การเพิ่มมูลค่าเนื้อหอยจากเศษเหลือทิ้งทางการประมงสู่การผลิตอาหารเลี้ยงปูม้า

Main Article Content

ทิพย์สุดา ชงัดเวช
รุ่งกานต์ กล้าหาญ

บทคัดย่อ

การศึกษาการเพิ่มมูลค่าเนื้อหอยจากเศษเหลือทิ้งทางการประมงสู่การผลิตอาหารเลี้ยงปูม้า ใช้เนื้อหอยบดละเอียด 3
ชนิด ได้แก่ เนื้อหอยโมฬี เนื้อหอยหนามทุเรียน และเนื้อหอยสังข์หนามเล็ก อัตราส่วน 3 : 2 : 1 ของ % ที่ผสมเนื้อหอยในแต่ละชุดการทดลอง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ได้แก่ ชุดการทดลองที่ 1 อาหารควบคุม (T1), ชุดการทดลองที่ 2 (T2), 3 (T3) และ 4 (T4) เป็นอาหารที่ผสมเนื้อหอย 10, 20 และ 30 % ตามลำดับ เลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียน แบบแยกเลี้ยงเดี่ยว 1 กล่อง/ 1 ตัว ใช้ปูม้าจำนวน 9 ตัว/ซ้ำ ปูม้ามีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 2.35±0.07 กรัม/ตัว ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง อัตรา 5 %  ของน้ำหนักตัว ทดลอง 12 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า ปูม้าที่เลี้ยงด้วยอาหาร T3 มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (249.68±82.13 %), SCG (1.39±0.25 % /วัน), ADG (0.18±0.23 กรัม/วัน), ความถี่ในการลอกคราบ (1.93±0.17 ครั้ง/ตัว) และอัตราการรอดตาย (96.30±6.42 %) ดีกว่าชุดการทดลองอื่น (P<0.05) ส่วนประสิทธิภาพการใช้อาหาร พบว่า ปูม้าที่เลี้ยงด้วยอาหาร T3 TFI (2.51±0.47 กรัม/ตัว) และ DFI (4.71±0.75 % /วัน) น้อยกว่าชุดการทดลองอื่น (P<0.05) แต่มี PER (0.61±0.17 %) และ FCR (3.44±1.08) ดีกว่าชุดการทดลองอื่น (P<0.05) ส่วนทางด้านผลผลิต พบว่า ปูม้าที่เลี้ยงด้วยอาหาร T3 ให้ผลผลิต (8.35±1.34 กรัม/กล่อง) ดีกว่าชุดการทดลองอื่น (P<0.05) ส่วนการเลี้ยงปูม้าด้วยอาหาร T1 และ T3
มีต้นทุนผลผลิต (P>0.05) เท่ากับ 206.27±2.66 และ 187.20±10.93 บาท/กก. ตามลำดับ น้อยกว่าชุดการทดลองอื่น (P<0.05) และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (P>0.05) เท่ากับ 1.70±0.02 และ 1.87±0.11 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าชุดการทดลองอื่น (P<0.05) ดังนั้นการผลิตอาหารเลี้ยงปูม้าสามารถใช้เนื้อหอยจากเศษเหลือทิ้งทางการประมงเพื่อเป็นแหล่งทดแทนโปรตีนหลักจากปลาป่นได้ที่ระดับ 20 %  ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ใช้ต้นทุนผลผลิตน้อยแต่ให้อัตราส่วนผลตอบแทนสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง. 2563. สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2561. แหล่งข้อมูล:

https://opendata.nesdc.go.th/dataset/74fba229-ed6e-4cbf-8f0c-5d26893f6f93/resource/75f18e78-6a9b-45e1-b223-6f481f6b575b/download/-2561.pdf. ค้นเมื่อ 26 เมษายน 2564.

