ผลของการพรางแสงต่อการเติบโตและคุณภาพหัวของทิวลิปพันธุ์ Strong Gold ที่ปลูกบนพื้นที่สูงของเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทิวลิปเป็นไม้ดอกประเภทหัวที่สำคัญทางการค้า มีมูลค่าซื้อขายในตลาดโลกประมาณปีละ 215 ล้านยูโรต่อปี แม้ว่าสภาพแสงและอุณหภูมิบนพื้นที่สูงในประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตหัวพันธุ์ทิวลิป แต่อาจมีความจำเป็น ต้องปรับสภาพแสงให้สัมพันธ์กับอุณหภูมิ อย่างไรก็ตามผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องยังมีรายงานอยู่น้อย ดังนั้นการทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพรางแสงที่ส่งผลต่อการเติบโต การสร้างหัว และการสังเคราะห์แสงของทิวลิป พันธุ์ Strong Gold โดยศึกษาการพรางแสง 3 ระดับได้แก่ 1)ไม่พรางแสง (ความเข้มแสงเฉลี่ย 568.67 µmol/m2/s2) 2)พรางแสงด้วยตาข่าย 50% (ความเข้มแสงเฉลี่ย 388.09 µmol/m2/s2) และ 3)พรางแสงด้วยตาข่าย 70% (ความเข้มแสงเฉลี่ย 100.09 µmol/m2/s2) ที่ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ บนความสูงประมาณ 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล อุณหภูมิเฉลี่ยช่วงการทดลอง 25.4 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ช่วงการทดลอง 63.9 % วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์จำนวน 3 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 20 ซ้ำ ซ้ำละ 1 หัว บันทึกข้อมูล ความสูงต้น จำนวนใบต่อต้น ค่าความเขียวใบ ค่าอัตราการสังเคราะห์แสง อัตราการเปิดปิดปากใบ อัตราการคายน้ำ น้ำหนักสดของหัว น้ำหนักแห้งของหัว จำนวนหัวใหม่ต่อต้น วิเคราะห์ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่โครงสร้างตามวิธีของ Whistler (1964) ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีที่พรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้หัวพันธุ์มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่โครงสร้าง น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของหัวพันธุ์เฉลี่ย สูงที่สุด คือ 227.1 กรัมต่อหัว 9.37 และ 3.01 กรัม ตามลำดับ ส่วนจำนวนหัวใหม่ที่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกับกรรมวิธีอื่น ดังนั้นการพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์ จึงเหมาะสมต่อการปลูกทิวลิปบนพื้นที่สูงเพื่อผลิตหัวบนพื้นที่สูงของเชียงใหม่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ดนัย บุญยเกียรติ. 2563. สรีรวิทยาของพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
วาริน สุทน. 2562. ผลของการพรางแสงต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและปริมาณสารเคอร์คูมินในไพล. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 22: 146-156.
วาสนา ใจกล้า. 2556. เทคโนโลยีการผลิตปทุมมานอกฤดูกาล. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
โสระยา ร่วมรังษี. 2558. สรีรวิทยาไม้ดอกประเภทหัว. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
De Hertogh, A., and M. Le Nard. 1993. Physiological and biochemical aspects of flower bulbs. Elsevier, AMS.
Edwards D., and L Axe. 1992. Stomata and mechanics of stomatal functioning in some early land plants. Courier Forschungsinstitut. 147: 59 – 73.
Whistler, R. L. 1964. Methods in carbohydrate chemistry. Academic Press, New York.
Ju, P. and R. Zhu. 2015. Influence of different light intensities on growth and flowering of tulips (Tulipa gesneriana). Acta Agriculturae Jiangxi. 12: 33 – 36.
Kittas, C., N. Rigakis, N. Katsoulas, and T. Bartzanas., 2009. Influence of shading screens on microclimate, growth and productivity of tomato. Acta Hort. 807: 97 – 102.
Krause, G.H., and E. Weis. 1991. Chlorophyll fluorescence and photosynthesis: The Basics. Annual review of plant physiology and plant molecular biology. 42: 313 – 349.
Kumar, S., and S. M. K. 2019. Effect of light condition and height of flower harvesting on bulb and bulblet production in Asiatic hybrid lily. Journal of Applied Horticulture. 21(2): 164 – 168.
Mohr, H., and P. Schopfer. 1995. Plant Physiology. Springer, Berlin.
Rees, A.R. 1972. The Growth of Bulbs: Applied Aspects of the Physiology of Ornamental Bulbous Crop Plants. Academic Press, New York.
Statista. 2020. Value of the import and export of tulip bulbs in the Netherlands from 2008 to 2019. Available: https://www.statista.com/statistics/581482/value-of-the-import-and-export-of-tulip-bulbs-in-the-netherlands. Accessed Jan. 19, 2021.
Hongjian, X., Z. Zhu, Q. Guo, Z. Wu, H Ma, and Y. Miao. 2012. Effects of light intensity on growth and photosynthetic characteristics of Tulipa edulis. China Journal of Chinese Materia Medica. 37: 442 – 446.
Wassink, C. 1972. An attempt at separating productive and morphogenetic effects in the growth of some bulb plants. Veenman. 2: 72 – 31.