ปริมาณและคุณภาพผลผลิตของเห็ดนางฟ้าภูฏานดำ-01 Pleurotus Pulmonarius (TISTR_Ppul-01) และนางรมฮังการี-01 Pleurotus Ostreatus (TISTR_Post-01) จากการเพาะด้วยวัสดุเหลือทิ้งกากกาแฟ

Main Article Content

ธนภักษ์ อินยอด
ขนิษฐา ชวนะนรเศรษฐ์
ธนภัทร เติมอารมย์
ชาตรี กอนี
สุริมา ญาติโสม
สุจิตรา บัวลอย
ปิยะดา เอี่ยมประสงค์

บทคัดย่อ

การศึกษาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ได้แก่ ขี้เลื่อยไม้ยางพาราและกากกาแฟต่อปริมาณผลผลิต และคุณภาพของดอกเห็ดนางรมฮังการี-01 (Pleurotus Ostreatus)  และเห็ดนางฟ้าภูฏานดำ-01 (P. Pulmonarius) เพาะในอัตราส่วนแตกต่างกัน ได้แก่ สูตรที่ 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100% (ชุดควบคุม), สูตรที่ 2 กากเมล็ดกาแฟ : ขี้เลื่อย อัตราส่วนร้อยละ 70 : 30, สูตรที่ 3 กากเมล็ดกาแฟ : ขี้เลื่อย อัตราส่วนร้อยละ 50 : 50,  และสูตรที่ 4 กากเมล็ดกาแฟบด 100%, ทำการวัดอัตราการเจริญของเส้นใย น้ำหนักผลผลิต คุณภาพของดอกเห็ด  และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ พบว่าเห็ดทั้ง 2 สายพันธุ์ ที่เพาะในวัสดุขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100% เส้นใยเจริญเต็มก้อนเร็วที่สุด รองลงมาเป็นสูตรที่ผสมกากกาแฟ 50% และ 70% ส่วนสูตรที่ใช้กากกาแฟอย่างเดียวใช้เวลานานที่สุด มีค่าเท่ากับ 26, 47, 60 และ 80 วัน ตามลำดับ ผลผลิตเห็ดนางรมฮังการี-01 เพาะด้วยกากกาแฟอัตราส่วน 50%  ให้น้ำหนักดอกสดมากที่สุดเฉลี่ย 257.99 กรัมต่อก้อน ในขณะที่เห็ดนางฟ้าภูฏานดำ-01 ให้น้ำหนักดอกสดมากที่สุด 182.82 กรัมต่อก้อน จากสูตรที่ใช้กากกาแฟอัตราส่วนทดแทน 70% ดอกเห็ดที่ได้มีลักษณะทรงกลม ขนาดดอกใหญ่ ก้านดอกยาว และให้จำนวนดอกต่อก้อน และมีปริมาณโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และแร่ธาตุบางชนิดสูงอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าสูตรที่ใช้กากกาแฟเป็นวัสดุทดแทนให้ผลผลิตและคุณภาพของเห็ดดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ดังนั้นการนำกากกาแฟมาใช้เป็นวัสดุเพาะผสมกับขี้เลื่อย ทำให้ลดอัตราการใช้ขี้เลื่อยลง 50-70% และช่วยลดต้นการผลิต อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่กากกาแฟ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ขวัญใจ หรูพิทักษ์, จิตตราวรรณ พี่พานิช, เรืองปัญญา ดาวเรือง และกฤษณา โสภี. 2559. ศึกษาการเจริญของเส้นใยและผลผลิตของเห็ดนางฟ้าภูฏานเมื่อใช้ชานอ้อยและชานอ้อยบดเป็นวัสดุเพาะ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 11: 48-53.

ณัฐพงศ์ ตันติวัฒนพันธ์. 2562. กากกาแฟ จากแก้วกาแฟสู่แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับผลิตภัณฑ์ชีวภาพ. วารสารสิ่งแวดล้อม. 1: 1-8.

นงลักษณ์ บรรยงวิมลณัฐ, จิราภรณ์ บุราคร, สุพะไชย์ จินดาวุฒิกุล และอภิรัชต์ สมฤทธิ์. 2562. การเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการเห็ดนางรมด้วยวัสดุเหลือทิ้งกากกาแฟ. Bulletin of Applied Sciences. 8: 96-105.

นันทินี ศรีจุมปา และเสกสรร สีหวงษ์. 2544. เห็ดไทย. สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

สุพัตรา รักษาพรต, สุนิษา สุวรรณเจริญ, เรืองวิทย์ สว่างแก้ว, เกศสุดา สามารถ และจิตรลดา บุญเฒ่า. 2561. การผลิตสบู่คาเฟอีนเพื่อเพิ่มมูลค่ากากกาแฟเหลือทิ้ง. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 46: 38-43.

วันทนา นาคีสินธุ์. 2556. การใช้กากกาแฟทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรมฮังการี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ศศิกานต์ ปานปราณีเจริญ และนันทรักษ์ รอดเกตุ. 2563. การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและสมบัติทางโครงสร้างของกากกาแฟพันธุ์อาราบิก้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. 5(1): 10-16.

อนุชา เสลานอก, ธีระยุทธ์ เพ็งชัย และมาริญา ทรงปัญญา. 2537. การศึกษาแนวทางการนำกากกาแฟมาใช้เป็นวัตถุดิบในการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดสปา. วารสารวิจัยการออกแบบแห่งเอเชีย. 1: 45-53.

Alex, O., A. Scharinger, T. Rajcic de Rezende, J. Teipel, T. Kuballa, S. G. Walch, and W. Lachenmeier. 2020. Validation of a quantitative proton nuclear magnetic resonance spectroscopic screening method for coffee quality and authenticity (NMR Coffee Screener). Food Chemistry. 9 (47): 1-11.

AOAC. 2012. Official Method of Analysis Association of Analytical Chemists. 19th Edition, Washington DC.

Badu, M., S. K. Twumasi, and N. O. Boadi. 2011. Effects of lignocellulosic in wood used as substrate on the quality and yield of mushrooms. Food and Nutrition Sciences. 2: 780-784.

Chanakya, H. N., M. Sreesha, and C. Vijayalakshmi. 2015. Cultivation of Pleurotus spp. on a combination of anaerobically digested plant material and various agro-residues. Energy for Sustainable Development. 27: 84-92.

Hansen, J., and I. Møller. 1975. Percolation of starch and soluble carbohydrates from plant tissue for quantitative determination with anthrone. Analytical Biochemistry. 68: 87-94.

Mussatto, S. I., E. M. S. Machodo, J. A. Txixeira, and S. Martins. 2011. Production, composition, and application of coffee and its industrial residues. Food Bioprocess Technology. 4: 661–672.

Westerman, R.L. 1990. Soil testing and plant analysis, 3rd ed. Madison, Soil Science Society of America, Wisconsin.

Willard, H. H., L. L. Merrill, and J. A. Dean. 2001. Laboratory Work Instrumental Methods of Analysis. Nostrand Company, New York.