ฐานิต ต้นสาลี, พรนิภา ล้อมน้อย และทิพย์สุดา ชงัดเวช. 2561. สถานการณ์การทำประมงปูม้า ตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. น. 468-471. ใน: ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล ครั้งที่ 6 18-20 มิถุนายน 2561. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

นรินทร ใหม่วัด. 2557. แกะเปลือก ปูม้า. แหล่งข้อมูล: http://www.nicaonline.com/index.php?option=com _content&view=article&id=1523:2. ค้นเมื่อ ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2557.

นิคม ละอองศิริวงศ์. 2562. คู่มือวิเคราะห์น้ำ เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม. หจก. วนิดาการพิมพ์, เชียงใหม่.

บรรจง เทียนส่งรัศมี. 2551. ถอดรหัสปูม้า. กรุงเทพมหานคร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.).

บุญรัตน์ ประทุมชาติ. 2559. การพัฒนาอาหารเม็ดสำเร็จรูปเพื่อเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus) โดยพิจารณาจากขนาดและระดับโปรตีน. แหล่งข้อมูล: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/1234567890/2037/2563_045. pdf?sequence=1&isAllowed=y. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564.

มนทกานติ ท้ามติ้น, สุพิศ ทองรอด, ชัชวาลี ชัยศรี และสิริพร ลือชัยชัยกุล. 2555. การทดสอบอาหารสูตรการทดลองต่อการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798) ในบ่อดิน. แหล่งข้อมูล: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/257715. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562.

มนทกานติ ท้ามติ้น, สุพิศ ทองรอด และสิริพร ลือชัยชัยกุล. 2551. ระดับโปรตีนที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโต ของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ถึงระยะ 10 กรัม. แหล่งข้อมูล: https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20170301080130_file.pdf. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564.

รังสรรค์ สร้อยสม. 2562, มิถุนายน, 15. ผู้จัดการภาคกลาง ฝ่ายการตลาด บริษัทเอเชี่ยนฟีด จำกัด. บริษัทเอเชี่ยนฟีด จำกัด. สัมภาษณ์.

วารินทร์ ธนาสมหวัง, สง่า สิงห์หงส์ และชัยยุทธ พุทธิจุน. 2547. ปริมาณการลำเลียงตับปิ้งปูม้า (Portunus pelagicus) ต่ออัตราการฟักของไข่. แหล่งข้อมูล: https://www.fisheries.go.th/cf-chan/Paper/crab/36-2547-bluecrab-transport-page.htm. ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2562.

วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม, วาสนา อากรรัตน์ และสุทิน สมบูรณ์. 2562. การพัฒนาอาหารเม็ดสำเร็จรูปสำหรับการเลี้ยงขุนปูทะเล (Scylla spp.). น. 338-346. ใน: การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 57 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2562. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ.

ศิริภรณ์ โคตะมี, เพ็ญพรรณ ศรีสกุลเตียว และสมสมร แก้วบริสุทธิ์. 2556. องค์ประกอบแร่ธาตุหลักในน้ำทะเลเปรียบเทียบกับน้ำเกลือสินเธาว์เพื่อการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม. แก่นเกษตร. 41(4): 419-424.

ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจสัตว์น้ำเขต 2. 2561. การวิเคราะห์เส้นทางการนำเข้า-ส่งออกสัตว์น้ำ 6 ชนิด ที่มีการนำเข้า-ส่งออกผ่านทางจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร ด่านตรวจสัตว์น้ำ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. แหล่งข้อมูล:

https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20180215083407_1_file.pdf. ค้นเมื่อ 26 เมษายน 2564.

สุภฎา คีรีรัฐนิคม, อานุช คีรีรัฐนิคม, กฤษณะ เรืองคล้าย และพันธสิทธิ์ โชคสวัสดิกร. 2551. การใช้หอยเชอรี่ป่นเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนในอาหารกุ้งขาว. แหล่งข้อมูล: http://kb.tsu.ac.th/jspui/handle/123456789/1234. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2564.

อรพินท์ จินตสถาพร. 2547. กลยุทธ์การกำจัดหอยเชอรี่โดยการใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำ. แหล่งข้อมูล: http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/47_1/14/14.htm. ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2562.

