เสถียรภาพผลผลิตช่อดอกของข้าวฟ่างไม้กวาด (Sorghum bicolor var. technicum) 11 สายพันธุ์

Main Article Content

อำไพ พรหมณเรศ
ถวิล นิลพยัคฆ์
ณัฐนี จุติโรจน์ปกรณ์
ปวีณา ทองเหลือง
ธำรงศิลป โพธิสูง
ธีรวัฒน์ ศรุตโยภาส

บทคัดย่อ

ผลผลิตของพืชมักแปรปรวนตามสภาพแวดล้อม พืชพันธุ์ดีนอกจากให้ผลผลิตสูงในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแล้วต้องมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตด้วย ข้าวฟ่างไม้กวาดสายพันธุ์ใหม่แม้ว่าได้ผ่านการคัดเลือกอย่างประณีตในระหว่างการพัฒนาสายพันธุ์โดยวิธีจดบันทึกประวัติแล้ว แต่เพื่อตรวจสอบเสถียรภาพในการให้ผลผลิตหรือการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของสายพันธุ์ จึงได้ทำการทดสอบผลผลิตช่อดอกข้าวฟ่างไม้กวาดสายพันธุ์ใหม่ 10 สายพันธุ์ ในปี (Y) พ.ศ. 2561 และ 2562 ที่ (L) จ.นครราชสีมา จ.นครสวรรค์ จ.อุทัยธานี จ.กำแพงเพชร และจ.บุรีรัมย์ รวม 10 สภาพแวดล้อม (YL) โดยมีพันธุ์รวงเรียว 1 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ เพื่อศึกษาผลของสภาพแวดล้อม (E; Y, L, YL) พันธุ์ (G) และปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์กับสภาพแวดล้อม (GE) ต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตช่อดอก โดยแต่ละสภาพแวดล้อมวางแผนการทดลองแบบสุ่มภายในบล็อคสมบูรณ์ (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ปลูกแถวยาว 4 เมตร ระยะปลูก 75 x 10 ซม. จำนวน 4 แถว/หน่วยทดลอง เก็บผลผลิตจาก 2 แถวกลาง ผลการทดลองพบว่า พันธุ์ (G) สภาพแวดล้อม (Y, L, YL) และปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์กับสภาพแวดล้อม (GE; GY, GL, GYL) มีผลต่อผลผลิตช่อดอกอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.01) และพบว่า สถานที่ปลูก (L) มีนัยสำคัญ (p≤0.01) ต่อทุกองค์ประกอบผลผลิต เมื่อศึกษาเสถียรภาพผลผลิตตามวิธีที่เสนอโดย Eberhart and Russell พบว่า ข้าวฟ่างไม้กวาดสายพันธุ์ KBr 5906, KBr 5915, KBr 5916, KBr 5919, KBr 5964 และพันธุ์รวงเรียว 1 มีค่าสัมประสิทธิ์รีเกรสชั่น (bi) ต่างจาก 1 โดย bi = 0.85, 0.48, 1.26, 0.09, 1.16 และ 1.38 ตามลำดับ แสดงว่า 6 สายพันธุ์นี้มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตช่อดอกต่ำ กล่าวคือ ให้ผลผลิตแปรปรวนไปตามสภาพแวดล้อม โดยพันธุ์รวงเรียว 1 ปรับตัวได้ดีในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2.22 ตัน/เฮกตาร์ ส่วนสายพันธุ์ KBr 5911, KBr 5927, KBr 5937, KBr 5939 และ KBr 5962 มีค่า bi ไม่ต่างจาก 1 (bi~1) จัดเป็นสายพันธุ์ที่มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิต แต่ผลผลิตช่อดอกเฉลี่ยต่ำเพียง 1.13, 1.13, 1.10, 1.16 และ 1.14  ตัน/เฮกตาร์ ตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสามารถแนะนำพันธุ์ดีได้เฉพาะในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเท่านั้น ซึ่งพันธุ์รวงเรียว 1 เหมาะสำหรับพื้นที่ใน จ.นครราชสีมา

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

การุณย์ มะโนใจ. 2553. ข้าวฟ่างไม้กวาด ทางเลือกใหม่ของเกษตรกรพะเยา. เทคโนโลยีการเกษตร. 22(477) : 22-23.

เกษร สิทธิหนิ้ว. 2545. ไม้กวาดแสงจันทร์แท้ จากแม่แสงจันทร์. แหล่งข้อมูล : https://www.sarakadee.com/feature/2002/09/saengjan_broom.htm. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2564.

