอาหารที่พบในน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ในขณะที่ความสูงและความหนาแน่นของรากแสมทะเลมีความสัมพันธ์กับขนาดลำต้นและพื้นที่การปกคลุมเรือนยอดของต้นแสมทะเล และยังสัมพันธ์กับความสูงของระดับน้ำทะเลท่วม รวมถึงช่วงระยะเวลาในการท่วมของน้ำทะเลอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมควบคุมมลพิษ. 2560. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล. กรุงเทพฯ.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. 2552. พันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุงใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 3. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. 2556. คู่มือความรู้เรื่องป่าชายเลน. พิมพ์ครั้งที่ 5. บริษัท พลอยมีเดีย จำกัด, กรุงเทพฯ.

ฐิติกร บุญทองใหม่. 2563. อิทธิพลของน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนต่อจำนวนประชากรและการแพร่กระจายของปูแสม Episesarma versicolor, E. mederi และ E. singaporensis ในป่าชายเลนโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ทิฆัมพร อรุณศรีประดิษฐ์. 2553. การศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการที่มีผลต่อการเติบโตของไม้แสมขาวและแสมทะเล. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ธนวัฒน์ จินจารักษ์. 2557. สมดุลน้ำในระบบบ่อผึ่งบำบัดน้ำเสียของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ผสุดี สุขพิบูลย์. 2558. การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมบริเวณชายฝั่งจากการทับถมของตะกอนดินและความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้. 2552. สังคมพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เรขา ชนิตรบวร, นฤชิต ดำปิน และเกษม จันทร์แก้ว. 2561. การสะสมธาตุอาหารพืชบางชนิดในส่วนต่าง ๆ ของไม้แสมทะเล บริเวณพื้นที่รองรับน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวนศาสตร์. 37: 71-83.

ลิลลี่ กาวีต๊ะ. 2560. โครงสร้างพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วิชิตพล มีแก้ว, ณัฐพล ขันธปราบ และสุรศักดิ์ ละลอกน้ำ. 2553. การปรับตัวของพืชภายใต้ภาวะที่มีความเค็ม. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 10: 28-37.

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2548. สรีรวิทยาพืช (Plant physiology). ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สมานใจ มั่นศิลป์ และพรทิพย์ ฝอยวารี. 2552. โครงการสำรวจโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 1 (จ.ชลบุรี). สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, กรุงเทพฯ.

สิทธิชัย มณีรัตน์. 2554. ประสิทธิภาพของกล้าไม้โกงกางใบใหญ่และแสมทะเลในการบำบัดบีโอดีในน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งเพื่อลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้ง ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อรทัย จิตไธสง. 2555. การศึกษาผลของน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนต่อการเติบโตและชีพลักษณ์ของป่าชายเลนบริเวณโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

American Public Health Association. 2017. Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater. 23th Edition. American Public Health Association, American Water Works Association, and Water Environment Federation, Washington, DC.

Boontongmai, T. 2020. Effect of Effluent from the Community Wastewater Treatment System for Population and

Distribution of Episesarma versicolor, E. mederi and E. singaporensis in Mangrove Forest front of King’s

Initiated Laem Phak Bia Environmental Research and Development Project. M. S. Theisis. Kasetsart

University, Bangkok.

Hao, S., W. Su, and Q.Q. Li. 2020. Adaptive roots of mangrove Avicennia marina: Structure and gene expressions analyses of pneumatophores. Science of The Total Environment. 757: 143994.

Jinjaruk, T. 2014. Water Balance in Oxidation Pond System at The King’s Royally Initiated Laem Phak Bia

Environmental Research and Development Project, Phetchaburi Province. M. S. Thesis. Kasetsart University, Bangkok.

Marek, P. 2019. Mangrove roots. Available: http://www.mangrove.at/mangrove_roots.html. Accessed March 4, 2020.

Su, Y.M., Y.F. Lin, S.R. Jing, and P.C. Lucy Hou. 2011. Plant growth and the performance of mangrove wetland microcosms for mariculture effluent depuration. Journal of Marine Pollution Bulletin. 62: 1455-1463.

Wu, Y., A. Chung, N.F.Y. Tam, N. Pi, and M.H. Wong. 2008. Constructed mangrove wetland as secondary treatment system for municipal wastewater. Journal of Ecological engineering. 34: 137-146.

Yan, Z., W. Wang, and D. Tang. 2007. Effect of different time of salt stress on growth and some physiological Process of Avicennia marina seedlings. Marine Biology. 152(3): 581-587.