อรพินท์ จินตสถาพร, ประทักษ์ ตาบทิพย์วรรณ, และสุธาจรี เย็นมาก. 2547. การใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่นในอาหารกุ้งก้ามกราม (Macrobranchium rosenbergii). น. 181-189. ใน: การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42 3-6 กุมภาพันธ์ 2547. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

โกวิทย์ คชพันธ์ และ อนันต์ ปานพันธ์. 2562. การจับปูม้า. 20 พฤษภาคม 2563. ชาวประมง ตำบลหาดเจ้าสำราญ. การสัมภาษณ์.

AOAC. 2010. Official methods of analysis of association of official analytical chemists. 18th Edition, Washington, DC.

Chabchoub, E.S., M.H. Ben, O. Baroudi, N. Ayed, A.M. El, and N. Marrakchi. 2014. Comparative Study of Nutritional Values of Edible Viscera Mediterranean Mollusks Gastropods Hexaplex trunculus and Bolinus brandaris.

Hypobranchial glands inhibit Human Glioblastoma U87 Tumor Cells Adhesion and Proliferation. International Journal of Basic and Applied Sciences. 3(3): 307-316.

Guzman, C., G. Gaxiola, C. Rosa, and A. Torre-Blanco. 2001. The effect of dietary protein and total energy content on digestive enzyme activities, growth and survival of Litopenaeus setiferus (Linnaeus 1767) postlarvae. Aquaculture Nutrition. 7: 113-122.

Kunsook, C., N. Gajaseni, and N. Paphavasit. 2014. The feeding ecology of the blue swimming crab, Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758), at Kung Krabaen Bay, Chanthaburi Province, Thailand. Tropical Life Sciences Research. 25(1): 13–27.

Moss, A.S., S. Koshio, M. Ishikawa, S. Yokoyama, T.H. Nhu, M.A.O. Dawood, and W. Wang. 2018. Replacement of squid and krill meal by snail meal (Buccinum striatissimum) in practical diets for juvenile of kuruma shrimp (Marsupenaeus japonicus). Aquaculture Research. 1-10.

Oniam, V., W. Taparhudee, and S. Nimitkul. 2016. Effect of feeding frequency on growth, survival, water and bottom soil qualities in blue swimming crab (Portunus pelagicus) pond culture systems. Kasetsart University Fisheries Research Bulletin. 40(2): 17-28.

Safaie, M. 2016. Feeding habits of blue swimming crab Portunus segnis (Forskal, 1775) in the northern coastal waters of Iran. Marine Biodiversity Records. 9(68). 1-9.

Schmitt, A.S.C., and E.A. Santos. 1998. Ammonia-N efflux rate and nutritional state of juvenile pink shrimp, Penaeus paulensis (Perez-Farfante), in relation to food type. Aquaculture Research. 29: 495-502.

Soumya, S., C.B. Kajal, P.T. Sarada, and P. Vijayagopal. 2018. Nutritional composition of the branched murex Chicoreus ramosus (Linnaeus, 1758) (Family: Muricidae). Indian Journal of Fish. 65(4): 102-108.

Songrak, A., W. Bodhisuwan, N. Yoocharern, W. Udomwong, and T. Darbanandana. 2014. Reproductive Biology of the Blue Swimming Crab, Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) in the Coastal Waters of Trang Province, Southern Thailand. Kasetsart University Fisheries Research Bulletin. 38(2): 27-40.

Unnikrishnan, U., and R. Paulraj. 2010. Dietary protein requirement of giant mud crab Scylla serrata juveniles fed iso-energetic formulated diets having graded protein levels. Aquaculture Research. 41: 278–294.

Williams, M.J., 1982. Natural food and feeding in the commercial sand crab Portunus pelagicus (Linnaeus 1766) (Crustacea:Decapoda:Portunidae) in Moreton Bay Queensland. Journal of Experimental Marine Biology and Ecology. 59: 165–176.

Zainal, K.A.Y. 2013. Natural food and feeding of the commercial blue swimmer crab, Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) along the coastal waters of the Kingdom of Bahrain. Journal of the Association of Arab Universities for Basic and Applied Sciences. 13: 1–7.