ชูศักดิ์ จอมพุก. 2552. สถิติ: การวางแผนการทดลอง และการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านพืชด้วย “R”. โรงพิมพ์สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ธำรงศิลป โพธิสูง. 2531. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่าง. เอกสารวิชาการวิชาการฉบับพิเศษ ลำดับที่ 4 โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่าง, ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประสิทธิ์ ใจศิล. 2529. ข้าวฟ่าง. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

พีรศักดิ์ ศรีนิเวศน์. 2525. พันธุศาสตร์ปริมาณที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ไพฑูรย์ นาคเกษม ปราโมทย์ พรสุริยา และประพฤติ พรหมสมบูรณ์. 2562. เสถียรภาพของผลผลิตของข้าวโพดข้าวเหนียว (Zea mays var. ceratina) 6 พันธุ์. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 6(3): 1-8.

วิภาวรรณ กิติวัชระเจริญ. 2561. รายงานโครงการวิจัย โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตข้าวฟ่าง. สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชพลังงานทดแทน กรมวิชาการเกษตร.

สัณห์ฐิศ รีวราบัณฑิต นัฐวรรณ บุษบา วศินี จันทร์ชุ่ม ไพรัตน์ พิมพ์ศิริกุล ประพฤติ พรหมสมบูรณ์ และธีรวัฒน์ ศรุตโยภาส. 2560. ศักยภาพการให้ผลผลิตและผลของสภาพแวดล้อมต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของถั่วเหลืองสายพันธุ์คัดเลือกดีเด่น. น. 93-100. ใน. การประชุมวิชาการพืชวงค์ถั่วแห่งชาติ ครั้งที่ 6 วันที่ 23-25 สิงหาคม 2560. ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช.

อำไพ พรหมณเรศ ถวิล นิลพยัคฆ์และธำรงศิลป โพธิสูง. 2560. การคัดเลือกพันธุ์ข้าวฟ่างไม้กวาดเบื้องต้น. น. 302-309. ใน: การประชุมวิชาการข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ครั้งที่ 38 ณ โรงแรมแกรนด์ฮิลล์ รีสอร์ท แอนด์ สปา อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์.

อำไพ พรหมณเรศ ถวิล นิลพยัคฆ์ ปวีณา ทองเหลือง และธำรงศิลป โพธิสูง. 2561. การคัดเลือกพันธุ์ข้าวฟ่างไม้กวาดในไร่เกษตกร ปี 2560. น. 99-106. ใน: การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการวิจัยแม่บทข้าวโพดและข้าวฟ่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 7 ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา.

อำไพ พรหมณเรศ ถวิล นิลพยัคฆ์ และธำรงศิลป โพธิสูง. 2562. การทดสอบและคัดเลือกพันธุ์ข้าวฟ่างไม้กวาดเบื้องต้น. น. 261-266. ใน: การประชุมวิชาการข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ครั้งที่ 39 ณ โรงแรมลพบุรี อินน์ รีสอร์ท อ.เมือง จ.ลพบรี.

Aba, D.A., U. Alhassan, and M.Y. Yeye. 2007. Genetic diversity among Nigirian elite Sorghum lines for malting. Journal of Arid Agriculture. 17: 1-5.

Adugna, A. 2008. Assessment of yield stability in sorghum using univariate and multivariate statistical approaches. Hereditas. 145: 28-37.

Becker, H.C., and J. Leon. 1988. Stability analysis in plant breeding. Plant Breeding. 101: 1-23.

Chapman, S. C., M. Cooper, G. L. Hammer, and D. G. Butler. 2000. Genotype by environment interactions affecting grain sorghum. II: Frequencies of different seasonal patterns of drought stress are related to location effects on hybrid yields. Australian Journal of Agricultural Research. 51: 209–221.

Eberhart, S.A., and W.L. Russell. 1966. Stability parameters for comparing varieties. Crop Science. 6: 36-40.

Mahendra, D., T.C. Wehner, and C. Arellano. 2017. RGxE: An R Program for Genotype x Environment Interaction Analysis. American Journal of Plant Sciences. 8: 1672-1698.

Poelman, J.M. 1959. Breeding field crop. Avi publishing company.

Snedecor, G.W., and W.G. Cochran. 1980. Statistic methods. 6th edition, The Iowa State University Press, Iowa.

Shama, J.R. 2008. Sattistical and Biometrical Techniques in Plant Breeding. New age international publicshers, New Delhi.

Vange, T. I.N. Ango, and D.K. Adedzwa. 2014. Stability analysis of six improved sorghum genotypes across four environments in the Southen guinea savanna agroecological zone of Nigeria. International Journal of Advances in Agriculture Science and Technology. 2(2): 1-14.

Yan, W., and L.A. Hunt. 2001. Interpretation of genotype x environmental interaction for winter wheat yields in Ontario. Crop Science. 41(1): 19-25.