ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 120 ราย โดยการสอบถามสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญหรือตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ รวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า พบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 8 ด้าน ในภาพรวมมีผลต่อการตัดสินใจในระดับมาก ดังนี้ 1) ด้านทรัพยากรธรรมชาติ (ค่าเฉลี่ย 2.66) 2) ด้านความต้องการส่วนบุคคล (ค่าเฉลี่ย 2.52) 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (ค่าเฉลี่ย 2.48) 4) ด้านที่พัก (ค่าเฉลี่ย 2.42) 5) ด้านคมนาคม (ค่าเฉลี่ย 2.40) 6) ด้านภาวะเศรษฐกิจของนักท่องเที่ยว/ครอบครัว (ค่าเฉลี่ย 2.35) 7) ด้านสินค้าและบริการ (ค่าเฉลี่ย 2.33) และ 8) ด้านการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร(ค่าเฉลี่ย 2.14) ชี้ให้เห็นว่าอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวอย่างที่ดี เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว และสามารถให้บริการด้านการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี จนสร้างความพึงพอใจให้แก่นักท่องเที่ยวได้ในระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ในภาพรวมมีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.14) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวพบว่าเพศ และรายได้ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่แตกต่างกันในประเด็นดังต่อไปนี้ 1) นักท่องเที่ยวที่มีเพศแตกต่างกันมีการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงเกษตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จำนวน 2 ประเด็น ได้แก่ ถนนหนทางสะดวก และแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามบรรยากาศดี และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ประเด็น คือ มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและกิจกรรมการเกษตรที่น่าสนใจ 2) นักท่องเที่ยวที่มีรายได้แตกต่างกันมีการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงเกษตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ประเด็น ได้แก่ มีแผนที่ปรากฏใน google map และต้องการเห็นวิถีชีวิตที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำคนอื่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 จำนวน 1 ประเด็น คือ มีจุดพักรถ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จำนวน 1 ประเด็น คือ ที่พักสะอาด และสวยงาม ซึ่งชี้ให้เห็นว่านักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกจึงควรมีการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มาในพื้นที่ และที่สำคัญปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวมากที่สุดคือปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นควรสร้างมีการวางแผนอนุรักษ์ทรัพยากรร่วมกับผู้ประกอบการและชุมชนเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้อย่างยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการท่องเที่ยว. 2557. คู่มือการประเมินมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว.http://www.tourism.go.th/2010/th/standard/index.php?side=25. ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2561.
กรมการท่องเที่ยว. 2560. สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา. แหล่งข้อมูล: http://www.tourisminvest.tat.or.th/index.phpoption=com.content&view=article&id =83&I temid=225&lang=th. ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2561.
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพืชพันธุ์. 2556. อุทยานแห่งชาติทับลาน. แหล่งข้อมูล: http://www.park.dnp.go.th/dnp/research/TL1.pdf. ค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2561.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2555. สถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรม. แหล่งข้อมูล: http://www.thai.tourismthailand.org. ค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2561.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2557. แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา. แหล่งข้อมูล: https://www.thai.tourismthailand.org/home. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2561.
เดชาธร เงินทองแดง. 2557. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมและธรรมชาติ ในจังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด, กรุงเทพ.
ทราตรี ศรีรักษา, และปรีดาภรณ์ กาญจนสําราญวงศ์ 2558. ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวอุทยานนกนํ้า ทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง. น. 48-58. ใน: ประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 1 มิถุนายน 2558. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, นครราชสีมา.
นงเยาว์ พรหมประสิทธิ์, ชูตา ประโมจนีย์, และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. 2556. ปัญหาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. น. 8-13. ใน: การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่องการวิจัยเพื่อสังคมไทย 10 พฤษภาคม 2556. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
นิศา ชัชกุล. 2555. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism industry). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์, กรุงเทพฯ.
พรประภา ชัยอนุกูล. 2557. คุณภาพการให้บริการของสถานทีท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริการธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร์ และคณะ. 2559. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. แหล่งข้อมูล: https://www.mba.kku.ac.th/journal /allimages/pdf/C8mzeR6yAG_14. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2561.
สมหลาย เสถียรธรรมวิทย์. 2554. ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อตลาดน้ำคลองลัดมะยมในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริการธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
สิรัชญา วงษ์อาทิตย์, และยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. 2559. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีตของนักท่องเที่ยวชาวไทย. น. 115-131. ใน: ประชุมวิชาการวิทยาลัยดุสิตธานี. ครั้งที่10 เรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนา 2 มิถุนายน 2559. วิทยาลัยดุสิตธานี.
สิริญญา ชาติเผือก, และบุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. 2562. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่ออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา และอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. น. 134-153. ใน: ประชุมวิชาการวิทยาลัยดุสิตธานี. ครั้งที่10 เรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนา 2 มิถุนายน 2559. วิทยาลัยดุสิตธานี.
สุทิศา รัตนวิชา. 2555 การพัฒนาการท่องเที่ยวอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. แหล่งข้อมูล: http://journal.human.cmu.ac.th/ojs//files/journals/1/articles/46/public/46-211-1-PB.pdf. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2561.
Maslow, A.H. 1970. Mativation and Personanlity. New York: Harper & Row.
Parasuraman, Zaithamal, and Berry. 1994. Reassessment of Expectations as a Comparison Standard in Measuring Service Quality. Journal of Marketing. 58: 24-111.